 |
ในที่สุดก้อต้องไปนั่งอ่านมาเอง เอาแบบ คร่าวๆนะคะ ไม่ลงลึกนะ ผิดถูกยังไงก้อช่วยกันแก้นะค๊ะ
การสะสมไขมันที่หน้าท้องหรือ (Visceral fat , organ fat หรือ intra-abdominal fat) จุดสะสมไขมันจะอยู่ในส่วนของ ชั้นไขมัน ภายในเยื่อบุช่องท้อง และไขมันที่แทรกระว่างอวัยวะภายใน มีความแตกต่างกับไขมันที่ใต้ชั้นผิวหนังซึ่งพบตามผิวหนัง และไขมันที่แทรกระหว่างกล้ามเนื้อ ซึ่งพบกระจายใน โครงกระดูก กล้ามเนื้อ
ส่วนเกินของ ไขมันอวัยวะภายใน เรียกได้ว่าเป็นโรคอ้วนลงพุง มีผลทำให้ท้องยื่นออกมามากเกินไป เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการอ้วน "รูปแอปเปิ้ล" ตรงข้ามกับการ "ที่มีรูปร่างลูกแพร์" ซึ่งเป็นไขมันเก็บไว้ในสะโพกและก้น
โดยการอ้วนแบบนี้ (แอปเปิ้ล) มีความสัมพันธ์ระหว่าง โรคอ้วน และ โรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุของโรคอ้วน โดยรวมๆ เกิดจากไม่สมดุลของพลังงานสุทธิ ความสมดุลของการใช้และรับพลังงาน โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับ ทั้งการแสดงออกของ ยีน และ ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ความชรา (โดยที่กลไก โดยลึก ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด)
ในกรณีคนอ้วนในส่วนกลางลำตัว มีความความสัมพันธ์ กับ การกินมากเกินไป และ ผู้มี activity ต่ำ (ชอบอยู่นิ่งๆ) นอกจากนี้ยังเกี่ยวพันกับโรคบางชนิด เช่น Cushing's syndrome และผลข้างเคียงจากการได้รับยา ในหลายๆชนิด ทำให้เกิดการสะสมไขมันในส่วนของช่องท้องได้มากกว่า เนื่องจากไขมันในส่วนของกลางลำตัว มีปริมาณ cortisol receptors มากที่สุดเมื่อเทียบกับไขมันส่วนอื่นๆในร่างกาย ดังนั้นไขมันจะถูกสร้างและเก็บสะสมไว้ในส่วนกลางลำตัวได้ง่าย
นอกจากนี้ ความแตกต่างของเพศ และฮอร์โมนเพศในกลุ่มที่เป็น steroid (steroid sex hormones) และ sex hormone-binding globulin มีความสำคัญ ที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ในการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ภายในลำตัวแตกต่างกัน และยังเป็นตัวควบคุมการสร้างไขมันด้วย
ในเพศหญิง ฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) มีส่วนที่ทำให้ ไขมันสะสมตาม ก้น, ต้นขาและสะโพก เมื่ออยู่ในระยะใกล้ หรือในวัยหมดประจำเดือน (menopause) รังไข่จะสร้าง estrogen น้อยลง ทำให้ผู้หญิงเริ่มมีการสะสมไขมันที่ เอว และ พุง เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งในชายมี ฮอร์โมนเพศชาย (Androgens, testosterone) ทำให้ไขมันจะสะสมในส่วนของพุง (กลางลำตัว) มากกว่า
และผลของการที่มีฮอร์โมนพวกนี้ในระดับต่ำ จะทำให้อ้วนได้ง่ายกว่า
เห้อออ เริ่มเหนื่อย
reference ค่ะ http://en.wikipedia.org/wiki/Abdominal_obesity
S.B. Pedersen, J.D. Børglum, K. Brixen and B. Richelsen: Relationship between sex hormones, body composition and metabolic risk parameters in premenopausal women. European Journal of Endocrinology, Vol. 133, Issue 2, 200-206.
C. Couillard, J. Gagnon, J. Bergeron, A.S. Leon, D.C. Rao, J.S. Skinner, J.H. Wilmore, J-P. Després and C. Bouchard: Contribution of Body Fatness and Adipose Tissue Distribution to the Age Variation in Plasma Steroid Hormone Concentrations in Men, The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism Vol. 85, No. 3 1026-1031.
จากคุณ |
:
depending on evidence
|
เขียนเมื่อ |
:
12 พ.ค. 54 19:13:52
A:195.37.182.216 X: TicketID:312677
|
|
|
|
 |