 |
รบแบบพ้นระยะสายตาผมขอเรียก BVR นะ
เรื่องจรวด BVR ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าไม่ว่าจะเป็น R-77 หรือ AIM-120 ต่างก็เจอข้อจำกัดของเทคโนโลยีคล้าย ๆ กันคือ
ระยะยิงกับความเร็วของจรวดแปรผกผันกัน // จรวดยิ่งเร็วยิ่งใช้พลังงานมาก(BVR ต้องเร็วเพราะไปไกล) ในขณะที่เชื้อเพลิงมีจำกัด แรงต้านอากาศ // ในเพดานบินต่ำมีแรงต้านสูง (BVR จึงเอามายิงเครื่องบินที่บินต่ำ ๆ ได้ไม่ดี) ขนาดเรดาร์ในตัว // ที่จำกัดพอ ๆ กัน (ซึ่งมักจะเกิดปัญหาเมื่อเป้าหมายบินต่ำ และเจอเรดาร์ที่สะท้อนมาจากพื้นโลก (ground clutter)) BVR มีขนาดใหญ่ // ความคล่องตัวจึงต่ำครับ เลี้ยวได้ไม่ดีเท่าลูกระยะสั้นครับ
ในการใช้งานจริงระยะยิงที่บอกว่า 100 Km นั้นคือมีปัจจัยเยอะครับเพื่อให้ทำอย่างนั้นได้ไม่ว่าจะเป็น
1. คุณต้องยิงจรวดที่ระดับ 60,000 ft เพื่อให้แรงต้านอากาศน้อย แต่ก็มี O2 เพียงพอต่อการเผาไหม้ของจรวด ถ้ายิงที่เพดานบินต่ำ ๆ จรวดจะไปได้ไม่ไกลเพราะแรงต้านของอากาศ 2. ความเร็วสัมพัทธ์ระหว่างเป้าหมายกับเครื่องที่ทำการยิง ถ้าคุณยิ่งบินเข้าหาเป้าหมายยิ่งเร็วยิ่งดี จรวดก็ยิ่งไปไกลขึ้น แต่ในมุมกลับกันอีกฝ่ายก็ยิงคุณได้ง่ายขึ้นเช่นกัน 3. ถ้าอยู่ดี ๆ เป้าหมายเกิดเลี้ยวกลับแล้วหนี้แบบสุดชีวิตจรวดจะคลาดเป้าครับ (ข้อ 3 นี้อาจจะเข้าใจลำบากหน่อยลองดูใน Clip Python 5 จะเห็นระยะแดง ๆ มันหดสั่นลง)
จากคุณ |
:
LogiEng
|
เขียนเมื่อ |
:
13 มี.ค. 55 00:48:34
|
|
|
|
 |