 |
มาอัพให้ต่ออีกรอบละคับ ตะกี้หากระทู้ไม่เจอ แหะๆ
บทที่ 6 วันที่สาม
B: ให้ตาย... ไม่เคยหลับสบายอย่างนี้มาก่อนเลย
A: ฉันก็เหมือนกัน มันดีจริงๆ ที่ตื่นมาแบบสดชื่น ไม่ใช่ตื่นเพราะซดกาแฟเข้าไปน่ะนะ
B: เมื่อวานเราถึงไหนแล้วนะ ก่อนที่เราจะปวดหัวแล้วก็ลืมๆ เรื่องคณิตศาสตร์ไปหมดน่ะ?
A: (ยิ้ม) ฉันว่าเราเพิ่งพิสูจน์ไปว่าจำนวนของ Conway ก็ทำตัวเหมือนๆ กับตัวเลขที่เราใช้น่ะ เราสามารถเรียงลำดับพวกมัน จากน้อยไปมาก บนเส้นจำนวนได้ โดยที่ทุกจำนวนมากกว่าจำนวนอื่นที่อยู่ทางซ้าย และก็น้อยกว่าจำนวนอื่นที่อยู่ทางขวา
B: เราพิสูจน์ไปแล้วจริงๆ หรอ?
A: ใช่ ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนแปลกๆ โผล่ขึ้นมา จาก (T4) มันก็ต้องอยู่ระหว่างจำนวนใดจำนวนหนึ่งเสมอ
B: งั้นมันก็คงง่ายแล้วละว่าเกิดอะไรขึ้นในวันที่สาม การคำนวณทั้ง 20x20 วิธีนั่นก็จะลดลงเยอะเลย จาก (T2) และ (T3) เราจะได้ว่า
<:-> น้อยกว่า - น้อยกว่า <-:o> น้อยกว่า o น้อยกว่า <o:|> น้อยกว่า | น้อยกว่า <|:>
ดังนั้นจำนวน 7 จำนวนจากที่เราได้มาก็จะเรียงแบบนี้ ที่เหลือก็แค่ยัดจำนวนอื่นๆ ระหว่างนั้น คุณว่ามั้ย? ตอนนี้มันง่ายขึ้นเยอะ นี่มันหนุกกว่าอักษรไขว้ซะอีก
A: เรารู้แล้วด้วยว่า <-:|> ต้องอยู่ระหว่าง - และ | ลองเช็กดูกับจำนวนที่อยู่ระหว่างมันดูละกัน อย่าง ศูนย์
B: อืมม... มันทั้ง "มากกว่าหรือเหมือนกับ" และ "น้อยกว่าหรือเหมือนกับ" 0 เพราะงั้นมันก็ต้องเหมือนกับ 0 จากกฎข้อสอง อย่างที่ผมบอกไปเมื่อวาน มันก็เท่ากับ 0 น่ะแหละ เพราะงั้นก็ช่างมันเหอะ ตอนนี้เราก็ได้ 8 จำนวนละ เหลืออีก 12 จำนวนให้ใส่
A: ลองพยายามลดอีก 10 เคส ที่ XL และ XR มีสมาชิกมากกว่า 1 ตัวละกัน อย่างที่ฉันทำตอนเช้าเมื่อวานนี้ ฉันได้ไอเดียมาเมื่อคืน น่าจะใช้ได้นะ สมมติว่า x = (XL,XR) เป็นจำนวน และเราหยิบเซตของจำนวน YL และ YR ใดๆ ซึ่ง
YL < x < YR
แล้วละก็ ฉันคิดว่า x ก็น่าจะเหมือนกับ z โดยที่
z = (XLศYL , XRศYR)
หรือก็คือ ขยายเซต XL และ XR ด้วยการเติมจำนวนลงไปให้ถูกข้าง ก็ไม่ทำให้ x เปลี่ยนไป
