 |
อ่าว ในเมื่อเราปรับความเร็วของมอเตอร์ไม่ได้แล้วจะทำยังไง?
ก่อนอื่น ผมขออธิบายก่อนละกันว่ามอเตอร์มันถูกใช้งานยังไงบ้าง เพื่อให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้นเวลานะครับ
จริงๆจะว่าไปแล้วมอเตอร์ไม่ว่าจะตัวไหนๆมันก็เหมือนกันทั้งนั้น สิ่งที่แตกต่างกันคือโหลดที่มันขับอยู่ต่างหาก ตัวอย่างโหลดยอดนิยมที่ใช้มอเตอร์ขับกัน เช่น
ปั๊ม, พัดลม/ใบพัด, สายพาน, คอมเพรซเซอร์, ลิฟท์/เครน, ใบมีด, เครื่องฉีด/รีดพลาสติก(extruder), ใบกวน, ถังแกว่งสาร ฯลฯ อีกเยอะแยะมากมาย
ทีนี้เมื่อเราไม่สามารถปรับความเร็วของตัวมอเตอร์ได้ เราก็ต้องควบคุมที่โหลดหรือกระบวนการผลิตแทน โดยสิ่งที่นิยมมากที่สุดในการควบคุมก็คือ ชุดเกียร์ และวาล์ว
ในกรณีนี้ผมจะขอยกตัวอย่างของการใช้งานปั๊มน้ำของการประปาละกันครับ
เมื่อก่อนการประปาจะออกแบบโดยซอยย่อยปั๊มน้ำเป็นปั๊มเล็กหลายๆตัว เช่น ถ้าให้ความต้องการน้ำในช่วงที่มากที่สุดเป็น 10 หน่วย (เช่น ตอนหัวค่ำที่คนอยู่บ้านและมีการใช้น้ำเยอะ) แทนที่จะใช้ปั๊มใหญ่ตัวเดียวที่จ่ายน้ำได้ 10 หน่วย
เค้าก็จะออกแบบให้เป็นปั๊มเล็กที่จ่ายน้ำได้ 3 หน่วย จำนวน 4 ปั๊มแทน(รวมกันได้ 12 หน่วย) กรณีที่มีความต้องการน้ำน้อยก็ใช้ปั๊มแค่ตัวเดียว ถ้าไม่พอก็ค่อยไปเดินเครื่องตัวอื่นต่อไป
แต่ถึงกระนั้น ก็คงยังมีช่องว่างในกรณีที่ความต้องการน้ำก้ำๆกึ่งของปั๊มแต่ละตัว ซึ่งถ้าเกิดกรณีแบบนั้น เค้าก็จะทำการเดินปั๊มเพิ่มขึ้น และใช้วาล์วเป็นตัวช่วยในการควบคุมปริมาณ(แรงดัน)ของน้ำแทน
กล่าวคือ มอเตอร์มันก็เดินสปีดเดียวนั่นแหละ แต่ถ้าอยากได้น้ำเบาก็ให้ไปหรี่วาล์วลง ซึ่งกรณีแบบนี้ก็เหมือนกับเราต้องจ่ายไฟให้มอเตอร์เท่าเดิม ทั้งๆที่เราอยากได้น้ำน้อยลงแท้ๆ
ที่ผมพูดว่าอินเวอร์เตอร์มันช่วยประหยัดพลังงานก็คือส่วนนี้แหละครับ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับส่วนนี้นะครับ สำหรับท่านใดที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ผมบอกได้เลยว่าทุกท่านจะได้ใช้น้ำที่ผ่านการควบคุมของอินเวอร์เตอร์ครับ ^^
ทั้งโรงผลิตน้ำสามเสน บางเขน มหาสวัสดิ์ โรงสูบน้ำลาดกระบัง บางพลี ลุมพินี ฯลฯ มอเตอร์เกือบทั้งหมดล้วนแล้วแต่ใช่อินเวอร์เตอร์ในการควบคุมทั้งสิ้นครับ
จากคุณ |
:
โค้วเต๊กซิม
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.พ. 55 21:20:35
|
|
|
|
 |