 |
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=thatal&topic=58
ระบบ RTADS แบ่งเป็น 3 เฟส คือ เฟสที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก เฟสที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และภาคตะวันตก สำหรับเฟสที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด
ระบบ RTADS ประกอบด้วย 1. ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (AOC) หรือ ศยอ. 1 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (คปอ.บยอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ
2. RTADS เฟสที่ 1 2.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (SOC) 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) 2.2 สถานีรายงาน (RP) 4 สถานี คือ สร.เขาเขียว (นครนายก), สร.บ้านเพ (ระยอง), สร.เขาพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และ สร.อุบลฯ 2.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล (data-link) แบบ TADIL-A (Tactical Digital Information Link-A) หรือ Link-11A ตั้งอยู่ที่ ศคปอ.กรุงเทพฯ
3. RTADS เฟสที่ 2 3.1 ศูนย์ควบคุมและรายงาน (CRC) 1 ศูนย์ คือ ศคร.ดอยอินทนนท์ (เชียงใหม่) 3.2 สถานีรายงาน 5 สถานี คือ สร.เขาใหญ่ (กาญจนบุรี), สร.พิษณุโลก, สร.ภูหมันขาว (เลย), สร.อุดรฯ และ สร.ภูเขียว (สกลนคร)
4. RTADS เฟสที่ 3 4.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.สุราษฎร์ธานี 4.2 สถานีรายงาน 3 สถานี คือ สร.สมุย (สุราษฎร์ธานี), สร.ภูเก็ต และ สร.หาดใหญ่ (เขาวังชิง สงขลา) 4.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล แบบ TADIL-A ตั้งอยู่ที่ สร.สมุย และ สร.ภูเก็ต
เครือข่ายการสื่อสารผ่านวิทยุไมโครเวฟ
คุณลักษณะของเครือข่าย เป็นระบบวิทยุไมโครเวฟย่านความถี่ 5GHz วิทยุไมโครเวฟ MDR 2205 - แบบ PDH ความเร็ว 45 Mbps (DS3) มาตรฐานระบบ American (T1 = 24 ช่องเสียง) - ไม่มีระบบสื่อสารสำรอง แต่วางโครงข่ายเป็น Ring (Alternate Route) วิทยุไมโครเวฟ SRT-1C - แบบ SDH ความเร็ว 155 Mbps (STM-1C) มาตรฐานระบบ Europe (E1 = 30 ช่องเสียง)
วิทยุไมโครเวฟ PDH Mini-Link ของ บ.Nera 8E1(บ้านลาดช้าง-รร.การบิน) ของ Alcatel ขนาด 4E1(วังไกลกังวล-ฝูง 509)
เครือข่ายการสื่อสารผ่านสายใยแก้วนำแสง
คุณลักษณะของเครือข่าย สายเคเบิลใยแก้วนำแสงขนาด 12 cores มาตรฐาน G.625 ความยาวคลื่น 1550nm เป็นอุปกรณ์ SLT-SLR (ปัจจุบันเลิกสายการผลิตแล้ว) เป็นระบบสื่อสารความเร็วสูง SDH ความเร็ว SDH ระดับ 4 STM-1 4 x 155.52 Mbps มาตรฐาน ITU-T G.703 ( E1 = 30 ช่องเสียง )
เครือข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม
คุณลักษณะของเครือข่ายดาวเทียมระบบ TDMA (C-Band) ใช้ดาวเทียม ThaiCom1 bandwidth ขนาด 4.14 MHz มีสถานีแม่ข่าย (HUB) อยู่ที่ กทค.ศสท.ส.ทอ. มีสถานีลูกข่าย 5 สถานี
