 |
เห็นด้วยที่ว่าต้องการให้พัฒนา
ทีนี้ ต้องดูก่อนว่า "ทำไม" จีนถึงไปไกล หรือ "ต้อง" ไปไกลขนาดนั้น?
เศรษฐกิจ, กำลังเงิน, ความต้องการ, ความจำเป็น
แฟนบอลไทยหลายๆ คนก็เคยบ่นๆ สนามบอลไทยห่วย สู้ของยุโรปไม่ได้ อยากได้สนามแบบ โอล แทร็ฟฟอร์ด, คัมป์ นู, เบอนาบิว, จูเซ็ปเป้เมียซ่า ฯลฯ ผลคือ ทุกวันนี้สนามบอลไทยลีกที่ใหญ่ๆ ระดับ 10,000 - 24,000 คนดูไม่เต็มครับ เต็มบ้างไม่เต็มบ้าง
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หลังคา บ๊อกวีไอพี ฯลฯ สู้ของยุโรปไม่ได้
เพราะอะไร?
เพราะระบบการตลาดไงครับ ความต้องการ = การจัดหา เมื่อความต้องการน้อย สิ่งที่จัดหามามันก็น้อย คงไม่มีใครยอมเสี่ยงเฉือนเนื้อตัวเองถ้ามองไม่เห็นหนทางถอนทุนหรือกำไรหรอกครับ
อย่างกรณีฟุตบอลไทย รายได้ เศรษฐกิจ กำหนดค่าตั๋วสูงสุดไว้ด้วยตัวมันเอง อย่างจะไปเรียกระดับพันบาทเหมือนตปท.ก็ไม่ได้ แต่มีอีกปัจจัยก็คือ demand หรือความนิยม ความต้องการของแฟนๆ แต่ที่สุดมันก็ต้องอ้างอิงกับเศรษฐกิจภายในชาติแน่นอน สุดท้ายเมื่อมีคนดูเท่านี้ เก็บค่าตั๋วได้เท่านี้ มันก็จะทำให้ได้เห็นภาพว่า จะสร้างสนามได้ในระดับไหน
กรณีรถไฟ ก็คงต้องมองว่า ถ้าจะ "พัฒนา" จริงๆ ไม่ใช่แค่ "ปรับปรุง" ก็ต้องมองว่า จะมีคนใช้มากเท่าไหร่ คนไทยมีกำลังจ่ายค่าโดยสารแค่ไหน นี่คือถ้าเป็น "ธุรกิจ" ก็ต้องเริ่มมองที่มาของรายรับก่อน มีความต้องการมากแค่ไหน มีโอกาสทำเงินได้เท่าไหร่ แล้วค่อยมองไปถึงการจัดหาเงินมาทำ ต่อให้ต้องกู้มาก็ยังไม่เป็นไรถ้าระยะเวลาคุ้มทุนมันอยู่ในระดับที่รับได้
ไหนๆ แล้วก็
กรณีรถไฟความเร็วสูงไทย
- รบ.อภิสิทธิ์ เส้นทางเชื่อมผ่านอีสาน เหตุผลหลักคือเพื่อรองรับนโยบายขยายเส้นทางรถไฟของ จีน ที่คาดว่าจะมาทางอีสานบ้านเรา จะได้เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ
- รบ.ยิ่งลักษณ์ เส้นทาง เชียงใหม่-กทม.-ระยอง 1,000 กม. งบ 3 แสนล้านบาท โดยในเมื่อมองว่าไม่ได้สร้างเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟของ จีน ก็แปลว่า เส้นทางนี้ต้องมีความสามารถในการทำรายได้มากกว่าเส้นทางอีสานของ รบ.อภิสิทธ์
เคยคุยกันหลายรอบแล้ว ผมสรุปเองไม่ได้ แต่จำข้อมูลหลายๆ ได้อยู่ก็ลองเล่าอีกรอบ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย รบ.ยิ่งลักษณ์ พูดกันมาตั้งแต่ก่อนชนะเลือกตั้งอีกมั้ง
1. เส้นทาง - เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ระยอง รวมระยะทาง 1,000 กิโลเมตร
2. ความเร็ว - กรุงเทพฯ ถึง เชียงใหม่ 3.5 ชั่วโมง
3. ค่าโดยสาร - สูงสุด กรุงเทพ-เชียงใหม่ ประมาณ 1,200 บาท/คน
4. งบประมาณ - 3 แสนล้านบาท (วิธีการสรรหางบประมาณ ต้องมีเอกชนเกี่ยวข้องแน่นอนเพราะรบ.ลำพังทำไม่ได้แน่ๆ เพียงแต่จะรูปแบบไหน)
