คุณคิดยังไงกับ NGO ? [ย้ายจาก : วิทยาศาสตร์]
|
 |
| | | | | โครตเกียจ (91 คน) | | | | โครตชอบ (1 คน) | | | | เฉยๆ (10 คน) | | | | ไม่ออกความเห็น (5 คน) | | | จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 107 คน |
เนื่องจากการหายตัวไปของ NGO แต่เขามักจะกลับมาเมื่อประเทศจะสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ พวกท่านๆทั้งหลายคิดยังไงกับ NGO เพราะเหตุใด
มารู้จัก NGO(Non Govermental Oganizations) คร่าวๆก่อนตัดสินใจ
ในยามที่มีเหตุการณ์การแสดงพลังของประชาชนในทางการเมือง เรามักจะได้ยินชื่อองค์กรพัฒนาเอกชน หรือที่เรียกกันว่า NGO ร่วมด้วยหรือเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวเสมอ การเคลื่อนไหวทั้งของประชาชน นักวิชาการหรือกลุ่มองค์กรต่างๆ ก็จะเป็นภาพที่แยกไม่ออกว่าใครเป็น NGOในกระบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น อย่างเช่นในกรณีการล้มการประชาพิจารณ์โครงการท่อก็าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ที่ผ่านมา
ถ้าหากจะเดินไปชี้ตัวว่าคนนั้นเป็น NGO กลุ่มนี้ไม่ใช่ คงไม่ใช่วิธีการที่จะเข้าใจ NGO อย่างที่ควรจะเป็น แต่อย่างไรก็ตามในการนิยามว่าใคร กลุ่มไหนเป็น NGO คงต้องอาศัยกรอบที่เป็นสากลมาอ้างอิงน่าจะเป็นแนวทางที่ดี เพราะองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นองค์กรที่มีอยู่ทั่วโลกและมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน
ในการนิยามองค์กรเอกชนนั้น UNDP (United Nation Development Programe) ได้กล่าวถึงองค์กรเอกชน 2 ลักษณะ คือองค์กรประชาชนและองค์กรที่ไม่อยู่ในภาครัฐ (Popular Organization และ Non – Government Organization) ลักษณะที่สำคัญขององค์กรเอกชนคือ การเป็นองค์กรรับเงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศและมีปัจจัยอื่นๆ คือการอาสาสมัครเป็นที่เป็นผลทางด้านอุดมการณ์เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร มีระเบียบวาระเป็นของตนในการกำหนดทิศทางและนโยบายเป็นของตนในการกำหนดทิศทางและนโยบายเพื่อมุ่งบริการสาธารณะประโยชน์
จะเห็นว่านิยาม NGO นี้ครอบคลุมความหมายที่กว้างขวางและไม่ได้หมายถึงองค์กรเอกชนที่ดำเนินการด้านอุดมการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศประการเดียว เช่น เกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชน แต่ครอบคลุมด้านอื่นๆ อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ได้มีการพยายามที่แยกประเภท NGO ที่มีอยู่มากมายนั้นเป็นกลุ่มเพื่อง่ายต่อการเข้าใจเช่น IDENGO ( The International Classification of Development NGOs) ได้มีการจำแนกประเภท NGOs เป็นกลุ่มต่างๆ ตามรูปแบบกิจกรรม อุดมการณ์และเป้าหมายขององค์กร กล่าวคือ 1.กลุ่มวัฒนธรรมและการฟื้นฟูเช่นที่เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรม กีฬา ห้องสมุด 2.การศึกษาและวิจัย 3.สุขภาพอนามัย เช่น เกี่ยวกับโรคเอดส์ 4.การสังคมสงเคราะห์ เช่น การส่งเสริมรายได้ 5.สิ่งแวดล้อม 6.การพัฒนาและการเคหะ เช่น การพัฒนาชุมชนการเคหะ 7.กฎหมาย สิทธิมนุษยชนและการเมือง 8.การเชื่อมประสานและการส่งเสริมอาสาสมัคร เช่นองค์กรเครือข่าย องค์กรข้อมูลข่าวสาร 9.กิจกรรมระหว่างประเทศ 10. ศาสนา 11.องค์กรเพื่อผลประโยชน์ เช่น สมาคมอาชีพต่างๆ กลุ่มผู้หญิงและ 12.อื่นๆ
บทบาทที่หลากหลายตามกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมา ทำให้ในต่างประเทศจึงมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันเช่น VO (Non-profit Voluntary Organization),CO (Charitable Organization),GO (Grassoots Organization),CSO (Civil Society Organization),AO (Associational Organization),PO (Private Organization) เป็นต้น
ในการพิจารณาบทบาท หน้าที่นโยบายและอุดมการณ์ขององค์กรพัฒนาเอกชนในบ้านเราที่ดำเนินกิจกรรมในวาระต่างๆ นั้นคงต้องเป็นภาระกิจของแต่ละคนที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจกันเอาเอง เพราะแต่ละกลุ่มองค์กรต่างมีอุดมการณ์ นโยบายและขนาดที่แตกต่างกัน การด่วนสรุปไปในทางใดทางหนึ่งอาจจะเป็นการผิดพลาดได้อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่หลักโดยทั่วไปของ NGO ก็คือ เป็นการดำเนินกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรเป็นและมีอุดมการณ์ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคประชาชน
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ “ประชาชน” ถูกใช้อ้างได้เสมอ อ้างได้บ่อยๆ อ้างได้ทุกเรื่อง
http://www.thaingo.org/info.htm
ส่วนตัวผมเกียจตั้งแต่ เรื่องคลองไทย หวย บ่อน ท่อก๊าซ และเขื่อนต่างๆ ในส่วนตัวความคิดผมธรรมชาติเราสร้างได้แต่ ชีวิตคนเสียไปแล้วเสียไปเลย ประเทศจะพัฒนาไปอีกไกลถ้า NGO บางกลุ่มคิดรักประเทศชาติและทำทุกอย่าง เพื่อประเทศชาติจริงๆ
แก้ไขเมื่อ 07 ต.ค. 54 20:36:25
แก้ไขเมื่อ 07 ต.ค. 54 20:25:10
จากคุณ |
:
cpuvoy
|
เขียนเมื่อ |
:
วันเกิด PANTIP.COM 54 20:11:36
|
|
|
|