คำถามที่ถามบ่อยมากคือ ทำไมลองกำจัดยุงในบ้านแล้วมันไม่หมดสักที
แม้ว่าเชื้อนี้จะดีมาก แต่มีข้อด้อยอยู่ครับ กล่าวคือมันไม่สามารถฆ่าลูกน้ำในบ้านเพื่อนบ้านได้
ดังนั้นการจะป้องกันไข้เลือดออกและโรคที่มากับยุง ต้องทำประกอบกันในหลายๆส่วนครับ ตั้งแต่
ก.ให้ความรู้ความเข้าใจกับวิธีการกำจัดยุง ความสำคัญของความร่วมมือในชุมชน และข้อดีข้อเสียของสารที่ใช้
เพราะมีไม่น้อยที่คนเข้าใจผิดคิดว่าการป้องกันยุงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและรัฐ ซึ่งความจริงมันคือหน้าที่ของชุมชนโดยที่เจ้าหน้าที่เป็นแค่ส่วนเสริม , บางคนไม่ทราบว่าหากใน1หมู่บ้าน มีเพียง1-2บ้านที่ไม่ยอมให้พ่นสารเคมีฆ่ายุงหรือไม่ยอมกำจัดลูกน้ำ ทั้งหมู่บ้านก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ข.ให้ความรู้เรื่องข้อดีข้อเสียและการใช้สารต่างๆในการกำจัดยุง
ปัญหาสำคัญในเมืองไทยคือ เราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสารเคมี ทำให้เรากลัวทุกอย่างที่เป็นสารเคมี กลัวทุกอย่างที่เป็นเชื้อโรค บ้านเราเลยเกิดปรากฎการณ์อีหลักอีเหลื่อ คนกลัวทรายอะเบทแต่ดันกล้ากินผักสดสลัดผักหรือลูกชิ้นข้างถนน คนกลัวยาพ่นฆ่าแมลงแต่ดันไม่กลัวบุหรี่ คนกลัวเชื้อชีวภาพที่มีความจำเพาะฆ่ายุงอย่างเดียว แต่ไม่กลัวที่จะเอาน้ำอีเอ็มมาล้างตากลั้วคอ
นอกจากนี้ก็มีปัญหาเช่นคนเอาจุลินทรีย์ฆ่ายุงหรือทรายอะเบทไปใช้เพื่อทำให้น้ำใส ซึ่งจริงๆมันไม่เกี่ยวกัน ... พอไม่ได้ผลก็กลายเป็นว่าทำให้เกิดความผิดหวัง เพราะไปคาดหวังในสิ่งที่มันทำไม่ได้
การบอกถึงวิธีการใช้ จะใช้เมื่อไหร่ ใช้ยังไง และหากใช้แบบใดผิดวิธี หากผิดวิธีแล้วแก้อย่างไร จะทำให้มั่นใจในการใช้มากขึ้น
วิธีการให้ความรู้ ถ้าไม่มั่นใจว่าเราจะชักชวนได้ อาจจะPrintบทความต่างๆที่มีในอินเตอร์เน็ทไปให้อ่านกันครับ
ค.ร่วมมือกันฆ่ายุงในคราวเดียว
การจะกำจัดยุงอย่างได้ผล ต้องทำพร้อมกัน เพื่อตัดวงจรยุงในชุมชนครับ หากเราฆ่าลูกน้ำพร้อมกันและพ่นยาฆ่าตัวเต็มวัยพร้อมกัน ลูกน้ำและตัวเต็มวัยจะหายไปพร้อมๆกันเป็นการตัดวงจรชีวิตของลูกน้ำในคราวเดียว หากบ้านใดไม่ทำ บ้านนั้นจะกลายเป็นแหล่งหลบภัยยุงไปทันที
ง.ค้นหาแหล่งยุงนอกบ้าน
บางหมู่บ้านชุมชนมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่อยู่นอกบ้านของแต่ละคน เช่นมีกองยางรถยนต์กองไว้ที่ที่รกร้าง มีกำแพงคันกั้นน้ำยาวๆหลังหมู่บ้าน แต่ละคนแต่ละบ้านต้องช่วยกันนึกว่ามีที่ใดอยู่นอกบ้านแล้วควรจะจัดการ เพื่อจะได้จัดการให้ครบในคราวเดียว