5. จุดคุ้มทุน (รายรับต่อวันที่เลี้ยงกิจการได้โดยไม่ขาดทุน: จำนวนผู้โดยสาร คน/วัน) - 7 หมื่นคน/วัน
(* เคยมีคนเข้าใจผิดว่า 7 หมื่นคนต่อวันนี้ คือต้องค่าโดยสารสูงสุด 1.2 พันบาท ซึ่งไม่ใช่ ไม่มีใครคำนวนโดยเอาค่าโดยสารสูงสุดอยู่แล้ว แต่เป็น ค่าโดยสารเฉลี่ย/คน/วัน)
สิ่งที่ยังอยากรู้มากๆ เกี่ยวกับ รถไฟความเร็วสูง ที่พูดกันมานานนี้และยังไม่มีความเห็นอย่างเป็นทางการก็คือ ระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ว่าจะนานแค่ไหน กี่ปี
แต่คาดกันไว้และไม่น่าผิดก็คือถ้าทำจริง งานนี้มีหลัก สิบปี เป็นอย่างน้อยแหงๆ
ระยะเวลาคืนทุนที่ว่า ก็คือ ระยะเวลาที่ เราจะได้ทุนคืนกลับมา ซึ่งก็คือ 3 แสนล้านบาท ก็แปลว่าต้องเอากำไรต่อระยะเวลามาคำนวน เช่นว่า สมมุติถ้าได้ (ซึ่งคงจะยากมาก) ถ้าได้กำไร 5 หมื่นล้านบาท/ปี ก็จะใช้เวลา 6 ปี ในการคืนทุน 3 แสนล้านบาท นั่นเอง
ทีนี้ ตอนนี้เราพูดเรื่อง คุ้มทุน คืนทุน กันมาสักพัก ก็เลยลืมไปอย่างหนึ่งว่า โอเค จุดที่สำคัญมากคือจุดคุ้มทุน คือ กิจการต้องเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องมาเป็นหนี้เป็นภาระให้รัฐระยะยาวอีก แต่ทีนี้ หลายๆ คนเคยห่วงเรื่อง จุดคืนทุน (ไม่ใช่คุ้มทุนนะ) นี่แหละ เพราะเห็นชัดๆ ว่าอย่างน้อยๆ ในปีแรก การจะได้ผู้โดยสารระดับ 7 หมื่นคน/วัน คงจะเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้นแปลว่ากิจการ (รถไฟความเร็วสูง) อาจต้องประสบภาวะ ขาดทุน ก่อนในช่วงแรก ปัญหาคือจะนานแค่ไหน เพราะต้องไม่ลืมว่าถ้าไม่มี กำไร ก็ไม่มีทางที่จะถึง จุดคืนทุน ได้นั่นเอง
จุดคืนทุน ยิ่งนานยิ่งช้าก็ยิ่งเป็นผลเสีย เพราะที่มาของงบประมาณ 3 แสนล้านบาท นอกจากเอกชนจะออกส่วนหนึ่งแล้ว รบ.เองก็ต้องกู้มาด้วยแน่ๆ และยิ่งเวลาลากนาน ดอกเบี้ยก็ยิ่งสูง เงินกู้ระดับแสนล้าน ดอกเบี้ยสักปี จะบานขนาดไหน
นี่คือจุดที่ห่วง
แต่ต้องไม่ลืมอย่างหนึ่งว่า จุดแข็งอย่างหนึ่งก็คือ โครงการนี้สร้างโดยรัฐบาล (อ้าว แล้วดีอย่างไร?) ก็คือ โครงการหลายๆ ของของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องแสวงหากำไรแบบเอกชน ทุกๆ ปีรัฐเสียงบประมาณไปกับการ สร้าง ขยาย บำรุง ทั้งสิ่งปลูกสร้างและหลายๆ อย่างไปโดยไม่ได้กำไรกลับมาในรูปแบบของ เงิน นั่นเพราะรบ.ได้เงินมาจาก ภาษี และ หรือถ้าจะพูดให้เท่ๆ (ที่น่าจะพูดกันในสภา) ก็คือ กำไรอย่างหนึ่งของทุกการลงทุนของรัฐ คือ การยกระดับชีวิตของประชาชน
รถไฟความเร็วสูง ในไทย ถ้าเป็นเอกชนคิด คงยากมากที่จะเกิด เพราะต้นทุนสร้างที่สูงมาก และความสามารถในการใช้จ่ายของประเทศไทย คนไทย ซึ่งสัมพันธ์กับเศรษฐกิจบ้านเรา มันยังต่ำ ก็เหมือนว่าถ้าสร้างจริงๆ อาจต้องเก็บค่าโดยสารกันเป็นพันๆ บาท ซึ่งเวิร์คในญี่ปุ่นหรือฝั่งตะวันตก ขณะที่คนไทยพร้อมจ่ายค่าโดยสารกันหลักสิบ ร้อย และน้อยคนที่พร้อมจ่ายระดับ พันบาท
