 |
ลองอ่านบทความต่อไปนี้ ....
จากลิ้งค์นี้...
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/54-rtn-news/374-type-206-news-on-dailynews.html
--------------------------------------------------
ข้อสังเกตจากสื่อมวลชนและคำชี้แจงของกองเรือดำน้ำในกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ Type-206 ภาคสาม ...........................................
จากเนื้อข่าวในหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัมน์ ตรงไปตรงมา โดย ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2554 และคำชี้แจงในเว็บไซต์ของกองเรือดำน้ำในวันที่ 28 กันยายน 2554 TAF ทำหน้าที่นำข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายมานำเสนอ ขอให้ทุกท่านใช้วิจารณญาณของท่านในการพิจารณาว่าจะเชื่อฝ่ายไหนได้อย่างอิสระครับ .................................................
กองทัพ+อาวุธ+สำนึก วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 0:00 น
นับจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.2549 การจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในประเด็น ความคุ้มค่า และกรณีที่สร้างความ เสื่อมเสีย ให้กับกองทัพมากที่สุดคงหนีไม่พ้น การจัดซื้อเครื่อง จีที 200 ที่ต้องเรียกว่าเป็นรายการ แหกตา ของพ่อค้าอาวุธโดยแท้ หากมองในแง่ดีปฐมเหตุอาจมาจาก วุฒิภาวะ ของผู้มีอำนาจในการพิจารณาสั่งซื้อ แต่ในอีกแง่มุมกลับมีแรงกระเพื่อมระลอกใหญ่ส่งสัญญาณว่าโครงการนี้มี งาน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการจัดซื้อ เรือเหาะ ซึ่งก่อให้เกิดความกังขาและคาใจจากประชาชนผู้เสียภาษีว่า ความคุ้มค่า อยู่ตรงไหน ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้วแต่อดีตย่อมส่งผลถึงปัจจุบันและผูกพันถึงอนาคต ผู้เกี่ยวข้องสมควรเร่งแก้ไข เพื่อผลประโยชน์ของชาติ
ถึงแม้ว่าจะปิดฉาก 2 โครงการเจ้าปัญหาไปแล้ว แต่การดำเนินการจัดหาอาวุธของกองทัพบกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง MI-17 V5 จำนวน 3 เครื่อง เพื่อทดแทน ฮ.ชีนุก ซึ่งมีปัญหาเรื่องซ่อมบำรุง การจัดหาเฮลิคอปเตอร์ UH-60-M/Black Hawk รุ่นใหม่เพื่อใช้ในภารกิจด้านยุทธการและยุทธวิธี อีก 3 เครื่อง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับมอบเครื่องรุ่น L มาแล้ว 7 เครื่อง และยังเตรียมดำเนินการจัดหารถถังจากประเทศยูเครนเพื่อทดแทนรถถัง M-41 ที่กำลังจะปลดประจำการในหลายหน่วย เพื่อใช้ในพื้นที่ชายแดนไทยกัมพูชา พร้อมรอการส่งมอบรถหุ้มเกราะล้อยาง BRT 3E1 จากยูเครน ซึ่งเคยถูกท้วงติงอย่างหนักถึงความไม่เหมาะสม ส่วน โปรเจ็คส์กริพเฟ่น แม้จะเป็นยุทโธปกรณ์ที่เหล่าทัพฟ้าภาคภูมิใจนำเสนอ แต่กว่าจะ ผ่าน เข้าประจำการ ณ กองบิน 7 ก็เรียกว่า ช้ำ จากเสียงครหาเรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่า เช่นกัน ขณะที่กองทัพเรือกำลังปลุกปั้นอย่างหนักกับ โครงการจัดหาเรือดำน้ำ หวังสร้างแสนยานุภาพแทนเขี้ยวเล็บชุดเดิมหลังการปลดระวางเรือดำน้ำ 4 ลำ คือ เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล ไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ซึ่งโครงการนี้มีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้าน กองทัพเรือยืนยันเสียงแข็งว่า จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำไว้ปกป้องผลประโยชน์ทางทะเล ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นในเวลานี้ เพราะเพื่อนบ้านที่มีเรือดำน้ำประจำการขณะนี้มีเพียง 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ เวียดนาม ที่สำคัญประเทศเหล่านี้ก็ไม่น่าจะเป็นภัยคุกคามในระยะเวลาอันใกล้ ถามว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำหรือไม่....? การมีเรือดำน้ำต้องใช้งบประมาณสูง ทั้งราคาเรือ อาวุธประจำเรือ อู่เรือ การซ่อมบำรุง กำลังพลประจำเรือ แถมยังต้องมีเรือพี่เลี้ยง ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยมีความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 45 เมตร ส่วนที่ลึกสุดประมาณ 80 เมตร นั่นเหมาะสมกับภารกิจหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับทะเลด้านอันดามันมีความลึกเฉลี่ย 870 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 3,777 เมตร ประการสำคัญกองทัพเรือจะปฏิเสธได้หรือไม่ว่า มีบางโครงการที่จัดตั้งขึ้นมาแล้ว เพลี่ยงพล้ำ เรื่องการจัดหาอาวุธมาประจำการ หากครั้งนี้กองทัพเรือต้องการเรือดำน้ำจริงก็ต้องตอบสังคมให้ได้ว่า ซื้อมาแล้วจะ คุ้มค่ากับเงินภาษี ของประชาชนแค่ไหน จะเหมือนกับบางโครงการ ที่ทุกวันนี้เป็นได้เพียง พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ สำหรับเยี่ยมชมหรือไม่ เพราะหากประเมินถึงความคุ้มค่าของเม็ดเงินที่ หายไป กับการ ก่อให้เกิดประโยชน์ ก็คงยากที่จะยอมรับได้ อีกประเด็นที่อยากฝากคำถามให้กองทัพเรือช่วยชี้แจงให้ประชาชนผู้เสียภาษีชื่นใจหน่อยได้ไหมว่า...เครื่องบิน ซีแฮร์ริเออร์ มือสองที่ซื้อมาประจำการ วันนี้เครื่องบินฝูงนั้นยัง เหินเวหา ได้หรือไม่ หรือว่าจอดไว้ในโรงเก็บเพื่อรอเวลา ชั่งกิโลขาย ประการสำคัญปัญหาไม่ได้อยู่ที่การจัดหาอาวุธที่เหมาะสมเข้าประจำการ หากแต่เป็นกรรมวิธีในการจัดซื้อ ที่มักจะหนีข่าวฉาวเรื่อง ค่าคอมมิชชั่น ไม่พ้น ที่ผ่านมากองทัพต้องยอมรับว่ามีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นจริง บางโครงการ สินค้า กับ ราคา ไม่อยู่ในระดับที่สมดุล ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปกับสิ่งที่ไม่ควรจะเสีย การจัดหาอาวุธของเหล่าทัพเชื่อว่าสังคมเข้าใจในความจำเป็นต่อการพัฒนากองทัพ แต่ยอมรับไม่ได้ที่การจัดหาจะได้อาวุธไร้ประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่างบประมาณ ดังนั้นการจัดหาอาวุธจึงต้องขึ้นกับ สำนึก ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาทุกขั้นตอน เพื่อที่คนในสังคมจะได้ยอมรับโดยสิ้นข้อกังขา.
คมธนู
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=707&contentID=165824
--------------------------------------------------------------------------
ภายหลังจากที่เป็นงงอยู่พักใหญ่กับการข่าวการอนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 สุดท้ายก็ยืนยันได้ว่าไม่มีเรื่องเรือดำน้ำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนั้น ความรู้สึกของผู้คนที่สนับสนุนโครงการที่ตั้งหน้าตั้งตารอฟังมติคณะรัฐมนตรีในวันนั้นสุดจะบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ บอกได้คำเดียวว่าผิดหวังและหมดความอดกลั้น จึงเป็นที่มาของวันนี้ที่ต้องออกมาด้วยความรุนแรงและเด็ดขาดตามบุคลิกของทหารที่ควรจะเป็น แต่ยังคงแฝงไว้ด้วยข้อเท็จจริงและหลักวิชาการตามสไตล์สุภาพบุรุษทหารเรือ ตราบใดเมื่อโครงการฯ ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ฝ่ายที่คัดค้านก็ยังคงมีความพยายามโจมตีโครงการฯ ต่อไป เปลี่ยนรูปแบบจากโจมตีตรง ๆ ในประเด็นเหตุผลความจำเป็น งบประมาณ ความคุ้มค่า ภารกิจและความเหมาะสม และอื่น ๆ เท่าที่จะหาได้จากแหล่งข่าวทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ เมื่อไม่ได้ผลก็เปลี่ยนวิธีมาโจมตีทางอ้อม พยายามดึงเอาหน่วยข้างเคียง โครงการเก่าในอดีตทั้งหลายมาเป็นประเด็นตอกย้ำความเสื่อมเสีย หวังเพียงเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือในปัจจุบัน ซึ่งมันคนละเรื่องกันทั้งด้านตัวบุคคลที่นำเสนอโครงการ และด้านยุทโธปกรณ์ที่จัดหา อย่าเหมารวมโครงการเก่าในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยจะทำให้โครงการใหม่ในปัจจุบันไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมันเปรียบเทียบกันไม่ได้ เหมือนกับเรือดำน้ำกับเฮลิคอปเตอร์ ในทำนองเดียวกันฝ่ายที่สนับสนุนก็ต้องออกมาชี้แจงวันเว้นวันไม่รู้จักจบจักสิ้นในประเด็นเก่า ๆ เดิม ๆ บอกตามตรงว่าเบื่อแต่ต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ ปล่อยให้โจมตีอยู่ข้างเดียวก็เข้าทางฝ่ายตรงข้าม จึงขอความกรุณาผู้อ่านทุกท่าน ทั้งผู้ที่สนับสนุนและคัดค้าน โปรดนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้รับข้อมูลทั้งสองด้านอย่างเท่าเทียมกัน
