ขอแก้ไขทฤษฎีนิดนึงนะครับ เพื่อความเข้าใจที่เป่ะขึ้น ...
ตรงร่องนิ้วกลางกับนิ้วนางเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงที่เป็นกระดาษ คือ พนังกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดแนวของ กทม
น้ำที่ไหลจากปลายนิ้วกลางและนิ้วนาง คือน้ำที่บ่ามาจากภาคเหนือ
ผ่านนครสวรรค์ อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ซึ่งพนังกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไม่สูงและไม่แข็งแรง
จึงเห็นน้ำบ่าลงมา ล้นร่องนิ้ว เป็นก้อนใหญ่ๆ (ดูน้ำที่กำลังไหลบนนิ้วของผม เห็นมั้ยครับ)
แต่พอมาถึงกรุงเทพ (ตรงที่เป็นกระดาษ) จะเห็นว่าน้ำจะโดนบีบโดยพนังกั้นเจ้าพระยา (กระดาษ)
น้ำจะไม่เลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านนอก แต่จะโดนพนังบีบให้น้ำเข้าไปข้างในสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
ทำให้น้ำไม่ล้นออกมาบริเวณพื้นที่นิ้วกลางและนิ้วนาง (พื้นที่ธนบุรีและกรุงเทพ)
แล้วน้ำก็จะไหลปรู๊ดลงสู่อ่าวไทย (อุ้งมือ)
ก็ต้องมาลุ้นว่า:
1. พนังกั้นน้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพจะสูงพอที่จะบีบน้ำ โดยที่น้ำไม่ล้นออกมาหรือไม่?
2. พนังกั้นน้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพจะแข็งแกร่งโดยที่มันไม่พังในขณะที่มันทำหน้าที่บีบน้ำอยู่
3. วันเวลาที่น้ำก้อนนี้จะลงมาสู่กรุงเทพวันที่เท่าไหร่ ถ้ามาช่วงน้ำทะเลหนุน เราอาจเสร็จมัน -_-"
แต่ถ้ามาหลังน้ำทะเลหนุน (สิ้นเดือน) โอกาสรอดของเราก็มีสูงครับ
หมายเหตุ: ตรงที่เป็นอุ้งมือคืออ่าวไทยนะครับ
แก้ไขเมื่อ 24 ต.ค. 54 20:35:58
แก้ไขเมื่อ 24 ต.ค. 54 13:10:36
แก้ไขเมื่อ 24 ต.ค. 54 13:09:42
แก้ไขเมื่อ 24 ต.ค. 54 12:59:01