๑. การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ทำอย่างไร เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทุกเขื่อนเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ ๒ เกณฑ์ คือ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง (Lower Rule Curve) และ เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน (Upper Rule Curve) โดยในการจัดทำเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำนั้น ได้นำปัจจัยและข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบกว่า ๓๐ ปี มาประกอบการจัดทำ ทั้งนี้ยังได้ทำการปรับปรุงตามสภาวการณ์เป็นระยะๆ · เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง(Lower Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า · เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน(Upper Rule Curve) จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway) ใน สภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่างในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัว บน ดังนั้นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำจึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำใน เขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมตามสภาวการณ์ของปริมาณน้ำทั้งเหนือ เขื่อนและสภาพน้ำในลุ่มน้ำท้ายเขื่อน เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพลโดยเกณฑ์ระดับน้ำควบคุม (Rule Curve) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นปีน้ำมาก
จากคุณ |
:
เด็กอันดับบ๊วย
|
เขียนเมื่อ |
:
1 พ.ย. 54 15:31:48
|
|
|
|