ผมเจอคำอธิบายที่ดูเป็นวิทยศาสตร์ในเว็บมาด้วยความรู้ที่ยังด้อย เลยเอาข้อโต้แย้งต่าง ๆ มาโยงเองตามนี้
บั้งไฟพญานาคอาจจะเป็นลูกไฟที่เกิดจากการติดไฟของแก๊สมีเธน (methane,สูตรเคมี CH4) ผสมกับแก๊สฟอสฟีนหรือไฮโดรเจนฟอสไฟด์ (phosphine,สูตรเคมี PH3 ) ซึ่งเกิดขึ้นจากการหมักของซากพืชและซากสัตว์ที่บ่อหลุมใต้น้ำ เมื่อแก๊สนี้รวมตัวกันเป็นก้อน ผุดขึ้นเหนือน้ำจะมีอากาศอยู่โดยรอบ แก๊สฟอสฟีนมีสมบัติที่สามารถติดไฟได้เองโดยการสลายตัวและมีปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจน(นับเป็นการเผาไหม้) ซึ่งจะทำให้แก๊สมีเธนติดไฟไปด้วย
ถ้าตามอาจารย์เจษและคลิปในนี้เจ้าตัวแก๊สเมื่อไหม้ควรจะเป็นสีฟ้า
และไม่น่าจะทรงตัวเป็นลูกไฟลอยขึ้นไปได้
แก๊สผสมดังกล่าวแล้วเมื่อปุดจากใต้น้ำจากช่องที่ไม่โต จะมีขนาดเท่าๆกันโดยอัตโนมัติ คล้ายๆกับหยดน้ำยาหยอดตาที่หลุดจากหลอดที่หยอดตาซึ่งมีขนาดหยดประมาณเท่ากัน หากมีแก๊สมากก็อาจจะแบ่งเป็นสองสามลูกไล่ตามกันมาดังที่เห็นได้ในบางครั้ง แก๊สทั้งสองชนิดดังกล่าวไม่ละลายน้ำ เมื่อหลุดจากผิวน้ำใหม่ๆ แก๊สยังคงรวมตัวกันเป็นก้อนทรงกลมเหมือนเมื่ออยู่ใต้ผิวน้ำและคงความเร็วในการลอยขึ้นประมาณเท่าเดิม หรืออาจช้าลงเล็กน้อยในอากาศเนื่องจากแรงยกน้อยลง แรงยกในอากาศมาจากความหนาแน่นที่แตกต่างกันระหว่างแก๊สผสมกับอากาศ ซึ่งแก๊สผสมเบากว่าอากาศ (มีเทนเบากว่าอากาศประมาณครึ่งหนึ่งฟอสฟีนหนักกว่าอากาศเพียงเล็กน้อย) ปฏิกิริยาระหว่างแก๊สฟอสฟีนกับอากาศ เกิดจากการที่แก๊สฟอสฟีนสลายตัวให้แก๊สไฮโดรเจนที่พร้อมจะรวมตัวกับอ๊อกซิเจนที่บริเวณผิวของทรงกลมแก๊ส พร้อมๆกับการเกิดความร้อนและการปล่อยแสงของอะตอม ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้แก๊สมีเธนสลายตัวและเกิดปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนด้วย สรุปคือเกิดการเผาไหม้ที่ผิวของทรงกลมที่สัมผัสอากาศ ผลผลิตของปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่เป็นไอน้ำธรรมดา การเรืองแสงที่มองเห็นด้วยตาจะมาจากแสงของอะตอมไฮโดรเจนเป็นหลัก ซึ่งจะให้แสงเป็นสีแดงปนชมพู (เป็นส่วนผสมของสเปกตรัมสีแดง น้ำเงิน และม่วง) ระยะ 1-2 เมตรนับว่าใช้เวลาสั้นมากก่อนที่จะเกิดแสงมีความเข้มที่เห็นได้ อัตราเร็วในการลอยขึ้นนั้นเป็นไปได้เทียบกับการคำนวณตามหลักการทางวิชาฟิสิกส์ ลูกไฟดับไปก่อนหยุดแสดงว่าไม่ใช่การวัตถุที่หนักยิงหรือขว้างขึ้นไป ไม่มีเสียงใดๆเนื่องจากเป็นการปลดปล่อยแสงของอะตอมที่ผิวทรงกลมแก๊สซึ่งไม่รบกวนอากาศโดยรอบมาก แก๊สภายในทรงกลมยังไม่มีโอกาสพบอ๊อกซิเจนก็ยังไม่เกิดปฏิกิริยา จึงเหมือนมีผนังไฟที่ผิวและอาจจะเป็นส่วนที่ทำให้ทรงกลมแก๊สรักษาตัวอยู่ได้หลายวินาที หากไม่มีแก๊สฟอสฟีน มีเฉพาะแก๊สมีเธน ผิวทรงกลมจะไม่ติดไฟ เราจะมองไม่เห็น ทรงกลมแก๊สอาจกระจายผสมกับอากาศเร็วขึ้น ลูกแก๊สเช่นนี้น่าจะขึ้นในช่วงกลางวันด้วย แต่แสงในช่วงกลางวันมีมากเราจะไม่สามารถเห็นลูกแก๊สได้
ยาวมากอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่พอสรุปได้ว่า
1. แก๊สเป็นทรงกลมขนาดเท่า ๆ กันเนื่องจากผุดจากรู เหมือนฟองน้ำที่ผุดจากรู
- อันนี้ไม่เคยทดลองแฮะ ว่าฟองน้ำมันผุดจากรูได้พอ ๆ กันรึเปล่า
2. แก๊สฟอสฟีนสลายตัวให้ H พร้อมจะรวมตัวกับ O ที่ผิวทรงกลม
