 |
เหนือระดับน้ำสูงสุด ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้เพื่อให้ทางระบายน้ำล้น (Spillway) ระบายน้ำหลากสูงสุด ในรอบการเกิดซ้ำ (Return period) 100 ปี บ้าง 200 ปี บ้าง แล้วแต่ข้อกำหนดในการออกแบบ (บางเขื่อนใช้ 1,000 ปี อย่างเขื่อนกิ่วคอหมา) แล้ว
ยังมีระยะเผื่อที่เรียกว่า Free Board อีกค่านึง ก่อนจะถึงสันเขื่อน ระยะที่ว่านี้เป็นระดับที่เผื่อไว้ในกรณีเกิดลมพายุในอ่างฯ หน้าเขื่อน ที่ทำให้เกิดละลอกคลื่น ซึ่งอาจสูงถึง 3-4 เมตรในสำหรับหน้าอ่างฯ ใหญ่ๆ ในกรณีที่เลวร้ายสุดๆ คือ ระดับน้ำในอ่างอยู่ที่ระดับน้ำสูงสุด
ดังนั้นโอกาส ที่น้ำจะล้นข้ามสันเขื่อน(ใหญ่ๆ) จึงแทบไม่มีโอกาส ยกเว้นว่า อุกาบาตจะหล่นใส่ หรือเกิดการเลื่อนไหลของเขาในอ่าง ซึ่งทำให้เกิดการแทนที่น้ำทันทีทันใด
สำหรับ คคห. 3 ต้องแยกระหว่างฝาย กับ เขื่อนก่อน ฝายให้น้ำล้นข้ามสันอาคาร แต่เขื่อนห้ามน้ำล้นข้ามสันเขื่อน
และหากเป็นฝาย มข. หรือ ฝายประชาอาสา ซึ่งเป็นแบบยอดนิยมของ อปท. นั้น ตอม่อสะพานที่ถี่มาก (ทุกระยะ 1.50 ม. มั้ง) นั่นแหละเป็นจุดอ่อนของฝายนี้ เพราะสวะบ้าง ขอนไม้บ้างมาติด ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ก็จะเริ่มไหลล้นข้างฝาย เพราะฝายพวกนี้ไม่มี Free Board หรือยกคันดินป้องกันน้ำไหลล้น ผลก็คือ น้ำกัดเสร็จเปลี่ยนทางน้ำ ซึ่งหากน้ำมีปริมาณมาก ก็อาจดันฝายเคลื่อนที่ได้ด้วย และหากเป็นฝายที่สันโค้งๆ พังละก็ ช่วยถ่ายรูปหน่อยครับ ผมจะเอาไปแซว คนออกแบบให้ รุ่นน้องผมทั้งนั้น ที่ลำปาง น่ะ
จากคุณ |
:
Waterman (LN106)
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ต.ค. 54 23:49:25
|
|
|
|
 |