B: ไหนดูสิ ฟังดูอาจจะจริงแฮะ ยังไงก็ตาม z เป็นจำนวนจากกฎข้อที่ 1 มันจะถูกสร้างในวันใดวันหนึ่ง
A: การจะพิสูจน์ว่า z ฃ x เราต้องพิสูจน์ว่า
XLศYL < x และ z < XR
แต่มันไม่ยากแล้ว เพราะเรารู้ว่า XL < x , YL < x และ z < XRศYR จาก (T3)
B: แล้วก็เหตุผลเดียวกัน สลับซ้ายกับขวา ทำให้ x ฃ z คุณพูดถูกแฮะ มันจริงที่ว่า:
ถ้า YL < x < YR แล้ว x บ (XLศYL , XRศYR) (T7)
(ผมจะเขียนว่า "x บ z" แทน "x เหมือนกับ z" หมายความว่า "x ฃ z และ z ฃ x")
A: นั่นพิสูจน์สิ่งที่เราอยากได้เลยนะ อย่างเช่น
<-o:|> บ <o:|> , <:-o> บ <:-> และอื่นๆ
B: เพราะงั้นตอนนี้เราก็เหลืออีก 2 กรณี คือ <-:> และ <:|>
A: ที่จริง (T7) ก็ใช้ได้ด้วยนะ เราก็ให้ x = 0 ไง!
B: ฉ-ลาดด.. เพราะงั้นตอนนี้วันที่สามก็เรียบร้อยละ มีแค่จำนวน 7 ตัวที่เราเขียนตอนแรกเท่านั้นที่มันต่างกัน
A: ฉันสงสัยว่าของแบบนี้จะไม่จริงในวันอื่นรึเปล่า? สมมติว่าจำนวนที่ต่างๆ กันในวันที่ n คือ
x1 < x2 < ... < xm
แล้วละก็ จำนวนที่จะถูกสร้างขึ้นใหม่ในวันที่ n+1 ก็จะมีแค่
(f,{x1}) , ({x1},{x2}) , ... , ({xm-1},{xm}) , ({xm},f)
B: อลิซ คุณยอดมาก! ถ้าเราพิสูจน์สิ่งนี้ได้ เราจะพิสูจน์วันอื่นๆ ได้ไม่รู้จบเลยละ! คุณจะไปได้ไกลกว่าผู้สร้างผู้นั้นซะอีก
A: แต่เราอาจจะพิสูจน์มันไม่ได้นะ
B: ยังไงก็เหอะ ลองดูกรณีพิเศษๆ ก่อนละกัน อย่าง... ถ้าเราได้จำนวน ({xi-1},{xi+1}) มันก็ต้องเท่ากับจำนวนใดจำนวนนึงในนั้นใช่มะ?
A: ใช่ มันเท่ากับ xi เพราะจาก (T7) ดูสิ แต่ละสมาชิกของ XiL จะน้อยกว่าหรือเหมือนกับ xi-1 และแต่ละสมาชิกของ XiR จะมากกว่าหรือเหมือนกับ xi+1 ดังนั้นจาก (T7) เราเลยได้ว่า
xi บ (XiLศ{xi-1} , XiRศ{xi+1})
และอีกครั้งโดยใช้ (T7)
({xi-1},{xi+1}) บ ({xi-1ศXiL , {xi+1ศXiR)
จากกฎการถ่ายทอด จะได้ xi บ ({xi-1},{xi+1})
B: (ส่ายหัว) คุณยอดมาก โฮลมส์!
A: มันง่ายมากๆ เลยละ วัตสัน แค่ใช้การนิรนัยเท่านั้น
B: ตัวห้อยของคุณดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่นะ แต่คราวนี้ผมจะข้ามๆ มันไปละกัน แล้วถ้าเป็นจำนวนอื่นอย่าง ({xi-1},{xj+1}) เมื่อ i < j ล่ะ?