จึงถือว่า ถ้ารัฐบาล ไม่ริเริ่มทำโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ไว้โดยตัวเอง แบกภาระหนี้และการขาดทุนในช่วงแรกไว้เอง ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามหลักการตลาด คิดว่าคงอีกหลายปีมากๆ ที่จะเกิด รถไฟความเร็วสูงในไทย
ทีนี้ก็เลยต้องวกกลับไปที่หัวกระทู้ เอาไงดี คุ้มมั้ย จำเป็นมั้ย ดีมั้ย การพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเป็นเรื่องดี สำคัญ และจำเป็นต้องทำ เป็นเรื่องไม่เล็กที่ไม่เพียงแต่จะยกระดับชีวิตคนไทย แต่ส่งผลไปถึงเศรษฐกิจได้เลยทีเดียว ปัญหาคือ เร่งแค่ไหน มีหนทางอื่นไหม ฯลฯ
การย่อประเทศให้เล็กลงมีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจแน่นอน เพียงแต่จะมากจะน้อย จะเร็วจะช้า อันนี้อีกเรื่อง, ระยะเวลาในขนส่งสินค้า, ระยะเวลาในการเข้าถึงสินค้า-ผู้ผลิต-ลูกค้า, ระยะเวลาที่คนใช้ในการเดินทาง ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งถ้าเป็น เอกชน พวกเขาไม่จำเป็นต้องคิด เพราะศึกษาเส้นทางที่ได้กำไรมากที่สุดก็พอ
สรุปจบปิดท้าย ถ้ามีจริง รถไฟความเร็วสูง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายก็น่าจะเป็นชนชั้นกลางปกติ ไปจนถึงกลุ่มคนมีเงิน และแน่นอนนักท่องเที่ยว โดยทึกทักเอาเอง(ยอมรับ) จากการสังเกตพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในการเดินทางของคนไทย ปัจจุบันคนไทยพร้อมจ่ายเงินสูงขึ้นเพื่อการเดินทาง ที่ขึ้นมาแรงคือ รถตู้ ที่แม้จะแพงกว่าแต่เร็วกว่า รถทัวร์ โดยปัจจุบัน รถตู้ ไม่ได้จำกัดเส้นเฉพาะสั้นๆ ภายในกทม.เท่านั้น แต่ครอบคลุมเส้นทางระยะไกลแล้วด้วย ว่าก็ว่า ปัจจุบัน รถตู้ มีบทบาทแทบจะไม่แพ้ รถทัวร์ ไปแล้ว
ดังนั้นแล้ว รถไฟความเร็วสูง น่าจะเป็นตัวเลือกที่ใกล้เคียงกับ รถตู้ (ระยะไกล) ในแง่ค่าโดยสาร แต่น่าจะแพงกว่าเล็กน้อย แต่วิ่งเร็วกว่าและตรงเวลากว่า (รถตู้ กทม.-สระบุรี 1 ร้อยกว่ากม. ประมาณ 1 ชม.) รถไฟความเร็วสูง กทม.-สระบุรี 40 นาที
ก็แปลว่า ถ้าสร้างจริง รถไฟความเร็วสูง ไม่ถึงกับ "สูง" เกินไปจนคนไทยทั่วๆ ไปไม่มีสิทธิ์นั่ง เรียกว่าคนใช้ได้ประโยชน์ ติดที่คนสร้างนี่แหละ ที่แม้อาจจะได้ประโยชน์ทางอ้อมในรูปอื่นที่ไม่ใช่ กำไร แต่ด้วยงบมหาศาลขนาดนี้ ยิ่งเฉพาะน้ำท่วมก็เสียหายไป 1.4 ล้านล้าน ฟื้นฟูอีกหลายหมื่นล้าน และทำแผนรองรับป้องครบวงจรกันอีก 4 แสนล้าน
จะหาเงินที่ไหนมาทำ...
จากคุณ |
:
art_sarawut
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ม.ค. 55 20:10:02
|
|
|
|
 |