 |
สมัยก่อนเห็นเด็กที่เล่นบอลโค้กคัพ ทำได้กันแบบชิวๆครับ แต่เด็กพวกนี้พอโตขึ้นมักไม่ได้เล่นบอลอาชีพ แต่ไปทำอย่างอื่นแทน
เดี๋ยวจะตอบ จขกท ให้เป็นวิทยาทานครับ (ลองซีเครียดกับเขาบ้าง)
มองในรูปของพลังงาน ให้เอาตำแหน่งการวางเท้าในการเตะและดูดลูกบอลเป็น datum - ลูกบอลถูกเตะขึ้นไป เป็นการใส่พลังงานเริ่มต้นให้มัน มันก็จะแปลงเป็นพลังงานจลน์หลังการเตะ - เมื่อขึ้นไปถึงจุดสูงสุดลูกบอลจะมีพลังงานจลน์เหลือ 0 (ความเร็วเป็นศูนย์) แต่มีพลังงานศักย์โน้มถ่วงสูงสุด - จากนั้นก็ดิ่งลงมา พลังงานจลน์ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงค่าค่าหนึ่งก่อนโดน (ตรีน) ดูด การที่จะทำให้ลูกบอลหยุดได้คือการละลายพลังงานจลน์ค่านี้ให้หมดไป หรือภาษาประกิตเรียกว่า energy dissipation ตัวอย่างในทางปฏิบัติก็เช่น shock absorber, damper หรือที่เรียกกันว่าโช้คอัพในรถยนต์หรือมอไซค์ กันชนรถยนต์ ฯลฯ
ในฟุตบอล รองเท้าจะเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติช่วยตรงนี้คือช่วยแปลงจากพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานความร้อนบ้าง พลังงานเสียงบ้าง แต่ก็ได้ไม่มาก (ถ้ารองเท้าบรรจุถังทรายไว้เยอะๆด้วย ท่าจะดี ) ต้องทำอย่างอื่นช่วยเพื่อลดพลังงานลงให้หมด
"คำถาม" พลังงานจลน์ของลูกบอลหลังถูกเตะกับก่อนโดนดูด เท่ากันหรือไม่อย่างไร ???
ลองอธิบายด้วย impulse & momentum + impact ดูบ้าง
-------------- เมื่อเช้าอยู่ดีๆก็แว้บเข้ามาในหัวเรื่องนี้ เลยคิดอย่างละเอียด อ้าวเราลืมสมการอนุรักษ์โมเมนตัมซึ่งเป็นสมการของการเคลื่อนที่นี่หว่า เลยขอลบความเห็นออก ถ้าจะให้ถูกต้องใช้สมการอนุรักษ์โมเมนตัม + สมการ COR ครับ ----------------
ปล. 1 ถ้าเห็นว่าไม่ถูก กรุณาแย้งในเชิงวิชาการได้ ปล. 2 คุณ สองนิ้วชี้ การที่ตาชั่งหยุดเคลื่อนที่เป็นเพราะ structural damping ในตัวสปริงครับ คือวัสดุในธรรมชาติเช่นไม้บรรทัดที่ทำจากเหล็ก เมื่อเรากระตุ้นหรือดีดมันมันก็จะหยุดสั่นเพราะมี damper อยู่ในตัวอยู่แล้วครับ
แก้ไขเมื่อ 30 พ.ค. 54 10:45:18
แก้ไขเมื่อ 27 พ.ค. 54 17:53:28
จากคุณ |
:
AnotherPractitioner
|
เขียนเมื่อ |
:
27 พ.ค. 54 17:49:17
|
|
|
|
 |