- เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์สามารถเดินเครื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมงและไม่ต้อง พึ่งพาสภาพอากาศรวมถึงมีกำลังการผลิตที่สูง (กำลังการผลิตอยู่ระหว่าง 600-1750 เมกกะวัตต์ต่อโรง) ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ไม่สามารถเดินเครื่องได้ตลอดเวลา และต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศว่ามีแสงอาทิตย์เพียงพอหรือความแรงของลมเพียงพอ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือไม่ รวมถึงกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมมีกำลังการผลิตต่ำกว่ากำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์อย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกำลังการผลิตกันต่อโรง
- พื้นที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม จะใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ในกรณีที่กำลังการผลิตเท่ากันที่ 1000 เมกกะวัตต์ ดังแสดงได้ข้างล่าง
- ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมยังคงมีต้นทุนที่ สูงซึ่งจะทำให้เป็นภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในการจ่ายค่าไฟฟ้า (ข้อมูลจาก ก.ฟ.ผ.)
พลังงานแสงอาทิตย์ประมาณ 10-11 บาท/หน่วย
พลังงานลมประมาณ 6 บาท/หน่วย
ในขณะที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะมีค่าต่ำ กว่าหรือใกล้เคียงกับต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2.94 บาท/หน่วย (อ้างอิงจากข้อมูลในต่างประเทศ)
- แต่อย่างไรก็ตามกฟผ. ยังคงมีการสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม ร่วมเข้าไปในระบบการผลิตไฟฟ้าควบคู่กันไปด้วย ตามแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 15 ปีของกระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2551 – 2565) ซึ่งรวมแล้วอีก 15 ปีประเทศไทยจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (พลังงานลม พลังน้ำ แสงอาทิตย์ ขยะ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และไฮโดรเจน) ไม่น้อยกว่า 5,608 เมกะวัตต์ ทั้งนี้เพราะแหล่งพลังงานแต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อจำกัดต่างกันจึงต้องใช้ผสม ผสานกัน
--------------------------------------
http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=191&Itemid=183