 |
ก๊อบมาจากห้องข่าว จาก facebook ของทาง กทมครับ
มาตรการรับมือปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร
กทม.ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อม คือก่อสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำจากภายนอกมิให้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่
ขีดความสามารถของคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถป้องกันระดับน้ำได้ที่ +๒.๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) หรืออัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำประมาณ ๓,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่ก็จะก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขีดความสามารถของระบบระบายน้ำสามารถรองรับฝนตกไม่เกิน ๖๐ มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากเกินนั้นก็จะมีน้ำท่วมขังในบางจุดแล้วจะค่อยๆ ทยอยระบายลงเมื่อฝนหยุด ส่วนใหญ่ใช้เวลาระบายประมาณ 1-3 ชั่วโมง
การก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม
- ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างตามพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพและพื้นที่ทุ่งด้านตะวันออก ความยาว ๗๒ กม.
- บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์
เพื่อป้องกันน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาวแนวป้องกันทั้งสิ้น ๗๗ กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ ๗๕.๘๐ กม. ส่วนที่เหลือจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๔ ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่ระดับ +๒.๕๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จเรียงกระสอบทรายเป็นแนวป้องกันชั่วคราว สูงที่ระดับ +๒.๐๐ เมตร ถึง +๒.๕๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเตรียมกระสอบทรายไว้จำนวน ๔ ล้านใบ
ระบบระบายน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตกหนักในพื้นที่
- มีการก่อสร้างท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง เตรียมพร้อมสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังเนื่องจากฝนตก โดยสามารถระบายน้ำได้วันละ ๑,๕๘๔ ลบ.ม.
- เตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อติดตั้งบริเวณจุดอ่อนน้ำท่วมรวม ๑,๑๕๒ เครื่อง ระบายน้ำได้ ๖๙๒ลบ.ม.ต่อวินาที
- อุโมงค์ยักษ์ ๗ แห่ง กำลังสูบรวม ๑๕๕.๕๐ ลบ.ม.ต่อวินาที
- แก้มลิง ๒๑ แห่ง เตรียมรองรับน้ำ ๑๒.๗๕ ล้าน ลบ.ม.
- มีหน่วยบริการเร่งด่วน หน่วย BEST๙๕ หน่วย เจ้าหน้าที่ ๗๐๐ คน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนและแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
- มีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่และแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการดำเนินงานสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
เนื่องจากยังมีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ประกอบกับยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่องจากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่น จึงทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายังคงมีปริมาณสูง แต่จนถึงปัจจุบันปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครยังมีปริมาณไม่เกิน ๓,๕๐๐ ลบ.ม.ต่อวินาที โดยระดับน้ำในแม่น้ำสูงสุดวัดที่ปากคลองตลาด มีระดับ +๑.๙๘ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งยังต่ำกว่าแนวป้องกันของกรุงเทพมหานครที่สามารถป้องกันได้ที่ระดับ +๒.๕๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง แต่อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังประจำตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อติดตาม ตรวจสอบพื้นที่และสถานการณ์ตลอดเวลา
ps0. เป็นกำลังใจให้ครับ
จากคุณ |
:
นฤมลประการ
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ต.ค. 54 00:10:14
|
|
|
|
 |