กองทัพเรือมีหน้าที่หลักในการรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ร้อยละ 90 ของสินค้าเข้า-ออกประเทศใช้เส้นทางคมนาคมทางทะเล เรือสินค้าวิ่งเข้า-ออก จำนวน 15,000 เที่ยวต่อปี มูลค่าสินค้ารวม 6 ล้านล้านบาทต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับเรือดำน้ำ 6 ลำ พร้อมอาวุธ สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องฝีก และอะไหล่ ในราคา 6,900 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.000115 ในที่นี้ยังไม่รวมมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ประกอบด้วย น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ สัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว คุ้มหรือไม่คุ้มคิดกันเอง
เรือดำน้ำ U 206A มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงกำลังพลน้อยกว่าเรือผิวน้ำมาก เนื่องจากมีกำลังพลเพียง 23 นาย เมื่อเปรียบเทียบกับเรือฟริเกตที่มีกำลังพลเฉลี่ย 180 นาย หรือประมาณ 90 กว่าเปอร์เซนต์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงก็เช่นเดียวกัน เรือดำน้ำลาดตระเวนครั้งหนึ่ง ๓ สัปดาห์โดยไม่ส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เกิน 20,000 ลิตร (ความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิง 23,500 ลิตร) คุ้มหรือไม่คุ้มคิดกันเอง
เรือดำน้ำ U 206A มีอาวุธหลัก คือ ตอร์ปิโด แบบ DM2A3 จำนวน 8 ลูก ราคาลูกละ 56 ล้านบาทเศษ ซึ่งสามารถจมเรือขนาด 2,000 ตัน ราคาประมาณลำละ 1,695 ล้านบาท (ราคาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่ ทร.ต่อเองที่อู่ราชนาวีมหิดล) ได้ด้วยตอร์ปิโดเพียงลูกเดียว คุ้มหรือไม่คุ้มคิดกันเอง
การซ่อมบำรุงสำหรับการใช้งานของเรือดำน้ำ 4 ลำ ช่วงระยะเวลา 10 ปี ประมาณการเป็นเงิน 700 ล้านบาท เฉลี่ยลำละ 17.5 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ของราคาตัวเรือ คุ้มหรือไม่คุ้มคิดกันเอง
เรือดำน้ำ U 206A มีระวางขับน้ำบนผิวน้ำ 450 ตัน กินน้ำลึก 4.3 เมตร ขณะดำมีระวางขับน้ำ 520 ตัน ความสูงของเรือ 11.4 เมตร ต้องการความลึกของน้ำต่ำสุดขณะดำ 20 เมตร สภาพทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยมีความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ 45 เมตร ส่วนที่ลึกที่สุด 80 เมตร นอกจากจะดำได้โดยไม่มีข้อสงสัยแล้ว ยังมีความปลอดภัยอีกด้วย ส่วนด้านทะเลอันดามันความลึกเฉลี่ย 870 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 3,777 เมตร ถึงแม้จะมีความลึกมาก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปลึกขนาดนั้น เพราะลงไปได้ครั้งเดียว (ความลึกสุดขณะดำ 250 เมตร) แต่ถ้าเป็นผมนะจะดำแค่ไม่เกิน 70 เมตร ก็เพียงพอต่อปฏิบัติการทางยุทธวิธีได้อย่างอิสระแล้ว ที่สำคัญในโลกใบนี้มียานใต้น้ำไม่กี่ลำลงไปใต้น้ำได้เกิน 400 เมตร ที่แน่นอนที่สุดทหารเรือรู้พื้นที่อ่าวไทยและอันดามันทุกตารางเมตร พอ ๆกับทหารบกรู้พื้นที่ทางบกทุกตารางนิ้วบนแผ่นดินไทย คงไม่ต้องให้คนอื่นมาบอกว่าให้ดำตรงนี้นะดำได้ตรงนี้ดำไม่ได้ เพราะพื้นที่ที่บอกมาไม่ใช้พื้นที่ปฏิบัติการของเรือดำน้ำ มีเรือดำน้ำไว้ใช้ป้องกันฝั่งคงต้องบอกว่าย้อนหลังกลับไปก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ปัจจุบันเรือดำน้ำมีบทบาทกับเขตน้ำตื้นมากขึ้น (Littoral Warfare) แต่ไม่ใช่เป็นการป้องกันฝั่ง แต่เป็นการปฏิบัติการทางรุก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ คือ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Ohio ของสหรัฐฯ ระวางขนาด 16,000 ตัน มาจอดอยู่ที่ทะเลภูเก็ตสัปดาห์ที่แล้ว ระหว่างการฝึก Cobra Gold 2011 Phase II เป็นครั้งแรก ย้อนกลับไปที่ประเด็นเริ่มต้นย่อหน้า แล้วเรือดำน้ำใหญ่ขนาดนี้มันเข้ามาชายฝั่งน้ำตื้นได้อย่างไร? คงไม่ต้องบอกหมดทุกอย่าง เพราะถ้าบอกหมด ความลับ จะกลายเป็น ของลับ ในที่สุด http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=257516167619738&id=222887361082619
จากคุณ |
:
โขตาน
|
เขียนเมื่อ |
:
9 มี.ค. 55 08:40:05
|
|
|
|
 |