 |
ความเป็นไปของสรรพสิ่ง ควรพิจารณาตามหลักไตรลักษณ์ ส่วนความมีอยู่ของสรรพสิ่ง ควรพิจารณาตามหลักเหตุ-ปัจจัย ซึ่งเป็นหลักการก่อเกิดความมีอยู่และหลักของผลปัจจัยความมีอยู่ต่างๆตามที่พระพุทธองค์ชี้ไว้ให้ในหลักปฏิจจสมุปบาท ซึ่งอาจเป็นหลักสัจธรรมที่อ้างอิงได้จริงก็เป็นได้
โดยปฏิจจสมุปบาทช่วยชี้ได้ว่ามีข้อเท็จจริงของหลักกายภพหรือกายภาพใดๆที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดธรรมชาติการเกิดน้อยใหญ่ต่างๆได้ , หลักชีวภาพหรือธรรมชาติการเกิดต่างๆเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอาการทุกข์น้อยใหญ่เช่นเป็นลักษณะ นรก สวรรค์ โลกธรรมชีวิตปัจจุบัน ฯลฯ ได้ , หลักจินตภาพหรือวิญญาณธรรมเป็นปัจจัยให้เกิดหลักรูปธรรมเช่นเป็นหลักเรขาคณิตทาง Space 3 มิติ , หลักรูปธรรมเป็นปัจจจัยให้เกิดหลักสฬายตนธรรมเช่นเป็นมูลสสารพลังงานที่วิทยาศาสตร์พยายามศึกษา , หลักของสสารพลังงานเป็นปัจจจัยให้เกิดหลักสสารพลังงานที่สัมผัสรับรู้ได้ , ฯลฯ
สตีเฟน ฮอว์คิง ออกมาสรุปคำตอบไปตามความเชื่อความเห็นของตนก็จะขาดคุณลักษณะที่น่าเชื่อถือของนักวิทยาศาสตร์ไป โดยข้อเท็จจริงใดที่ยังไม่อาจรู้ได้ตามหลักของประจักษ์เหตุผลและวิทยาศาสตร์ ก็ควรพยายามช่วยกันเสนอแนะแนวคิดตามหลักโมเดลทางคณิตศาสตร์ ตรรกะ ปรัชญา หลักธรรม ฯลฯ จะช่วยเป็นแนวทางข้อเท็จจริงให้แก่ผู้ศึกษาวิทยาศาสตร์ได้ดีทีเดียวครับ
จากคุณ |
:
ผู้ศึกษา
|
เขียนเมื่อ |
:
18 พ.ค. 54 12:26:57
|
|
|
|
 |