A: (ยักไหล่) ฉันกลัวว่าคุณจะถามนะน่ะ ฉันก็ไม่รู้เหมือนกัน
B: เหตุผลของคุณใช้ได้พอดีเป๊ะเลยถ้าเรามีจำนวน x ที่แต่ละสมาชิกของ XL น้อยกว่าหรือเหมือนกับ xi-1 และแต่ละสมาชิกของ XR มากกว่าหรือเหมือนกับ xj+1
A: ใช่ คุณพูดถูก ฉันไม่ได้สังเกตตรงนี้เลย แต่สมาชิกตัวอื่นๆ อย่าง xi , xi+1 , ... , xj ที่อยู่ระหว่างนั้นอาจจะมารบกวนการเรียงก็ได้
B: ก็คงงั้นมั้ง... ไม่สิ ผมได้ละ! ให้ x เป็นหนึ่งใน xi , xi+1 , ... , xj ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาก่อน แล้ว XL และ XR จะไปยุ่งกับตัวอื่นๆ ไม่ได้! เพราะงั้น ({xi-1},{xj+1}) บ x
A: ฉันขอจูบคุณเป็นรางวัลหน่อยนะ...
...
...
B: (ยิ้ม) ปัญหายังแก้ได้ไม่หมดนะ เรายังเหลือจำนวนพวกที่เป็น (f,{xj+1}) กับ ({xi-1},f) แต่สำหรับตัวแรก เราจะได้จำนวน x1 , x2 , ... , xj ที่เราสร้างขึ้นมาแต่แรก ส่วนตัวหลัง เราก็จะได้ xi , xi+1 , ... , xm
A: ถ้าจำนวนที่เราสร้างมาตอนแรกไม่ได้มีแค่แบบเดียวล่ะ? ฉันหมายถึง ถ้ามีจำนวนมากกว่าหนึ่งจำนวนใน xi , ... , xj ที่ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันในวันนั้นล่ะ?
B: โอ๊ะโอ๋... ไม่ ไม่เป็นไร มันเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะบทพิสูจน์ของเรายังจริงอยู่ และมันจะแสดงให้เห็นว่าสองจำนวนนั้นเหมือนกันและกัน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
A: แจ๋ว! คุณแก้ปัญหาของวันอื่นๆ ได้ในครั้งเดียวเลยนะ
B: ด้วยความช่วยเหลือของคุณด้วยนะ ไหนดูสิ วันที่สี่จะมีจำนวนใหม่อีก 8 จำนวน งั้นวันที่ห้าก็จะมีอีก 16 จำนวน เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
A: ใช่ หลังจากวันที่ n จะมีจำนวนใหม่ทั้งหมด 2n-1 ที่ถูกสร้างขึ้น
B: คุณว่ามั้ย ผมว่าตา Conway นั่นก็ไม่ได้ฉลาดเท่าไหร่นักหรอก ผมหมายความว่า เค้าน่าจะมีกฎที่ง่ายกว่านี้ แล้วก็ได้ผลแบบเดียวกัน เราไม่ต้องไปพูดถึงเซตของจำนวน แล้วก็เรื่องบ้าๆ บอๆ อะไรพวกนั้น เค้าน่าจะบอกแค่ว่าจำนวนใหม่จะถูกสร้างขึ้นระหว่างจำนวน 2 จำนวนที่อยู่ติดกัน หรือไม่ก็ตรงขอบๆ...
C: ไร้สาระ! รอจนกว่าพวกแกได้เจอเซตอนันต์ก่อนเถอะ!
A: นั่นอะไรน่ะ? คุณได้ยินอะไรรึเปล่า? เหมือนเสียงฟ้าผ่าเลย
B: ผมกลัวว่าเราคงอยู่ในหน้ามรสุมแล้วละ
-โปรดติดตามตอนต่อไป
จากคุณ |
:
ชโรนนท์
|
เขียนเมื่อ |
:
3 ต.ค. 54 14:54:15
|
|
|
|
 |