 |
จุดกำเนิดของ HDTV HDTV เริ่มต้นขึ้นในยุคทศวรรษที่ 1960 โดย NHK (Nipppon Housou Kyouka หรือ Japan Broadcasting Corporation) ซึ่งเป็นเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สาธารณะของญี่ปุ่น เป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ได้พยายามคิดค้นหาระบบออกอากาศที่มีคุณสมบัติดีกว่าระบบมาตรฐาน NTSC (National Television Standards Committee) ของสหรัฐอเมริกา
จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 NHK ก็สามารถนำเสนอระบบ HDTV ผ่านดาวเทียมได้สำเร็จเป็นครั้งแรกด้วยระบบอนาล็อก โดยการใช้เทคนิคบีบอัดสัญญาณดิจิตอล เรียกว่าระบบ MUSE ด้วยจำนวนเส้นภาพในแนวนอนสูงถึง 1125 เส้น HDTV ของ NHK นี้รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Hi-Vision Television ซึ่งในเวลาต่อมา NHK ได้เผยแพร่มาตรฐาน HDTV ไปทั่วโลก ทำให้บริษัทเอกชนด้านโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาหวั่นเกรงว่าจะก้าวไม่ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2530 จึงได้ร้องขอให้คณะกรรมการสื่อสารของชาติ (FCC : Federal Communications Commission) กำหนดกฎเกณฑ์สำหรับมาตรฐาน HDTV ขึ้น และในปี พ.ศ. 2531 ประเทศในทวีปยุโรปก็ได้ร่วมมือกันนำเสนอโทรทัศน์ระบบ HDTV ของตนเองเช่นกัน
ในช่วงปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา FCC มีบทบาทในเรื่องมาตรฐาน HDTV มาโดยตลอด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2536 จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรเรียกว่า "Grand Alliance" ขึ้น ประกอบไปด้วยบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีในประเทศสหรัฐอมริกาจำนวน 7 บริษัท เพื่อนำคุณสมบัติที่ดีที่สุดตามมาตรฐานโทรทัศน์ของตนมาพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน HDTV ใหม่ร่วมกัน และในที่สุดก็ได้ระบบ HDTV ที่มีคุณสมบัติดังนี้...... 1. เป็นมาตรฐานดิจิตอลทั้งหมด ออกอากาศในระบบ "Switched Packet System" 2. สนับสนุนการออกอากาศรายการได้หลากหลายรูปแบบ (Multi Format) 3. สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
http://dtv.mcot.net/techno_one.php?dateone=1249029259
กว่าจะมีใช้กันเป็นวงกว้างเกือบ 50 ปี อัตราส่วนนี้ดีที่สุดกับงานอากาศ ถ่ายทอดสด และทำให้ดาวเทียมไม่ต้องใช้อุปกรณ์แพงมาก ผ่านการกลั่นกรองหลายครั้ง
"เป็นมติจากที่ประชุมวิศวกรโทรทัศน์นานาชาติ" ต้องมีพื้นที่ภาพเพิ่ม 25% จากระบบเดิม ทั้งดิจิตอล และอนาล็อก กว่าอุปกรณ์ส่งสัญญาณจากพื้นสู่อวกาศ จะแพร่หลายราคาถูกใช้เวลาหลายสิบปี
2.35:1 อัตราสโคป "ใช้ได้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์เท่านั้น" ไม่เหมาะกับงานผลิตรายการโทรทัศน์แต่อย่างใด แม้แต่ถ่ายทอดสดกีฬาก็ไม่ดีนัก เพราะจอที่ยาวเกินไป มีจำนวนเส้นแนวนอนน้อยเกินไป ทำให้จอขนาดเล็กดูได้แย่มาก
มีแต่พวกที่ขายชุดโฮม หรือพวกนักเล่น นักวิจารณ์ ที่ไม่เคยผลิตชิ้นงาน ที่มักกล่าวแบบเหมารวมโดยไม่คำนึงถึงภาพรวมของวงการโทรคมนาคมเลย ซึ่งวงการโทรทัศน์มียอดการผลิต และจำหน่ายสูงกว่ามาก จนเทียบกันไม่ได้เลย
ตัวรับภาพในเครื่องฉายขนาดใหญ่ หลายสิบล้านบาท ทุกยี่ห้อมีแต่อัตรา 16:9 ทั้งสิ้น ไม่ผลิตแบบ 2.35:1 เพราะไม่ใช่มาตรฐานกลาง และมีจำนวนพิเซลที่น้อยกว่า 16:9 ด้วย
Ultra High Definition Television น่าจะเป็นมาตรฐานตัวต่อไป แต่จะใช้ได้จริง หรือเป็นมาตรฐานกลางแบบhd ไม่รู้ว่าจะทันภายใน30ปีนี้หรือเปล่า
โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่งยวด (อังกฤษ: Ultra High Definition Television) ความละเอียดภาพ : 7680 × 4320 หรือ 33,177,600 พิกเซล (ประมาณ 33.17 ล้านพิกเซล) หรือ8k อัตราส่วนภาพ : 16:9 Frame rate : 60Hz Progressive Scan หรือ 60p ระบบเสียง : ระบบเสียงรอบทิศทาง 22.2 แชนแนล
video was compressed from 24 Gbit/s to 180–600 Mbit/s
audio was compressed from 28 Mbit/s to 7–28 Mbit/s.[8]
Uncompressed, a 20 minute broadcast would require roughly 4 TB of storage.
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultra_High_Definition_Television
แก้ไขเมื่อ 23 ธ.ค. 54 10:06:50
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ธ.ค. 54 10:02:11
|
|
|
|
 |