ไม่รู้ว่าเว็บนี้ตอบคำถาม จขกท. ได้หรือไม่ครับ
เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์
ในอดีตมนุษย์มีความพยายามที่จะสร้างเทคโนโลยีด้านการคำนวณมาช่วยในการทำงานของตนเองเริ่มตั้งแต่เมื่อมนุษย์รู้จักการนับจำนวนการมนุษย์ก็ใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการนับและต่อมาก็ใช้อุปกรณ์อื่น ๆช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกหิน เป็นต้น การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาช่วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ชาวจีนในสมัยโบราณได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่ในหมู่ของชาวจีน
ลูกคิด ที่ชาวจีนพัฒนา มีหลักการทำงานที่ไม่ซับซ้อนอะไรเลย แต่สามารถช่วยในการคำนวณเลขได้เป็นอย่างดี
ลูกคิดจึงได้ชื่อว่าเป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
แท่งเนเปียร์ (Napier's rod)
พ.ศ. 2158 จอห์น เนเปียร์( John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยการคำนวณ เรียกว่า แท่งเนเปียร์ (Napier's rod) เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง
ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule)
พ.ศ.2173 วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง กลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอกในยุคต่อมา
เครื่องบวกลบ (Pascals Calculato)
พ.ศ.2185 เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลักการหมุนของเฟือง และการทดเลขเมื่อเฟืองหมุนไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขออกที่หน้าปัด เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร
เครื่องคำนวณของ กอดฟรีด ไลปนิซ
พ.ศ. 2216 กอดฟรีด ไลปนิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ทำการปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสกาลให้สามารถคูณ และหารได้ ในปี 1673 โดยการปรับฟันเฟืองให้ดีขึ้นกว่าของปาสกาล ใช้การบวกซ้ำ ๆ กันแทนการคูณเลข จึงทำให้สามารถทำการคูณและหารได้โดยตรง ซึ่งอาศัยการหมุนวงล้อของเครื่องเอง ยังค้นพบเลขฐานสอง (Binary Number) คือ เลข 0 และเลข 1 ซึ่งเป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ แต่ตัวเครื่องคำนวณยังคงอาศัยการหมุนวงล้อของเครื่อง นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
เครื่องทอผ้าใช้บัตรเจาะรู
พ.ศ.2348 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) ชาวฝรั่งเศสพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง เครื่องทอผ้าเครื่องนี้ถือว่าเป็นเครื่องที่ทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก
เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine)
พ.ศ.2365 ชารลส์ แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ และได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องว่าชารลส์ แบบเบจ เป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่สามารถเขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของชารลส์ แบบเบจ เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
เครื่อง Mark I
พ.ศ.2486 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM: International Business Machines Co.,)โดยโธมัส เจ. วัตสัน (Thomas J. Watson) ได้พัฒนา เครื่องคิดเลขที่ใช้เครื่องกลไฟฟ้าเป็นตัวทำงาน ประกอบด้วยฟันเฟืองในการทำงาน อันเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเครื่องวิเคราะห์ของชารลส์ แบบเบจมาปรับปรุงนั่นเอง เครื่องนี้ยังไม่สามารถบันทึกคำสั่งไว้ในเครื่องได้ มีความสูง 8 ฟุต ยาว 55 ฟุต ซึ่งก็คือ เครื่อง Mark I หรือชื่อทางการว่า Automatic Sequence Controlled Calculator