ทางการทหารสมัยใหม่ มีหลักคิดในการจัดกำลังพลอย่างไร และมีการพัฒนาเทคโนโลยีอาวุธใหม่ๆอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน
|
 |
ดูจากหลายๆ ประเทศทางตะวันตก มีแผนปรับลดกำลังพลลง ล่าสุดตัวอย่างที่เห็นชัด เช่น กองทัพเนเธอร์แลนด์ โดยประเทศเหล่านี้จะหันไปเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีอาวุธใหม่ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะพวกเทคโนโลยีอาวุธไร้คนบังคับทั้งหลาย
ในส่วนของกองทัพไทยในปัจจุบัน ท่านคิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งส่วนตัวคิดว่ามีกำลังพลมากเกินไป ทำให้งบประมาณที่ได้รับ ส่วนใหญ่หมดไปกับการจ่ายเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆ จนแทบไม่เหลือไปพัฒนาอาวุธให้มีความทันสมัย และกองทัพไทยยังมีลักษณะเป็นแบบ - คนอ้วน ที่มีแต่ไขมัน ไม่ค่อยมีกล้ามเนื้อ โดยมีหน่วยงานธุรการ งานทั่วไป มากเกินไป และหน่วยกำลังรบจริงๆ หลายหน่วยงานก็มีความซ้ำซ้อน - หัวโต ตัวลีบ กองทัพไทยมีนายทหารชั้นสัญญาบัตร และระดับนายพล มากมายเกินความจำเป็น
และอีกประเด็น ท่านมีคห.อย่างไรต่อเนื้อหาบางส่วนในบทความชิ้นนี้ ซึ่งเขียนโดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คัดมาเฉพาะบางส่วน ฉบับเต็มดูได้ตาม Link นี้ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306905371&grpid&catid=02&subcatid=0200
1. ที่ว่ากองทัพมีบทบาทสูงขึ้นและขยายขอบเขตนั้น มีอะไรเป็นรูปธรรม ? สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนประการหนึ่ง คือ งบประมาณกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ระหว่างปี 2550 ถึงปี 2552 หากเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่างๆ โดยดูสัดส่วนของงบทหารเป็นร้อยละของ GDP สหรัฐในฐานะพี่ใหญ่ของโลก สูงถึงร้อยละ 4 ไทยก็สูงคือร้อยละ 1.8 เทียบเคียงได้กับจีนที่ร้อยละ 2.0 มากกว่าเยอรมนีพี่ใหญ่ของ EU ที่เพียงร้อยละ 1.3 อินโดนีเซียที่ร้อยละ 1.0 และญี่ปุ่นที่เพียงร้อยละ 0.9
2. หากดูอัตราส่วนของจำนวนทหาร 1 คน ต่อประชากร 1,000 คน (ตัวเลขรวมทหารนอกประจำการและกลุ่มไม่เป็นทางการที่เรียกว่า militia) ของสหรัฐ คือ ทหาร 7.9 คนต่อประชากร 1,000 คน สหราชอาณาจักร 6 คน เยอรมนี 5 คน อินโดนีเซีย 4.1 คน ญี่ปุ่น 2.2 คน แต่ของไทย ทหาร 10 คน ต่อประชากร 1,000 คน นับว่าสูงมาก จำเป็นอะไรหนักหนาที่จะต้องมีอัตราส่วนทหารถึง 10 คน ต่อประชากร 1,000 คน ?
3. เมื่อวันที่ 16 พ.ค. นี้เอง ผบ.ทบ.ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอ.รมน. เสนอให้ยกระดับ กอ.รมน. เป็นทบวงด้านความมั่นคงภายในเหมือนกับ Homeland security department ที่สหรัฐ ที่ตั้งขึ้นมาหลังเหตุการณ์ 9/11 เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย (Bangkok Post, May 16, 2011) ซึ่งเมื่อดำเนินการไปในขณะนี้กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าใช้งบฯมากเกินความจำเป็น ในการแสวงหาข้อมูล หรือดำเนินการเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ได้ใช้วิธีการขัดกับหลักการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคลในรัฐธรรมนูญ แม้กระทั่ง อาจเปิดจดหมายของใครก็ได้ ด้วยเหตุผลของความมั่นคง
4. อันนี้ผมเพิ่มเติมเอง เรื่องการตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 ซึ่งส่วนตัวไม่เห็นด้วยเลย เพราะไม่มีความจำเป็น และต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการจัดซื้ออาวุธใหม่ ลำพังกองพลที่มีอยู่ยังมีอาวุธไม่ครบเลย สู้เอางบประมาณส่วนนั้นมาปรับปรุงอาวุธที่มีอยู่ให้ทันสมัยมากขึ้นดีกว่า
จากคุณ |
:
ปีศาจร้ายในตัวผม
|
เขียนเมื่อ |
:
28 มิ.ย. 54 19:51:47
|
|
|
|