 
ความคิดเห็นที่ 8 |
ความเป็นมาของสมุดปกขาวของประเทศไทย ในประเทศไทย การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในลักษณะเป็นรายงานประจำปี (Annual Report) นั้น ได้มีการจัดทำมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่รายงานทางวิชาการในลักษณะที่คล้ายคลึงกับสมุดปกขาวของญี่ปุ่น เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อในขณะนั้น) ได้จัดทำรายงานด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของประเทศไทยขึ้นเป็นฉบับแรก นอกจากนั้นยังมีรายงานในลักษณะคล้ายสมุดปกขาว จากหน่วยงานภาครัฐอีกหลายฉบับ แต่ก็ไม่ได้แพร่หลายมากนัก การเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมามีอิทธิพลต่อประเทศไทยอย่างมาก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตื่นตัวและการเข้ามามีส่วนร่วม ของภาคประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศ การปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 เป็นฉบับปี พ.ศ. 2535 ก็เพื่อให้การจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรายงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 13(3) กำหนดให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ จัดทำ นโยบายและวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในการนี้คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ดำเนินการจัดทำภายใต้การกำกับ ดูแลของคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติแต่งตั้ง นอกจากนั้นในมาตรา 59(9) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวยังกำหนดให้ “คณะกรรมการควบคุมมลพิษ” จัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์มลพิษ เสนอต่อคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติปีละหนึ่งครั้ง เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์มลพิษของประเทศ ไทยในรอบปี และคณะกรรมการควบคุมมลพิษได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดำเนินการ จัดทำรายงาน นอกจากจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมี หน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ที่มีการริเริ่มจัดทำ รายงาน “สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร” ขึ้นฉบับแรกในปี พ.ศ. 2545 เพื่อรายงา เกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยรวบรวม ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมในรอบปีอีกทั้งยังมี รายงานสถิติสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นรายงานที่จัดทำขึ้น ทุก ๆ 2 ปี ซึ่งฉบับแรกจัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถิติ สิ่งแวดล้อมที่จะกระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ มาจัดทำให้เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อ แสดงให้เห็นถึงสภาพและปัญหาของสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย รวมทั้งแนวโน้มของคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ สำหรับองค์กรเอกชนก็ได้มีการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ หลายฉบับ ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ เอกสารติดตามสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดย ธนาคารโลก (Thailand Environment Monitor : The World Bank) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการรวบรวมข้อมูล สถิติของ หน่วยงานภาครัฐ เอกสารทางวิชาการจากมหาวิทยาลัย และจากการหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิ เอกสารรายงานประจำปี (Annual Report) ของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute) ซึ่งเป็นเอกสารรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันในรอบปีที่ผ่านมา และเนื้อหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 54 22:21:32
แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 54 22:21:10
จากคุณ |
:
เวย์คุง
|
เขียนเมื่อ |
:
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 54 22:20:48
|
|
|
|