 |
ไม่มีอะไรที่แน่นอน 100% ซึ่งต่อให้เตรียมการดีแค่ไหน โอกาสจะเสียก็เสียได้ ถ้าเป็นแค่ยานสำรวจ ดาวเทียม พวกนี้ก็เสียเงิน เสียโอกาส แต่อย่างไรก็ยังได้เงินจากประกัน
ความเสียหายของยานสำรวจอวกาศมีเยอะแยะ มีทั้งแก้ไขแบบกู้คืนได้สมบูรณ์กับแบบพอถูไถใช้งานได้ เรื่อง Apollo 13, Space Shuttle Chanllenger, Columbia หาข้อมูลได้ไม่ยาก
- ดาวเทียม Olympus 1 ของยุโรปซึ่งเป็นดาวเทียมสื่อสารเดี้ยงเพราะแผงรับแสงอาทิตย์ไม่หันตามดวงอาทิตย์ ซึ่งตัวดาวเทียมก็หมุนเคว้งคว้าง ซ้ำร้ายศูนย์ควบคุมยังสังงานผิดให้หยุดการทำงานระบบอื่นไปด้วย ดีว่าสามารถแก้ไขระบบควบคุมความสูงของดาวเทียมกลับมาได้ และค่อย ๆ แก้ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งใช้เวลาถึง 1 ปีถึงจะนำดาวเทียมกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
- ยาน SOHO สำรวจดวงอาทิตย์ นี่ก็เจอปัญหาไจโรหลักควบคุมทิศทางเสีย หันแผงรับแสงอาทิตย์ไม่ตรง พอแบตเตอรี่หมดก็ขาดการติดต่อ แต่ NASA ก็ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดยักษ์ที่อะเรซิโบ ประเทศเปอร์โตริโก ส่งสัญญาณค้นหาทำนองเดียวกับเรดาห์ไปหาจนเจอ แล้วก็รอให้ยานได้ร้บแสงจนพอทำงานเบื้องต้นตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของตัวเองได้ พอระบบควบคุมยานเริ่มทำงานได้ ก็บังคับให้ยานหันแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อสร้างพลังงานให้ได้เต็มที่ ใช้เวลานานหลายเดือนเลยครับ กว่าจะได้ยานสำรวจคืนกลับมา
- ดาวเทียมASIASAT 3 ก็เจอปัญหาจรวดขับดันเพื่อส่งตัวเองไปวงโคจรสถิตไม่ทำงาน ดาวเทียมก็เลยลอยอยู่ในวงโคจรระดับต่ำ ทางวิศวกรก็เลยเสี่ยงให้จรวดปรับทิศทางทำงานในช่วงเวลาใกล้โลกมากที่สุด เพื่อปรับการโคจรของดาวเทียมให้โลกเหวี่ยงขึ้นไปเป็นวงรีมากขึ้น จนกระทั่งสามารถส่งดาวเทียมไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ แล้วก็ให้ดวงจันทร์เหวี่ยงดาวเทียมกลับมาที่โลกอีกที แล้วก็ใช้เชื้อเพลิงที่เหลือในการปรับตำแหน่งเข้าสู่วงโคจรสถิตรอบโลกได้สำเร็จ เพียงแต่ว่าไม่มีเชื้อเพลิงสำหรับปรับแก้วงโคจรในครั้งต่อไป อายุการใช้งานดาวเทียมก็เลยลดไปเหลือไม่กี่ปี
- ยานสำรวจดาวพฤหัสกาลิเลโอก็เจอปัญหาจานรับ/ส่งสัญญาณหลักไม่กางออก ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลภาพถ่ายกลับมาที่โลกได้ ทางศูนย์ควบคุมก็แก้ปัญหาด้วยการโปรแกรมให้ยานถ่ายภาพเก็บเอาไว้ในหน่วยความจำแล้วส่งโปรแกรมบีบอัดข้อมูลภาพใหม่ซึ่งทำให้ลดขนาดของข้อมูลลงได้อีก แล้วค่อยส่งข้อมูลกลับมาโดยใช้จานรับ/ส่งสำรองซึ่งมี bandwidth น้อยกว่ามาก โดยส่งมาในช่วงที่ยานไม่ต้องส่งข้อมูลแบบ realtime
- ยานสำรวจดาวเสาร์ แคสซินีก็เจอปัญหารับส่งสัญญาณกับยานฮอยเกนส์ (เป็นยานที่พ่วงไปด้วย แล้วจะแยกตัวลงไปในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์) เพราะความเร็วในการเคลื่อนที่ของยานทั้งสองลำทำให้เกิด doppler effect ซึ่งความถี่ของสัญญาณวิทยุที่ใช้สื่อสารระหว่างกันจะเพี้ยน ทางศูนย์ควบคุมก็เลยสั่งปรับทิศทางเพื่อลดความเร็วของยานทั้งสองไม่ให้ doppler effect ส่งผลให้ความถี่ของสัญญาณผิดเพี้ยนมากเกินไป
- อีกอันก็เป็นการแก้ปัญหาแบบพื้น ๆ ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ส่งขึ้นไปทีแรก พบว่าภาพถ่ายที่ได้ผิดเพี้ยนเนื่องจากความบกพร่องของเลนส์รวมแสง วิธีแก้ไขก็ง่าย ๆ คือใส่แว่นสายตาให้ฮับเบิลซะ
จากคุณ |
:
Mr. SJ
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.พ. 55 12:01:22
|
|
|
|
 |