แล้วแต่ว่าต้องการประโยชน์แบบใหนครับ รถไฟที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดคือรถไฟฟ้าธรรมดา เพราะต้องการแค่รางและระบบไฟฟ้า แต่ปรกติรถไฟในเมืองมีข้อจำกัด มากกว่านั้น ข้อจำกัดที่ว่าคือที่ดินที่จะเอาไปสร้าง ในเมืองที่คนเต็มแล้วนั้นที่เดินหากจะเวรคืนแพงมาก รัฐจึงจำเป็น ต้องสร้างบนที่ของรัฐที่มีอยู่แล้วหลักๆก็คือ ถนน แต่หากสร้างแทนถนนรถก็ขาดที่วิ่งครับ จึงเหลือแค่ 2 ตัวเลือกคือ ลอยฟ้าและบนดิน แน่นอนว่าลอยฟ้าถูกกว่า เพราะสร้างแค่แท่นยกรางลอยฟ้าเพิ่ม ขณะที่ใต้ดินต้องขุดดิน สร้างสถานนี้ภายในรอบด้าน สร้างระบบกันน้ำท่วม ไฟฟ้าก็มีการ loss สูงกว่าเนื่องจากสายไฟแรงสูงอยู่ใกล้ ดินซื่งทางไฟฟ้าคือกราวด์ และในดินยังมีความชื้นสูงกว่า อัตราการรั่วของไฟฟ้าจะสูงกว่า การดูแลก็ยากกว่าเพราะเข้า ถึงรางบางจุดยาก แต่จะมีข้อดีคือไม่บดบังทรรศนียภาพ เสียไม่ดัง สามารถสร้างสถานนีได้ใหญ่เนื่องจากไม่มีปัญหาด้านพื้นที่ ซึ่งในหลายๆประเทศที่ค่าที่ดินแพงมากๆ พื้นที่สถานีรถไฟใต้ดินซึ่งสร้างอย่างใหญ่โตถูกเปลี่ยนเป็นห้างขนาดใหญ่ แต่เมืองไทยที่ดินเรายังไม่ขาดแคลนขนาดนั้น ทำใต้ดินไปเลยอาจจะไม่รุ่งครับ ตัวอย่างคือสถานนีจัตุจักรทุกวันนี้ห้าง ข้างในร้างมาก
จากคุณ |
:
hil4552
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ส.ค. 54 13:01:56
|
|
|
|