 |
โลกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,711 กม
ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,400,000 กม.
ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าโลกประมาณ 110 เท่า
อยากเห็นขนาดชัดๆ ก็เขียนวงกลมลงที่พื้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม.
แล้วก็เขียนวงกลมอีกอันคราวนี้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1 เมตร กับอีก 10 เซ็นดูครับ จะเห็นขนาดชัดเจน
แล้วระยะห่างของดวงอาทิตย์กับโลกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 150,000,000 กม. (150 ล้านกม.)
ถ้าเราเอาวงกลมขนาด 1.1 เมตรที่สมมุติว่าเป็นดวงอาทิตย์วางไว้ตรงนี้
เราเดินนับไปได้เลยอีก 35 เมตร เอาเม็ดถั่วเขียววางไว้ นั่นคือ ดาวพุธ
แล้วเดินไปอีก 50 เมตร หรือเป็น 85 เมตรจากวงกลมดวงอาทิตย์ เราก็วางลูกปัดขนาด 0.9 เซ็นลงไปนั่นคือดาวศุกร์
แล้วเดินต่อไปอีก 32 เมตร เป็นระยะจากวงกลมใหญ่ 1.1 เมตรมาแล้วรวม 117 เมตร ก็สนามฟุตบอลกว่าๆ แล้ววางลูกปัดขนาด 1 เซ็นลงไป นั่นคือโลก
วงกลมใหญ่ขนาด 1.1 เมตรซึ่งสมมุติเป็นดวงอาทิตย์ ห่างจากลูกปัดขนาด 1 เซ็นซึ่งสมมุติว่าเป็นโลก ห่างกัน 117 เมตร ก็สนามฟุตบอลกว่าๆ
คราวนี้จะลองดูดาวอื่นๆบ้างนะครับ ระยะทางต่อไปนี้คือจากวงกลมใหญ่ 1.1 เมตรไปหาดาวดวงอื่นๆนะครับ
ระยะ 195 เมตร วางลูกปัดขนาด 0.7 เซ็นลงไปคือ ดาวอังคาร
ระยะ 638 เมตร วางลูกบอลเล็กๆขนาด 11 เซ็นลงไปนั่นคือดาวพฤหัส
ระยะ 1.17 กิโลเมตร จากวงกลม 1.1 เมตร วางลูกบอลเล็กๆขนาด 9.5 เซ็นลงไป นั่นคือดาวเสาร์
ระยะ 2.3 กิโลเมตร วางประมาณลูกปิงปองลงไปนั่นคือดาวยูเรนัส
ระยะ 3.5 กิโลเมตร วางลูกบอลเล็กกว่าที่แทนเป็นดาวยูเรนัสนิดหน่อย นั่นคือดาวเนปจูน
ระยะเฉลี่ยประมาณ 4.5 กิโลเมตร วางอะไรที่เล็กๆกว่าเม็ดถั่วเขียวลงไป นั่นคือดาวพลูโต
ส่วนกลุ่มเมฆออร์ตน่าจะอยู่ห่างออกไปประมาณ 6,000 - 7,000 กิโลเมตร
ไม่ผิดครับ ประมาณ 6-7 พันกิโลเมตรเลย เพราะระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 50,000 - 10,000 AU (หน่วยดาราศาสตร์)
1 หน่วยดาราศาสตร์ = ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์
เพราะฉะนั้นคำตอบของคำถามคือ
ถ้าเราเอาวงกลม 1.1 เมตรนั่น ไปวางที่กลางอนูสาวรีย์ชัยฯ โลกของเราก็จะอยู่ประมาณสะพานลอยแรกของ ถ.หลโยธิน
ดาวอังคารก็จะอยู่ประมาณใต้ทางด่วน ดาวพฤหัสก็ประมาณหน้า รพ.พญาไท2
มนุษย์เราตอนนี้ยังเด็กนัก จากสะพานลอยแรกไปใต้ทางด่วน(ดาวอังคาร)ยังยาก จะไปถึง รพ.พญาไท2 ก็ยิ่งยากไปใหญ่
แต่หากจะออกจากระบบสุริยะนั้น ก็เหมือน จากอนุสาวรย์ชัยฯ ไปถึงยุโรปเลยนะนั่น แค่ไปสนามเป้ายังไปกันไม่ถึงเลยตอนนี้
มันไกลจริงๆเลยนะสุดขอบระบบสุริยะ ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ครับ
ป.ล. ผมไม่ใช้คำว่าสุริยะจักรวาลนะครับ เพราะภาษาอังกฤษเรียกว่า Solar System เลยใช้คำว่าระบบสุริยะที่นักดาราศาสตร์ทั่วไปใช้กัน ไม่มีคำว่า Solar Universe ครับ
จากคุณ |
:
Nenko
|
เขียนเมื่อ |
:
11 พ.ย. 54 18:03:06
|
|
|
|
 |