ทำให้การเผาไหม้เป็นการเผา H จึงให้สีแดงปนชมพู
- อันนี้ไม่มีความรู้ครับ แต่ก็อ่านดูขัดกับอาจารย์เจษกับคลิปอยู่เรื่่องสี
3. คงตัวเป็นทรงกลมเนื่องจาก เผากันที่ผิว ด้านในไม่ได้เผา เลยยังคงตัวอยู่
- ไม่มีความรู้ แต่คิดว่าไม่เคยเห็นแก๊สที่เป็นทรงกลมได้
เข้าใจว่ายังไงถ้ามีพื้นที่ว่างและความดันไม่เท่า แก๊สน่าจะกระจายไปทั่วนะ
ยกเว้นในอวกาศ เช่น ดวงอาทิตย์ แต่อันนั้นมันเผาข้างใน ไม่ได้เผาที่ผิว
- -' รึว่าลูกไฟ เป็นปฏิกริยานิวเคลีย - -'
4. เกิดตอนกลางวันได้แต่มองไม่เห็น ถ้าเฉพาะมีเธนไม่ติดไฟ มองไม่เห็น
- ไม่มีความเห็น
ต่อคำถามสำคัญที่ว่า ทำไมจะต้องผุดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษา ไม่ผุดขึ้นในเดือนอื่นหรือวันอื่น มีเหตุผลสองประการประกอบกันที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นนี้คือ ประการแรก เดือน 11 อาจเป็นเดือนที่ระยะเวลาของการหมักพอดี คือเกิดแก๊สสะสมได้มากกว่าเดือนอื่น และประการที่สองคือ วันขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำ ของทุกเดือนเป็นวันที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน เป็นวันที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและลงมากที่สุดในรอบวัน น้ำทะเลขึ้นและลงประจำวันมาจากอิทธิพลแรงดึงดูดของดวงจันทร์เป็นหลักและดวงอาทิตย์เป็นรอง ขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำ เป็นวันที่อิทธิพลทั้งสองเสริมกัน ไม่เพียงเฉพาะทำให้น้ำขึ้นและลง ยังอาจทำให้เปลือกโลกบางแห่งขยับเผยอขึ้นหรือยุบลง และประการหลังนี้ที่เป็นไปได้ว่า บริเวณใต้แม่น้ำโขงส่วนนั้นอาจมีการขยับตัว หรือมีการบีบให้แก๊สผุดขึ้นมากที่สุดในวัน 15 ค่ำ (อาจจะคลาดเคลื่อนเป็นวันแรม 1 ค่ำที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวเดียวกันมากกว่า) ข้อมูลต่างๆที่นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคายได้รวบรวมไว้จากการศึกษาหลายปีซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่ง ไม่มีข้อใดขัดแย้งกับสมมุติฐานนี้ ข้อแตกต่างกับทฤษฎีของนายแพทย์มนัสอยู่ที่ในสมมุติฐานนี้เชื่อว่ามีแก๊สฟอสฟีนเกิดขึ้นด้วย ไม่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเปอรเซนต์ของอ๊อกซิเจนในอากาศและความชื้นในอากาศ และการให้เหตุผลเกี่ยวกับการเกิดในวันออกพรรษา
- ไม่มีความรู้เรื่องน้ำขึ้นน้ำลง และผลกระทบ
แต่มีความเห็นเรื่่องถ้ามีผลกระทบจริง น่าจะเห็นเดือนอื่นด้วยนะ
อย่างน้อยก็มีประปรายเล็กน้อยบ้าง ให้ตื่นตาตื่นใจ
ส่วนเรื่องเปลือกโลกขยับก็ไม่มีความเห็นอ่ะ แถวนั้นเป็นรอยเลื่อนหรอ
หรือไม่ต้องเป็นรอยเลื่อนก็ขยับได้?
สมมุติฐานนี้อาจจะตรวจสอบได้โดยการเตรียมแก๊สฟอสฟีนและมีเธนขึ้นในห้องปฏิบัติการ ผสมกันด้วยอัตราผสมต่างๆ โดยไม่ให้สัมผัสอากาศ แล้วปล่อยขึ้นจากใต้น้ำเพื่อเลียนแบบ จากหนังสือ General Chemistry แก๊สฟอสฟีนอาจจะเตรียมจาก การต้มฟอสฟอรัสขาวในน้ำที่เป็นด่าง หรือการละลายน้ำของ calcium phosphide (Ca3P2) จะเกิดแก๊สฟอสฟีนขึ้น จะต้องให้แก๊สแทนที่น้ำ หนังสือบางเล่มอธิบายว่า แก๊สที่เกิดขึ้นจะมี แก๊สไดฟอสฟีน(H4P2)ผสมอยู่ด้วยเล็กน้อยเสมอและแก๊สนี้เป็นตัวที่ทำให้เริ่มติดไฟ
- ไม่เคยทดลอง ไม่มีความเห็น
อยากลองเล่นดูนะ มีใครมีส่วนผสมบ้างรึเปล่า