 |
จริงหรือไม่ที่กัญชาไม่ทำให้เสพติด?
ประเด็นเรื่องการเสพติดนั้น จริงอยู่ที่ว่าสาร THC และสารออกฤทธิ์อื่นๆในกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เสพติดน้อยกว่านิโคตินค่อนข้างมาก แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้จะไม่ใช่ทุกวัน อาจจะสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง หรือเดือนละครั้งสองครั้ง ก็สามารถทำให้เสพติดได้ ซึ่งภาวะเสพติดโดยไม่รู้ตัวเรียกว่า"ภาวะสมองติดยา" คือสมองจะค่อยๆปรับตัวและสมดุลของสารเคมีในสมองเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ อาจจะไม่รวดเร็วและรุนแรงเท่าการออกฤทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน(ยาไอซ์/ยาบ้า) หรือ MDMA (ยาอี) แต่เมื่อสารเคมีในสมองผิดปกติเป็นประจำ ในที่สุดสมองก็จะไม่สามารถกลับมาทำหน้าที่อย่างปกติได้ ทำให้ผู้เสพมีอาการถอนยาเกิดขึ้นเช่น อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ภาวะนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระวนกระวายใจ และต้องกลับมาพึ่งพายาเสพติดในที่สุด อาการถอนยาของกัญชาอาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภายใน 1 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ภายหลังหยุดเสพ
ที่มีคนหลายๆคนชอบพูดว่ากัญชาเป็นยาเสพติดชนิดเดียวที่"ไม่เสพติด" ความจริงนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากกว่าเข้าใจผิดครับ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในบรรดายาเสพติดส่วนใหญ่นั้น ส่วนมากร้อยละ 90 จะเป็น "สารเคมี/สารสังเคราะห์" แบ่งได้ 2 ประเภท
1. สารเสพติดที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีต่างๆ เช่น เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า/ยาไอซ์), MDMA (ยาอี), สารระเหย ฯลฯ
2. สารเสพติดที่สังเคราะห์ได้จากพืช เช่น มอร์ฟีน, เฮโรอีน, โคเคน พวกนี้จะอันตรายมากตรงที่เป็นสารเคมีที่สกัดออกมาแล้ว จึงออกฤทธิ์ได้รุนแรงและรวดเร็ว ก็เหมือนกับเวลาเราป่วยแล้วกินยาแผนปัจจุบันครับ
ต่างจากส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 ที่จะเป็นพวก "พืชธรรมชาติ" เช่น กัญชา, ยาสูบ, กระท่อม ฯลฯ ครับ กลุ่มนี้การนำมาใช้จะต้องใช้ปริมาณมากกว่า เพราะไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้ ผลดีก็คือฤทธิ์เสพติดรุนแรงน้อยกว่า (น้อยกว่าอีกประเภททุกตัวยกเว้นนิโคตินในบุหรี่) แต่หาซื้อง่ายกว่าและราคาถูกกว่า
สำหรับบุหรี่นั้นผู้ผลิตเค้ามีการใส่สารเคมีเข้าไปหลายอย่างเพื่อเสริมฤทธิ์ของ"นิโคติน" ต่างจากกัญชาที่ส่วนมากมักไม่ผสมอะไรเพิ่มมากนัก แต่อันตรายก็ยังมีอยู่ดีเนื่องมาจากการที่ไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้นี่ล่ะครับ ทำให้มันมีสารปนเปื้อนมาก กัญชามีสารเคมีกว่า 400 ชนิด และกว่าครึ่งจะเป็นพิษกับร่างกายเมื่อสูบควันจากการเผาไหม้เข้าไป โดยเฉพาะสาร THC ที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้ในปริมาณที่ต่ำมาก (10 mgต่อน้ำหนักตัว 1 กก.) ตรงข้ามกับการใช้เพื่อเสพซึ่งจะได้สาร THC ปริมาณมากกว่านี้หลายเท่า
จากคุณ |
:
pinspin
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มี.ค. 55 05:51:11
|
|
|
|
 |