 |
#17 ขออนุญาตขยายความเพิ่มเติมครับ จากโจทย์คือสาย L ซึ่งมีไฟฟ้าจุ่มลงน้ำเส้นเดียว ไฟฟ้าไม่สามารถวิ่งลงขั้ว N ได้ แบ่งเป็น 2 กรณีครับ
1.กรณีที่ไฟฟ้าสามารถลงดินได้ จะคล้ายกับการทดลอง แต่ระยะที่ไฟฟ้าแพร่กระจายจะกว้างกว่า ขึ้นอยู่กับระดับความลึกที่ไฟรั่วและความต้านทานที่ต่างกันของวัสดุที่พื้น เช่น ดิน, ปูน, กระเบื้อง ฯลฯ
2.กรณีที่ไฟฟ้าลงดินไม่ได้เลย(รอบด้านเป็นฉนวนหมด) เช่น รั่วในอ่างพลาสติก ตู้ปลา ฯลฯ ไฟฟ้าจะแพร่กระจายออกไปกว้างมากขึ้น (ทดลองในถีงน้ำพลาสติกสูง 70 ซม. ศูนย์กลาง 45 ซม. น้ำประปา มีไฟฟ้ากระจายทั่วไปหมด วัดแรงดันตรงข้ามกับจุดไฟรั่วได้ประมาณ 130 โวลต์)
ทั้งสองกรณีอาจจะดูดหรือไม่ดูดก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของของบุคคล (แต่ส่วนใหญ่ดูด) ถ้าดูดจะสัมผัสได้ที่ระยะค่อนข้างไกล
กรณีใช้เครื่องมือ - อุปกรณ์ประเภทไขควงวัดไฟ อาจวัดได้ระยะต่ำหรือวัดไม่ได้เลย - อุปกรณ์ประเภทเปรียบเทียบความต่างศักย์ (แรงดันตกคร่อม) ขึ้นอยู่กับการออกแบบและความห่างของโพรบ เช่น ในกรณีที่ 2 ไฟฟ้าแพร่กระจายไปไกล บริเวณที่ใกล้กันจะมีความต่างศักย์ต่างกันน้อยมาก อาจทำให้ระยะการตรวจพบต่ำลงกว่าระยะอันตรายครับ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรเป็นสำคัญ)
อย่างไรก็ตามสมมติว่ามีไฟรั่วที่ลึกลงไปมาก เช่น 1 เมตร อาจมีปัญหาในการใช้เครื่องมือวัดต่าง ๆ ควรเพิ่มความระมัดระวังครับ
แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 54 09:44:31
แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 54 09:38:00
จากคุณ |
:
Phoenix032
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ย. 54 09:37:10
|
|
|
|
 |