 |
ชอบมาเลยครับ TIYHz ผมขอเฉลยวิธีคิดของผมเลยแล้วกันนะครับ เนื่องจากตอบกันมามากพอสมควรแล้ว
F(n) = 0 ; เมื่อ n=0 F(n) = 1 ; เมื่อ n=1 F(n) = F(n-1) + F(n-2) ..... (1)
สมมติให้ n มีค่ามากๆ แล้วลองคำนวณไปเรื่อยๆ
F(n) = (F(n-2) + F(n-3)) + F(n-2) F(n) = 2F(n-2) + F(n-3) ...... (2) F(n) = (2F(n-3)+2F(n-4)) + F(n-3) F(n) = 3F(n-3) + 2F(n-4) ...... (3) F(n) = (3F(n-4)+3F(n-5)) + 2F(n-4) F(n) = 5F(n-4) + 3F(n-5) ...... (4) F(n) = (5F(n-5)+5F(n-6)) + 3F(n-5) F(n) = 8F(n-5) + 5F(n-6) ...... (5) F(n) = (8F(n-6)+8F(n-7)) + 5F(n-6) F(n) = 13F(n-6) + 8F(n-7) ...... (6)
พิจารณา (1),(2),(3),(4),(5),(6)
สัมประสิทธิ์ หน้า พจที่ 1 และ พจน์ที่ 2 ของแต่ละสมการ เป็นลำดับ Fibonucci
พจที่ 1 => 1 , 2 , 3 , 5 , 8 , 13 ... พจที่ 2 => 1 , 1 , 2 , 3 , 5 , 8 ...
เนื่องจาก ตัวคูณ หน้าพจน์ที่ 1 ของสมการ (i) เกิดจาก ผลรวมของ ตัวคูณ ของ พจน์ที่ 1 และ 2 ของสมการ (i-1) และตัวคูณ หน้าพจน์ที่ 2 ของสมการ (i) ก็เท่ากับ ตัวคูณ ของ พจน์ที่ 1 ของสมการ (i-1)
เที่ยบค่าคงที่ของ สัมประสิทธิ์ กับอนุกรม Fibonucci และจัดรูปใหม่ จะได้สมการ F(n) = F(m)F(n-(m-1)) + F(m-1)F(n-m)
จัดรูปใหม่ได้เป็น F(n) = F(m)F(n-m+1) + F(m-1)F(n-m)
โดยที่ 1<m<n และเป็นจำนวนเต็ม
ถึงจุดนี้ ผมเลือก m ที่สัมพันธ์กับ n
โดยให้ m=(n+1)/2 เมื่อ n เป็นเลขคี่ และ m=n/2 เมื่อ n เป็นเลขคู่
กรณีที่ 1 เมื่อ n เป็นเลขคี่ m=(n+1)/2 n=2m-1
F(n) = F(m)F(n-m+1) + F(m-1)F(n-m) F(2m-1) = F(m)F(2m-1-m+1) + F(m-1)F(2m-1-m) F(2m-1) = F(m)F(m) + F(m-1)F(m-1) F(2m-1) = F(m)^2 + F(m-1)^2 .... เปลี่ยน m เป็น n ก็จะได้สูตรที่ 1
กรณีที่ 2 เมื่อ n เป็นเลขคู่
m=n/2
F(n) = F(m)F(n-m+1) + F(m-1)F(n-m) F(2m) = F(m)F(2m-m+1) + F(m-1)F(2m-m)
F(2m) = F(m)F(m+1)) + F(m-1)F(m) F(2m) = (F(m+1) + F(m-1))F(m) F(2m) = (F(m)+ F(m-1)+ F(m-1))F(m) F(2m) = (2F(m-1)+ F(m))F(m) .... เปลี่ยน m เป็น n ก็จะได้สูตรที่ 2
จากคุณ |
:
บัตรผ่านอัจฉริยะ
|
เขียนเมื่อ |
:
23 พ.ย. 54 00:27:38
A:125.24.40.91 X: TicketID:327013
|
|
|
|
 |