ดาวเทียมระบบ SCPC (FlyAway) (C-Band) ใช้สถานีแม่ข่าย (HUB) ดาวเทียม เดียวกับระบบ TDMA มีใช้งานทั้งหมด 5 ชุด
ดาวเทียมเคลื่อนที่ Ku-Band เช่าใช้ดาวเทียม ThaiCom5 มีสถานีแม่ข่าย (HUB) อยู่ที่ กทค.ศสท.ส.ทอ. มีสถานีลูกข่าย 2 ชุด มีสถานะภาพพร้อมใช้งาน
ทั้งนี้ ทอ. ยังมีสถานีรายงานเคลื่อนที่ (สคท.) อีก 3 สถานี ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปติดตั้งยังตำบลที่ที่จำเป็นเพื่ออุดช่องว่างของ สร. ต่างๆ ที่มีอยู่แล้วได้อีก
ข้อมูลภายในระบบ RTADS ปัจจุบันเชื่อมโยงถึงกันด้วยวิธีการ 3 แบบ คือ โดยการใช้สัญญาณไมโครเวฟ, โดยผ่านทางระบบใยแก้วนำแสง (fiber optic) และโดยการสื่อสารผ่านดาวเทียม นอกจากนี้ระบบ RTADS ยังเชื่อมต่อกับระบบ JADDIN (Joint Air Defense Digital Information Network) ของ บก.สูงสุด ด้วย ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังส่วนควบคุมการป้องกันภัยทางอากาศของ ทบ. และ ทร. (ไม่มีข้อมูลว่าเรือของ ทร. นั้นมี data-link เพื่อรับข้อมูลจากระบบ JADDIN ในส่วนของ ทร. หรือไม่ รวมทั้งตามกองร้อย ปตอ. ของ ทบ. ด้วยเช่นกัน)
ในอนาคตระบบ RTADS จะสมบูรณ์มากขึ้น เมื่อ ทอ.ได้รับ บ.ควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ แบบ S-100B Argus ติดตั้งเรดาร์ Erieye จำนวน 2 เครื่อง พร้อมกับสถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล TIDLS (Tactical Information Data Link System) 3 สถานี (ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ที่ใดบ้าง ขึ้นอยู่กับว่า ทอ. ตั้งใจจะใช้ บ. แบบนี้ครอบคลุมทั้งประเทศหรือไม่ ถ้าใช่ สถานีทั้ง 3 จะตั้งอยู่ที่ ศคอป.กรุงเทพฯ กับสุราฎร์ฯ และ ศคร.ดอยอินทนนท์) ซึ่งจะรับส่งข้อมูลกับ บ. แบบ Argus ได้ โดยข้อมูลที่รับมาจากเรดาร์ Erieye จะเชื่อมเข้าสู่คอมพิวเตอร์เมนเฟรมของระบบ RTADS ได้โดยตรง ซึ่งอันนี้เป็นเงื่อนไงหนึ่งในข้อตกลงที่ทางสวีเดนเสนอมาในแพกเกจ JAS-39 Gripen อยู่แล้ว
สำหรับระบบ data-link แบบ TADIL-A (link-11A) สามารถรับข้อมูลจาก AWACS และเรือผิวน้ำ (บางลำที่มีระบบนี้) ของสหรัฐฯ ได้ ในอนาคต ทอ. อาจจะ (ถ้ามีงบฯ) เปลี่ยนเป็นแบบ TADIL-J (link-16) เพื่อให้เข้ากันได้กับระบบของประเทศพันธมิตร นอกจากนี้ Gripen เองก็สามารถติดตั้งระบบนี้ได้ เช่นเดียวกับ F-16 ที่ ทอ.มีอยู่
ทร. อาจทำโครงข่ายในลักษณะนี้บ้าง แต่เป็นเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ เพื่อใช้ในการเฝ้าตรวจชายฝั่ง เพื่อช่วยอุดช่องว่างที่เหลือจากการใช้กำลังทางเรือ และอากาศยานในการตรวจการณ์ หรือลดการใช้กำลังลงได้ในบางจุดเพื่อความประหยัด ส่วนในระยะห่างจากฝั่งมากๆ ก็ใช้พวก UAV ชนิด MALE (medium altitude long endurance) แทน
จากคุณ |
:
OSK29560
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ม.ค. 55 12:12:07
|
|
|
|
 |