จ.ตั้งเป้าหมายในการกำจัด
การกำจัดยุง ไม่มีทางที่เราจะกำจัดให้หมดในคราวเดียว อย่างไรเสียต้องมียุงบินเข้ามาแน่ๆ จำนวนที่ปลอดภัยสำหรับการป้องกันไข้เลือดออกคือการกำจัดให้เหลือยุงน้อยกว่าจำนวนคน หรือให้ไม่โดนกัดเลยทั้งเดือนหรือทั้งสัปดาห์ , หากถึงเป้าแล้วก็ลดผ่อนการกำจัด(จะได้ไม่เปลืองของ) หากยังไม่ถึงเป้าก็ต้องลงมือให้หนักขึ้น (จะได้กำจัดได้คุ้มกับที่ลงแรงไป)
ฉ.วางแผนที่เหมาะสมในชุมชน
ปัญหามีต่างๆกันไปในแต่ละที่ครับ เช่นถ้าหากในหมู่บ้านมีบางบ้านที่ยังไงก็ไม่ยอมให้มีการพ่นยาในหมู่บ้าน สิ่งที่เราทำได้คือการฉีดไบก้อนบ้านใครบ้านมัน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบ้านใครบ้านมัน แล้วก็ติดมุ้งลวดทายากันยุง ... ยังไงยุงก็ลดลงแน่ๆแต่ต้องทำใจว่าจะไม่มีทางหมดไปเพราะมีบ้านที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์อยู่
หรือหากทุกบ้านพร้อมใจ เราก็ต้องวางแผนให้พร้อม เช่นนัดวันฉีดพ่นยาให้ดีแล้ววันนั้นก็เก็บเสื้อผ้าข้าวของสัตว์เลี้ยงเด็กเล็กให้พ้นจากการฉีดพ่นยา , หรือแม้แต่ในกรณีที่ในหมู่บ้านมีความเป็นธรรมชาติสูง(บ้านที่มีสวน มีนกมีกระรอก)การพ่นยาแบบหมอกควันจะไม่เหมาะสม ก็ควรใช้วิธีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพร้อมๆกันอย่างเข้มข้น และฉีดไบก้อนบ้านใครบ้านมัน รอให้ยุงมันลดจำนวนลงไปเอง
ทุกปัญหามีทางแก้ครับ ขอให้ทุกคนร่วมใจ แล้วภัยยุงร้ายจะหมดไปเอง
ฮ.ติดต่อขอความสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทรายอะเบท สามารถติดต่อขอได้จากหน่วยงานสาธารณสุขใกล้ๆ จะได้ไม่ต้องเปลืองเงินไปซื้อ
ติดต่อขอสนับสนุนคนพ่นยาจากหน่วยงานสาธารณสุขใกล้ๆได้ ส่วนค่ายาคิดว่าต้องออกเอง (เพราะในทางป้องกัน การพ่นยาฆ่ายุงไม่มีประโยชน์นักหากยังไม่มีไข้เลือดออกในชุมชน)
เชื้อB.t.i.ซื้อได้จากองค์การเภสัชกรรมครับ โทรไปก่อนไปซื้อก็ดี บางทีมันหมด แล้วมันแพงด้วย ตกลงกันไว้ก่อนก็ดีว่าใครจะจ่าย
นักการเมือง ... เพราะว่าบางทีประชาชนได้คำสัญญาโฆษณาแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดันได้แต่นโยบายไม่ยักได้งบประมาณ ก็ขอสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสถาบันนักการเมืองแทนครับ
ขอให้โชคดีมีเฮครับ