 |
มีรายงานจากกรมชลด้วยครับ เกี่ยวกับเรื่องการบิรหารจัดการน้ำในปี 2554
เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนไห่หม่า พายุโซนร้อนนกเตน ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง พายุโซนร้อนเนสาด และพายุโซนร้อนนาลแก ต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 34% ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ทั่วประเทศจำนวน 66 จังหวัด คาดว่ามีพื้นที่การเกษตรเสียหาย 10,023,824 ไร่ โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่รับน้ำจากแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง และป่าสัก ก่อนไหลลงอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 33,000 ล้าน ลบ.ม./ปี จนถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยารวมกับปริมาณน้ำที่ค้างทุ่งอยู่รวมประมาณ 41,800 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 8,800 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ยังไม่รวมปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ตามอ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติ
ในปี 2554 เกิดความผิดปกติของสภาวะอากาศ ทำให้เกิดภาวะอุทกภัยในช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ภาคใต้ในช่วงเดือนเมษายน ฝนมาเร็ว ได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนหลายลูก ร่องมรสุมกำลังแรง ทำให้มีปริมาณฝนเกินกว่าค่าเฉลี่ยทุกเดือนโดยในภาคเหนือมีปริมาณฝนตกตั้งแต่ 1 ม.ค. – 16 ต.ค. รวม 1,607 มม. สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว 48% และ ในภาคกลางมีฝนตก 1,403 มม. สูงกว่าค่าเฉลี่ย 31% ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 33 อ่าง มีปริมาณน้ำเกินกว่า 80% ของความจุรวม 28 อ่าง สำหรับอ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธ์ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างมากกว่า 200% ของค่าเฉลี่ย ทั้งที่ได้พร่องน้ำเหลือต่ำกว่า 50%ของความจุเมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งแล้ว พร้อมทั้งบริหารจัดการตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเพื่อหน่วงน้ำ ลดผลกระทบกับพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ
นอกจากนี้ การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง (พ.ย. 53- พ.ค. 54) ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอที่จะใช้ตลอดช่วงฤดูแล้ง สำหรับในปี 2554 นี้ ถึงแม้ว่าจะพร่องน้ำหมดอ่างฯ ก็ไม่สามารถรับปริมาณน้ำจำนวนมากนี้ได้ทั้งหมดอยู่ดี จากข้อจำกัดของเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบระบายน้ำ ทางผันน้ำ เป็นต้น จึงสามารถหน่วงน้ำในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น แต่ถ้ามีเครื่องมือในการบริหารจัดการมากกว่านี้ การบริหารจัดการก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 อ่างจำนวนมากในเวลาเดียวกัน กรมชลประทานได้บริหารจัดการตามหลักวิชาการเพื่อชะลอน้ำโดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ ที่เก็บกักน้ำเกินกว่าระดับเก็บกักเพื่อชะลอน้ำ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเขื่อนด้วย แต่ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างมีปริมาณมาก ถ้าไม่มีการดำเนินการความเสียหายจะมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องยอมรับความจริงที่ว่า ปีนี้มีน้ำมากกว่าปกติ เกือบ 50% ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ปล.แหล่งที่มามันติดคำต้องห้าม ใช้วิธีเอา "บริหารจัดการน้ำ 2554" ไปค้นในกูเกิ้ล แล้วไปที่ลิ้งค์แรกครับ
จากคุณ |
:
TamanXZG
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ต.ค. 54 09:32:06
|
|
|
|
 |