ผมสมมติว่า การเคลื่อนไหวของเหรียญก่อนที่จะออกหัว กลาง หรือก้อย คือ การที่เหรียญหมุนรอบแกนที่เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของทรงกระบอก ซึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือเหรียญจะล้มไปทางด้านหัวหรือด้านก้อย หรือไม่ล้ม ถ้าเหรียญมีความหนาระดับหนึ่งแล้ว เหรียญ (ในอุดมคติ) มีโอกาสที่จะทรงตัวอยู่ได้ในแนวตะแคงได้ เพราะจุดศูนย์ถ่วงไม่ออกนอกฐานที่เป็นเส้นตรง (คล้ายๆ ว่าจะมีฟิสิกส์มาเกี่ยวด้วยเลยครับ)
ผมมองโจทย์นี้ว่า เมื่อเหรียญหยุดหมุน โอกาสที่จุดศูนย์ถ่วง ในที่นี้คือจุดศูนย์กลางของเหรียญ จะออกนอกฐาน (ที่เป็นเส้นตรงตามที่ท่าน เกียรตินำ ว่า) มีค่าเท่ากับ 1/3 + 1/3 = 2/3 และโอกาสที่จุดศูนย์ถ่วงจะไม่ออกนอกฐาน = 1/3
ส่วนรัศมีกับความหนาของเหรียญจะมีความสัมพันธ์กันตรงที่ว่า ถ้าอัตราส่วนความหนาต่อรัศมีมีค่าน้อย (ฐานแคบ แต่จุดศูนย์ถ่วงอยู่สูง) โอกาสที่เหรียญจะล้มไปทางด้านหัวหรือด้านก้อยก็จะมาก แต่ถ้าอัตราส่วนความหนาต่อรัศมีมีค่ามาก (ฐานกว้าง แต่จุดศูนย์ถ่วงอยู่ต่ำ) โอกาสที่เหรียญจะล้มไปทางด้านหัวหรือด้านก้อยก็จะน้อยครับ
แก้ไขเมื่อ 27 ก.ค. 54 00:19:45
แก้ไขเมื่อ 27 ก.ค. 54 00:17:20