 |
การตายระหว่างคลอดมีสาเหตุหลักประการหนึ่งคือน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ ผู้หญิงหนัก 45 กิโลกรัมสามารถคลอดลูกที่มีน้ำหนักราว 2.7 กิโลกรัม หรือ 6% ของน้ำหนักตัว ในขณะที่ลิงกอริลล่าหนักสองเท่า (90 กิโลกรัม) คลอดลูกหนักเพียง 1.3 กิโลกรัม น้ำหนักตัวที่มากและการพัฒนาของกะโหลกศีรษะที่ใหญ่เป็นพิเศษในมนุษย์ทำให้การคลอดเป็นภาระอันหนักหน่วงและทรมานมากในผู้หญิง ผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงที่จะตายระหว่างคลอดในภาวะที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ และหากแม่ตายระหว่างคลอดลูกในขณะที่ลูกคนก่อนหน้ายังไม่พ้นวัยที่ช่วยเหลือตนเองได้ อัตราการอยู่รอดของลูกคนก่อนหน้าก็จะลดลงไปด้วย
อัตราการตายระหว่างคลอดจะเพิ่มขึ้นตามอายุของแม่ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นที่ตามมาในผู้หญิงมีลูกขณะอายุมากเช่น การแท้ง ทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ความผิดปกติทางพันธุกรรมเช่น โรคดาวน์ซินโดรม (1 ใน 1,000 กรณีมีบุตรช่วงอายุก่อน 30 ปี, 1 ใน 300 กรณีมีบุตรช่วงอายุ 35-39 ปีและ 1 ใน 50 กรณีมีบุตรช่วงอายุ 40-45 ปี) ดังนั้นการมีลูกเมื่ออายุมากจึงไม่เป็นผลดีเลยในมนุษย์ และร้ายแรงถึงขั้นกระทบต่อความอยู่รอดของยีนที่ส่งต่อไปแล้ว (ลูกคนก่อนหน้า) ธรรมชาติจึงคัดเลือกมนุษย์เพศหญิงที่หยุดความสามารถในการสืบพันธุ์ไปเลยเมื่ออายุถึงจุดสมควรให้อยู่รอดต่อไป มีโอกาสส่งต่อยีนไปยังลูกหลานมากกว่า ความอยู่รอดของผู้หญิงไม่ได้ส่งผลแค่การอยู่รอดของลูก (ส่วนแบ่งทางพันธุกรรม 50%) แต่ยังส่งผลถึงการอยู่รอดของหลาน (ส่วนแบ่งทางพันธุกรรม 25%) อีกด้วย เนื่องจากสังคมมนุษย์มีความพิเศษอีกประการหนึ่งคือการอยู่ร่วมเป็นวงศาคณาญาติ หญิงที่แก่ชราจะมีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระของมารดาโดยการช่วยเลี้ยงดูบุตรหลาน เพิ่มโอกาสอยู่รอดของเด็ก
จากคุณ |
:
Cryptomnesia
|
เขียนเมื่อ |
:
25 พ.ค. 54 22:35:46
|
|
|
|
 |