กล้องเคพเลอร์ทำผลงานอีกแล้ว! กับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวง "เล็กกว่าโลก" ดวงแรก
|
 |
จาก http://www.universetoday.com/91989/first-earth-sized-exoplanets-found-by-kepler/ และ http://www.nasa.gov/mission_pages/kepler/news/kepler-20-system.html
ทีมงานกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคพเลอร์ได้ประกาศการค้นพบใหม่อีกแล้วเมื่อวานนี้้ (20 ธันวาคม 2011)
945 ปีแสงห่างออกไปจากโลกในกลุ่มดาวพิณ(Lyra) ดาวฤกษ์ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Kepler-20a เป็นดาวประเภท G ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับดวงอาทิตย์ กล้องเคพเลอร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ในระบบดาวนี้แล้ว 3 ดวง ได้แก่ Kepler-20b,Kepler-20c,Kepler-20d ซึ่งเป็นดาวแก๊สขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูนขึ้นไป
#วิธีการบอกชื่อดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจะเป็นชื่อดาวฤกษ์ ตามด้วยอักษร b โดย b คือค้นพบดวงแรก ถ้ามีก็จะไล่ c,d,e,... ไปเรื่อยๆครับ ส่วน a จะหมายถึงดาวฤกษ์ของระบบนั้น
มาถึงครั้งนี้ กล้องเคพเลอร์ได้ยืนยันดาวเคราะห์อีกสองดวง คือ Kepler-20e และ Kepler-20f ทำให้ระบบดาวนี้มีดาวเคราะห์ถึง 5 ดวงแล้ว
ดาวเคราะห์ห้าดวงไม่ใช่ของแปลง มีบางระบบดาวที่เราพบดาวเคราะห์ถึงหกดวง แค่ระบบสุริยะของเราก็ปาเข้าไป 8 ดวงแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ
Kepler-20e และ Kepler-20f เป็นดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก เล็กขนาดไหนกัน? เจ้า Kepler-20e นี่เล็กกว่าโลกซะอีก!! และ Kepler-20f ก็มีขนาดใหญ่กว่าโลกนิดเดียว
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะทั้งสองดวงถือเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดสองอันดับแรกเท่าที่เคยค้นพบมาครับ - 20e นั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 11,000 กิโลเมตร (ของโลกประมาณ 12760km) ซึ่งมีขนาดเป็น 87% ของโลก คาดว่ามีมวลต่ำกว่า 1.7 เท่าของโลกและเป็นดาวเคราะห์ิหิน เจ้า 20e นั้นอยู่ใกล้ดาวฤกษ์อย่างมาก ห่างจากดาวฤกษ์ของมันแค่ 7.5 ล้านkm (ดาวพุธอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 58 ล้านkm) ทำให้อุณหภูมิที่ผิวดาวสูงถึง 760 องศา ร้อนยิ่งกว่าดาวศุกร์ และมีคาบโคจรสั้นมากเพียง 6.1 วันเท่านั้น
- ส่วน 20f มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 13,190 กิโลเมตรซึ่งมีขนาดเป็น 103% ของโลก คาดว่ามีมวลต่ำกว่า 3 เท่าของมวลโลก 20f ก็อยู่ใกล้ดาวฤกษ์เช่นกัน ที่ 16.5 ล้านkm มีคาบ 19.6 วัน และมีอุณหภูิมิพื้นผิวถึงกว่า 426 องศา
ระบบ Kepler-20 นี้ยังมีเรื่องแปลกอีกอย่าง ท่านๆคงรู้กันแล้วว่าระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์ิหินและแก๊สแยกจากกันต่างหาก แต่ระบบดาวนี้หากเรียงดาวเคราะห์จากใกล้ไปไกล จะเป็น Kepler-20b ,Kepler-20e ,Kepler-20c ,Kepler-20f ,Kepler-20d ซึ่งมันเป็น... แก๊ส, หิน, แก๊ส, หิน, แก๊ส สลับกัน (ใหญ่, เล็ก, ใหญ่, เล็ก, ใหญ่)
แม้ดาวเคราะห์หินสองดวงที่ยืนยันใหม่นี้แม้จะเป็นดาวที่ร้อนระอุและไม่เหมาะกับการมีชีวิตอย่างยิ่ง แต่การพบดาวเคราะห์หินขนาดเล็กกว่าโลกเป็นการยืนยันสองสิ่งสำคัญ คือศักยภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศนี้ และการมีอยู่จริงของดาวเคราะห์ที่เรา้ต้องการค้นหาเป็นที่สุด
เมื่อผนวกกับการค้นพบ Kepler-22b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์หินยักษ์ที่อยู่ในเขตอาศัยได้แล้ว นักดาราศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในเร็วๆนี้เราจะพบดาวเคราะห์หินขนาดเท่าๆโลกซึ่งอยู่ในโซนอาศัยได้
จบการรายงานครับ... the ECOS
edit ใส่รหัสผิด... ทำไมแก้แล้วโค้ดเจ้งล่ะเนี่ย =[]=
แก้ไขเมื่อ 22 ธ.ค. 54 01:18:08
แก้ไขเมื่อ 22 ธ.ค. 54 01:16:44
แก้ไขเมื่อ 22 ธ.ค. 54 01:15:51
จากคุณ |
:
thelegendofm
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ธ.ค. 54 22:59:25
|
|
|
|