 |
ถ้าเป็นงานวิจัยจากนักวิทย์คนไทยด้วยกัน คนไทยจะมีอคติไว้ก่อน อย่างไม่มีเหตุผล ถ้าจขกท. เอางานวิจัยฝรั่งมาเผยแพร่ ก็จะมีแต่ความยินดี http://www.vcharkarn.com/vcafe/135868 สาหร่าย พลังงานทางเลือกจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เรื่องราวของการนำสาหร่ายมาผลิตไบโอดีเซล พลังงานทางเลือกจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ Keith Cooksey นักไมโครชีววิทยา จาก Montana State University ได้ศึกษาเรื่องการที่จะนำเอาตะไคร่น้ำ สาหร่าย (Algae) มาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงดีเซลมาตั้งแต่ปี 1980 พร้อมๆกับนักวิจัยจำนวนมากที่พยายามจะหาคำตอบในการที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ โดยตะไคร่น้ำและสาหร่าย (Algae) ที่พูดถึงในเรื่องการผลิตไบโอดีเซลนี้ ขอกล่าวรวมทั้งสาหร่ายน้ำจืดและสาหร่ายน้ำเค็ม ที่พบเห็นตามโขดหิน หรือ ในห้วย หนอง คลอง บึง และชายฝั่งทะเลทั่วไป สิ่งมีชีวิตจำพวกตะไคร่น้ำและสาหร่ายนี้ จะมีทั้งเมือกและส่วนที่เป็นน้ำมัน ทำให้เรารู้สึกลื่น เวลาสัมผัส เมื่อเข้าสู่ห้องวิจัย ทีมงานของ Keith Cooksey ก็ได้มุ่งหน้าหาคำตอบว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้สาหร่ายเหล่านั้นผลิต น้ำมัน ได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พวกเขาก็ได้พัฒนาสีย้อมชนิดหนึ่งเรียกว่า Nile Red ซึ่งเมื่อนำเอาสาหร่ายมาย้อมสี แล้วฉายด้วยแสงฟลูออเรสเซนต์ พวกเขาก็สามารถจำแนกส่วนที่เป็นน้ำมันออกจากคลอโรฟิลล์ได้ นาย Keith Cooksey กล่าวว่า สาหร่ายเหล่านี้งอกงามในบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อน้ำทิ้งที่มีเกลืออยู่ในปริมาณสูง และถ้าหากจะเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ก็น่าจะเป็นชายฝั่งทะเล (แถบแคลิฟอเนียร์) เพราะสาหร่ายจะเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเค็ม หรือแม้กระทั่งในทะเลทราย ซึ่งน้ำใต้ดินเป็นน้ำเค็ม จากรายงานประจำปีของสถาบันวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Research Institute) เมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว รายงานว่า น้ำมันจากสาหร่ายนั้นมีความเหมาะสมต่อการนำมากลั่นเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และในช่วงขาดแคลนน้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงทางเลือกจากการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายก็ได้ถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อแก้ไขสถาการณ์ เทียบกับพืชชนิดอื่นๆแล้ว เมื่อนำมากลั่นเป็นไบโอดีเซล ถั่วเหลือง จะให้น้ำมัน 50 แกลลอน ในขณะที่แคนโนล่า (พืชน้ำมันชนิดหนึ่ง) ให้น้ำมัน 130 แกลลอน ส่วนสาหร่ายนั้นให้น้ำมัน 4,000 แกลลอน ในระยะเวลา1 ปี ในพี้นที่การผลิต 1 เอเคอร์เท่ากัน แถมสาหร่ายนั้นยังต้องการเพียงแค่แสงอาทิตย์และน้ำทิ้งที่ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค เท่านั้น ในบ่อทดลอง พบว่าสาหร่ายเล็กๆเหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้แม้จะอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในขณะสาหร่ายเซลล์คู่หรือ ไดอะตอม (diatom) และแพลงตอนชนิดอื่นๆที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ (phytoplankton) ก็สามารถดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่น้ำ หรือในมหาสมุทรมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเช่นเดียวกับต้นไม้ แต่แพลงตอนทั้งหมดที่อยู่ในท้องทะเลนั้น สามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้มากพอๆกับต้นไม้ทุกต้นในโลกรวมกัน (เราต้องไม่ลืมไปว่า โลกมีส่วนที่เป็นน้ำหรือมหาสมุทรอยู่ตั้ง 2 ส่วน) ในขณะที่บริษัท เชลล์ (Royal Dutch Shell and HR Biopetroleum) ได้แถลงข่าวเรื่องการก่อสร้างห้องปฏิบัติการบนเกาะ Kona ในฮาวาย เพื่อเพาะปลูกสาหร่ายทะเลสำหรับการวิจัยเรื่องไบโอดีเซล เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ของปีที่แล้ว ไม่เพียงพลังไบโอดีเซลจากสาหร่ายจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยากาศ (หากไบโอดีเซลจากสาหร่ายได้รับการยอมรับและนำมาพัฒนาเพื่อใช้งานอย่างจริงจัง) เท่านั้น แต่ด้วยตัวของมัน ที่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ทางตรงด้วยการสังเคราะห์แสงได้อีกด้วย ไม่แน่ว่า ประเด็นโลกร้อนอาจจะเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา....! จากภาพถ่ายสาหร่ายของนาย Keith Cooksey แสดงส่วนขยายของสาหร่ายหลังจากการย้อมสี สีเหลืองแสดงน้ำมัน และสีแดงแสดงส่วนของเซลล์ที่กักเก็บสารสีเขียว (คลอโรฟิลล์) อ้างอิง Basu, Sourish. Oceangoing Iron. Scientific American (October 2007) : 11-12. - Pacific Business News (Honolulu). Shell to build algae-fuel lab in Kona. Retrieved from: http://www.bizjournals.com/pacific/stories/2007/12/10/daily14.html Dated January 23, 2008. - ScienceDaily. Renewed Interest In Turning Algae Into Fuel Generated. Retrieved from: http://www.sciencedaily.com/releases/2008/01/080115132840.htm Dated January 21, 2008. - Wiki Pedia. Algae fuel. Retrieved from: http://en.wikipedia.org/wiki/Algae_fuel Dated January 23, 2008.
จากคุณ |
:
@VVIEWW
|
เขียนเมื่อ |
:
วันจักรี 54 21:57:50
A:58.64.69.47 X: TicketID:173601
|
|
|
|
 |