 |
กองกำลังทหารเสือพราน เป็นกองกำลังอาสาสมัครที่มีประสิทธิภาพ พวกเขามีหน้าที่โต้ตอบกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่รุกรานประเทศลาวในขณะนั้น มีการจัดกองกำลังคล้ายกองพันทหารราบของไทย คือ จัดเป็นกองพันทหารเสือพรานรวม 36 กองพัน แต่ละกองพันมีจำนวนทหารเสือพราน 500 นาย โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกัน เช่น อาวุธ, การฝึกอบรม, การส่งกำลังไปแนวหน้าหรือการนำผู้ป่วยกับมารักษา, เงินเดือนของทหารเสือพราน ฯลฯ
การไปรบในลาวครั้งนั้น เป็นปฏิบัติการที่ถูกปกปิดเป็นความลับ นั่นคือ ทหารเสือพรานจะต้องเขียนใบลาออกไว้ หากเกิดความสูญเสียขึ้นใดใด จะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้ ดังนั้นวีรกรรมที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นอาจไม่ได้บันทึกไว้ หรือสืบค้นได้ยาก นอกจากคำบอกเล่าของพวกเขาที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่น่าจะอายุเกิน 60 ปีแล้ว
กองพันทหารเสือพรานรุ่นแรกๆ ได้ถูกส่งเข้าไปประจำที่ประเทศลาว ในเดือนตุลาคม 2514 ในการรบที่ทุ่งไหหิน เพื่อทดแทนกำลังพลของไทยที่ไปปฏิบัติการอยู่ก่อนแล้ว คือ กองพันทหารราบ, กองพันทหารปืนใหญ่และอีกส่วนหนึ่งส่งไปประจำทางด้านเหนือและทางด้านใต้ประเทศลาว ด้านละ 4 กองพัน
การรบดำเนินไปจนถึงปี 2516 ซึ่งรัฐบาลลาวได้ตั้งรัฐบาลผสมขึ้น มีการลงนามในสัญญาหยุดยิง และถอนทหารทุกฝ่ายออกจากแนวรบ กองพันทหารเสือพรานของไทยได้ถอนตัวจากลาวเสร็จสิ้นในปี 2517 สรุปรวมจำนวนทหารเสือพรานที่ส่งไปลาวทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน
ปัจจุบัน ทหารเสือพรานที่เคยไปรบในลาว เมื่อพบกัน เขาจะอ้างถึงการสังกัดกองพันต่างๆ เช่น BC 606, BC 612, BC 622 เป็นต้น อดีตทหารผ่านศึกเหล่านี้ได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาคม ชื่อ สมาคนนักรบนิรนาม 333 ในปี 2546 เป็นจุดนัดพบกันระหว่างสมาชิกในการรำลึกถึงความทรงจำในภารกิจเพื่อชาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างสมาชิก รวมทั้งเป็นการเปิดเผยวีรกรรมในครั้งนั้นจากประสบการณ์จริง ที่ผ่านมาแล้วกว่า 30 ปี
จากคุณ |
:
นอกวงการ
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ม.ค. 55 21:38:44
|
|
|
|
 |