 |
(ข้อดี)
- การใช้เทคโนโลยี Smart grid ทำให้ผู้จ่ายไฟรู้สภาวะความต้องการไฟฟ้าอย่างเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่าตนเองใช้ไฟไปมากน้อยเพียงใด ในช่วงเวลาใดบ้าง และจะต้องจ่ายค่าไฟเท่าใด มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เมื่อผู้บริโภคสามารถ ตรวจสอบค่าไฟฟ้าได้เกือบจะเรียลไทม์เช่นนี้ จะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงประมาณ 10-15% เลยทีเดียว และยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้ไฟในช่วงที่มีการใช้ไฟน้อยกว่าปกติซึ่งมีการคิดค่าไฟถูกกว่า
- มีการจัดการกระแสไฟฟ้าที่อาจเกิดการโหลดมากเกินไป หรือหม้อแปลงระเบิดได้น้อยลงมาก
- ผู้ใช้สามารถรู้ค่าไฟฟ้าสะสมที่เกิดขึ้นจากตัวมิเตอร์หรือเข้ามาดูทางอินเตอร์เน็ต
- การคิดค่าไฟฟ้าสามารถทำแบบฉลาดได้ คือค่าไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างกันให้มีราคาที่ต่างกันได้ เช่นช่วงหัวค่ำก็คิดแพงๆ หน่อย ดึกๆ ถึงเช้ามืดก็คิดแบบถูกๆ คนใช้ก็รู้ราคาและสามารถเช็คได้โดยตรงจาก web site เลย
- อาจใช้ระบบ Pre-paid คล้ายการเติมเงินของโทรศัพท์มือถือก็ได้ ลูกค้าอาจอาศัยช่วง Promotion ไปซื้อบัตรเติมเงิน เพื่อใช้ไฟฟ้าในช่วงที่ราคาถูกๆ เช่น ให้ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่คนใช้น้อย
กรณีที่กล่าวข้างต้นจะต้องมีการรวมระบบสมาร์ทกริดเข้ากับมิเตอร์อัจฉริยะ และปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยอุปกรณ์ควบคุมพลังงานภายในบ้าน จะทำให้โอกาสในการสร้างสิ่งใหม่จะเกิดขึ้นอีกมากมายตามที่กล่าวไป โดยระบบดังกล่าว นอกจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้ประโยชน์แล้ว ทางผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าหรือตัวแทนจำหน่ายสามารถก็ได้ประโยชน์เช่นกันคือ
- ลดต้นทุนในการสำรองไฟฟ้า
- ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก
- ลดจำนวนพนักงานในการออกไปดูมิเตอร์ หากผู้ใช้ค้างชำระเกินกำหนด ผู้จ่ายไฟสามารถสั่งระงับการจ่ายไฟฟ้าจากระยะไกลได้ หรือสั่งให้มีการจ่ายไฟตามปกติได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปตรวจดู
- มีประโยชน์ในการแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้องเนื่องจากไม่รู้ตำแหน่งที่เกิดความผิดพลาดขึ้นในระบบจ่ายไฟ
ดังนั้น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้มีความทันสมัยมากขึ้น รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามผลการวิเคราะห์และประมวลผลของซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้ใช้บริการเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับและสามารถตระหนักในความสำคัญของการลดพลังงาน และใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(ข้อเสีย)
เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถช่วยทำให้ผู้ใช้บริการสามารถลดพลังงานได้ในระดับที่กล่าวมา แน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง รวมไปถึงการวางระบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในด้านความแตกต่างของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่มีอากาศร้อน ผู้ใช้ตามบ้านก็อาจจะปิดไฟ หรือปิดเครื่องใช้ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นแล้วเปิดเครื่องปรับอากาศแทน
แต่เมื่อเรามองถึงผู้ใช้งานตามโรงพยาบาล หรือในส่วนของสถานที่ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ สถานที่เหล่านี้ไม่สามารถปรับลดอุณหภูมิลงได้ นอกเสียจากว่า สถานที่เหล่านี้อาจจะเก็บเงินเพิ่มจากคนไข้หรือผู้มาใช้บริการ เพื่อนำมาทดแทนในส่วนนี้ ดังนั้น อาจมองได้ว่า ถึงแม้เราจะลดค่าใช้จ่ายในการลดพลังงานลงได้ แต่ก็อาจจะต้องจ่ายเพิ่มสำหรับสินค้าและบริการจากบริษัทที่ไม่สามารถปรับลดการใช้พลังงานลง นอกจากนี้จากการที่ระบบมีการเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกเจาะเข้าโปรแกรมสามารถล้วงข้อมูลหรือทำลายระบบจากผู้ไม่หวังดีได้
(การนำมาใช้)
- บริษัทซิสโก้อยู่ระหว่างการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรสมาร์ทกริด มีการปรับใช้มาตรฐานการสื่อสารบนเครือข่าย Internet Protocol (IP) สำหรับโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะให้ทำงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงได้เปิดตัวบริการและโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับโครงข่ายดังกล่าว ซึ่งจะก่อประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่ออุตสาหกรรมพลังงานรวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งในส่วนขององค์กรธุรกิจและประชาชนทั่วไป
- บริษัท IBM ได้รับสัมปทานจากประเทศมอลต้า ให้ทำการวางระบบ Smart Grid สำหรับไฟฟ้าและน้ำประปา โดยจะต้องทำการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟทั้งหมด 250,000 หน่วยให้เป็น Smart Meter ซึ่งจะทำให้ผู้จ่ายไฟฟ้าสามารถรู้การใช้ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง โดยไม่ต้องส่งพนักงานออกไปเก็บบันทึกเหมือนในอดีต โดยการไฟฟ้าสามารถดูสถิติการใช้ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลังได้จากหน้าจอภาพคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ ซึ่งหากผู้ใช้ค้างชำระเกินกำหนด ผู้จ่ายไฟสามารถสั่งระงับการจ่ายไฟฟ้าจากระยะไกลได้ หรือสั่งให้มีการจ่ายไฟตามปกติได้ งบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ 70 ล้านยูโร (90 ล้านเหรียญสหรัฐ) และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2012
- บริษัท Google เมื่อต้นปี 2010 ได้ออกมาประกาศว่าจะลงทุนทางด้าน Smart Grid และ Smart Meter โดยจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดการใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถที่จะโปรแกรมให้ใช้ไฟฟ้าในช่วงที่ราคาค่าไฟมีราคาต่ำผู้ใช้สามารถที่จะดูค่าไฟได้อย่าง Real Time และปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามการวิเคราะห์ของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
(ผลกระทบที่ส่งผลต่อธุรกิจ)
จะเห็นได้ว่าเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสมาร์ทกริดในประเทศไทยมักจะยังไม่ค่อยรู้จักกันมากเท่าไรนัก แต่เมื่อมองในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรต่างๆ ต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากที่ได้สรุปมาข้างต้นหลายๆองค์กรในต่างประเทศมีการใช้เทคโนโลยี Smart grid มาใช้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในระบบต่างๆ ส่วนเมืองไทยเองก็เริ่มมีการศึกษาข้อมูลด้านนี้กันอยู่จากที่ทราบกันว่าประเทศไทยได้มีการลงทุนจำนวนมากในด้านการพัฒนาปรับปรุงด้านพลังงาน หากนำไปลงทุนในองค์กรที่ให้บริการสาธารณูปโภคก็จะสามารถลดการใช้พลังงานรวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ได้อย่างมากมาย
(May the Spoil be with you) ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน
จากคุณ |
:
เจไดหนุ่ม
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ม.ค. 55 15:08:11
|
|
|
|
 |