ถาม : ผิวถนนมีผลกับความเร็วของสายพานตีนตะขาบมั๊ย
ตอบ : มี ตามกฎแรงเสียดทาน หรือ ความเสียดทาน (friction)
แรงเสียดทาน (Frictional force) คือแรงที่เกิดจากผิวสัมผัสของวัตถุ 2ชนิดเมื่อวัตถุถูกแรงมากระทำ มีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานมี 2 ชนิดคือ 1. แรงเสียดทานสถิต 2. แรงเสียดทานจลน์
แรงเสียดทานสถิต (Static Frictional Force) เกิดจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุแต่แรงที่มากระทำนั้นมีคำน้อยกว่าแรงเสียดทานสถิตวัตถุจึงไม่เคลื่อนที่ แรงเสียดทานสถิตมีค่าตังแต่ 0 จนถึงคำมากที่สุด (วัตถุเริ่มเคลื่อนที่) เช่น ออกแรงกระทำกับมวลแล้ววัตถุเริ่มเคลื่อนที่ เราสามารถหาคำแรงเสียดทานจลน์จากอัตราส่วนระหว่างแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ต่อแรงปฏิกิริยาที่กระทำต่อวัตถุ เขียนเป็นสมการได้คือ fs = msN เมื่อ fs คือแรงเสียดทานสถิต ms คือสัมผัสประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต N คือแรงปฏิก แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Frictional Force) เกิดจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเคลื่อนที่เราสามารถหาคำแรงเสียดจลน์จากอัตราส่วนระหว่างแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ต่อแรงปฏิกิริยาที่กระทำต่อวัตถุ เขียนเป็นสมการได้คือ fk = mN เมื่อ fk คือแรงเสียดทานสถิต mk คือสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต N คือแรงปฏิกิริยาที่กระทำต่อวัตถุ
การลดและเพิ่มแรงเสียดทาน การลดแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี 1. การขัดถูผิววัตถุให้เรียบและลื่น 2. การใช้สารล่อลื่น เช่น น้ำมัน 3. การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ล้อ ตลับลูกปืน และบุช 4. ลดแรงกดระหว่างผิวสัมผัส เช่น ลดจำนวนสิ่งที่บรรทุกให้น้อยลง 5. ออกแบบรูปร่างยานพาหนะให้อากาศไหลผ่านได้ดี การเพิ่มแรงเสียดทาน สามารถทำได้หลายวิธี 1. การทำลวดลาย เพื่อให้ผิวขรุขระ 2. การเพิ่มผิวสัมผัส เช่น การออกแบบหน้ายางรถยนต์ให้มีหน้ากว้างพอเหมาะ
แก้ไขเมื่อ 02 มี.ค. 55 15:58:53
จากคุณ |
:
เคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยการโผ
|
เขียนเมื่อ |
:
2 มี.ค. 55 15:57:29
|
|
|
|