 |
จากสารานุกรม พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน (cd)
ทวีป ๔,พื้นที่ในจักรวาล จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และ ทวีปน้อย ๒ พันทวีป อย่างนี้ คือ ๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐.
#ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๓๕-๓
จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๕ วิถีวิมุตตสังคหวิภาค ของพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร แห่ง อภิธรรมมูลนิธิ ได้อธิบายเกี่ยวกับทวีปทั้ง ๔ ไว้ดังนี้
-------------------------------------------------------------- ทวีปใหญ่ในทิศทั้ง ๔ ของภูเขาสิเนรุ แต่ละทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทิศนั้น แลดล้อมด้วยทวีปน้อยเป็นบริวาร อีกทวีปละ ๕๐๐ รวมทวีปน้อยมี ๒๐๐๐ ทวีป ทวีปใหญ่ หรือพื้นแผ่นดินทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั้น มีชื่อเรียกกันดังนี้คือ ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ ๑) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน ๒) ไม่มีการยึดถือในบุตร, ภริยา, สามี ว่าเป็นของตน ๓) มีอายุยืนถึง ๑๐๐๐ ปี มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปนี้มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ เมื่อตายไปแล้วย่อมเกิดในเทวโลก แน่นอน ดังสารัตถทีปนีฏีกา แสดงว่า คติปิ นิพฺพตฺถา มโต สคฺเคเยว นิพฺพตฺตนฺติ แปลความว่า มนุษย์อุตตกุรุนี้ เมื่อตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกอย่างแน่นอน หมายความว่า เมื่อตายจากภพมนุษย์แล้วย่อมไปบังเกิดในชั้นเทวโลกแต่ถึงเวลาที่จุติจากเทวโลกแล้ว อาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือมนุษย์ในทวีปอื่นใดก็ได้ จะไม่ไปสู่อบายภูมิเพียงชั่วภพถัดไปจากที่กำลังเป็นมนุษย์อุตตรกุรุเท่านั้น
๒. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าตอนบนตัดโค้งมนลงส่วนล่างคล้ายบาตร มีอายุยืนถึง ๗๐๐ ปี
๓. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ากลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี
๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้ารูปไข่ กำหนดอายุขัยไม่แน่นอน โดยความยิ่งหย่อนในคุณธรรม สมัยใดคนชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ เพียบพร้อมยิ่งด้วยคุณธรรมสมัยนั้นคนชมพูทวีปมีอายุยืนถึงอสงไขยปี สมัยใด คนชมพูทวีป กาย วาจา ใจ ย่อหย่อนด้วยคุณธรรม สมัยนั้นมีอายุลดน้อยถอยลงมาเพียง ๑๐ ปี เป็นอายุขัย กำหนดเกณฑ์อายุขัยของผู้เกิดใน ๔ ทวีปนี้มาใน สังยุตตนิกายอรรถกถา ว่า ชมฺพูทีปวาสีนํ อายุปฺปมาณํ นตฺถิ, ปุพฺพวิเทหานํ สตฺตวสฺสสตายุกา, อปรโคยานวาสีนํ ปญฺจวสฺสสตายุกา อุตฺตรกุรุวาสีนํ วสฺสสหสฺสายุกา เตสํ เตสํ ปริตฺตทีปวา สีนมฺปิ ตทนุคติกาล ในมนุษย์ภูมินี้ มุ่งหมายเอามนุษย์ที่เกิดในชมพูทวีป เป็นมุขยนัย (โดยตรง) โดยสทิสูปจารนัย (โดยอ้อม) ได้แก่มนุษย์ในทวีป ทั้ง ๓ อีกด้วย คุณสมบัติของมนุษย์ชมพูทวีป มีแสดงไว้หลายนัย ตามวจนัตถะ ดังต่อไปนี้ ๑. มโน อุสฺสนฺตํ เอเตสนฺติ = มนุสฺสา คนทั้งหลาย ที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง หมายความว่า จิตใจของคนชมพูทวีปนั้น กล้าแข็งทั้งฝ่ายดีและไม่ดี คือฝ่ายดีนั้นสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, อัครสาวก, มหาสาวก, ปกติสาวก, สำเร็จอภิญญาลาภีหรือฌานลาภีบุคคล, ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ข้างฝ่ายไม่ดีนั้น ให้กระทำการวิบัติตัดชีวิต บิดามารดา, พระอรหันต์, กระทำโลหิตุปบาท, และสังฆเภท ๒. การณากรณํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร หมายความว่า คนชมพูทวีป ย่อมมีความสามารถค้นหาเหตุผลของธรรมได้โดยเฉพาะ เช่นการเห็น เกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยจักขุปสาท กับรูปารมณ์ กระทบกันเป็นต้น ตลอดจนรู้ภาวะของรูป – นาม ตามความเป็นจริงได้ เพราะอาศัยมีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร นั่นเอง ๓. อตฺถานตฺตตํ มนติ ชานาตีติ = มนุสฺโส คนชมพูทวีป ชื่อว่า มนุษย์ เพราะเข้าใจในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ข้อนี้หมายความว่า บรรดาสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่สัตว์โลกได้รับ จะเป็นที่น่ายินดีพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม ย่อมเกิดจากการทำ การพูด การคิด ของสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง ถ้าการทำ การพูด การคิด ที่ดี ก็ได้ผลดี มีประโยชน์ แต่ถ้าการทำ การพูด การคิดที่ไม่ดี ก็ได้ผลไม่ดี ไม่มีประโยชน์
ps จักรวาลมี 4 ทวีป ทวีปละไม่กี่พันโยชน์ ไม่ใช่ 13.7 ล้านปีแสงนะจ๊ะ
จากคุณ |
:
tiktaalik
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ธ.ค. 54 19:33:51
A:58.9.213.6 X: TicketID:287399
|
|
|
|
 |