คุณ oryze ผมสนใจประเด็นนี้เช่นกัน จึงหาว่า การขอใช้อู่ตะเภา ของทั้งสองโครงการ ขอมาแบบไหน จะลองหาเรื่อยๆครับ ส่วนถ้าใครมีข้อมูลตรงนี้ก็ฝากแปะ
ที่เห็นส่วนใหญ่ ทั้งจากpantip หัวข้อข่าว ก็พูดโดยราวกับว่าทั้งสองโครงการแนบมาด้วยกัน จนเป็นโครงการเดียวกันด้วยซ้ำ ผูกมัดด้วยกัน การพูดของฑูตผ่านข่าว หรือแม้แต่ ข่าวต่างๆเอง เช่นกัน ไม่มีสักข่าวที่มองว่า สองโครงการนี้มันคนละเรือ่งเดียวกัน
ทั้งๆที่ถ้าเป็นสองโครงการ การดำเนินการย่อมต้องแยกโดยตัวเนื้อหาอยู่แล้ว
สื่อกลับไม่แยกการทำข่าว ของสองโครงการออกจากกันว่าเรื่องนี้อนุมัติ เรื่องนี้ไม่
แม้แต่ล่าสุดทาง TPBS ก็ไม่มีการพูดถึง HDAR ว่ายังคงอยู่หรือไม่
พูดแค่ว่า ท่านฑูต เข้้าใจแต่ไม่รับปากอีกว่า นาซ่า อาจจะกลับมาหรือไม่แค่นั้น
HDAR? ละ
ถ้าเอาแต่ NASA ไม่เอา HDAR ละ ทำได้ไหม ?
ประเด็นนี้เคยพูดถึงในสื่อหรือ ไม่ ?
ถ้าไม่แนบกัน ทำไมไม่แยกกันพูด แต่ทำไมถึงรวมเข้าด้วยกัน แล้วพูดแต่เรื่อง NASA
การไม่อนุมัติอู่ตะเภา คือ ต้องถอดNASA ออกหรือ ??
การพูดถึง NASA เพียงอย่าเดียว ทำไม ทหารสหรัฐ จึงตบเท้าเข้ามาอย่างคึกคัก
เพราะถ้าแยกพูด แล้วเอา HDAR โยนให้ ตลก. พิจรณา แล้ว เก็บ NASA ไว้
เราก็คงได้กินชิ้นเนื้อ เพื่อมนุษยชาติกัน โดยไม่ตั้งข้อถกเถียงกันอยู่
หรือ เพราะเรื่องมันบีบให้แยกกันไม่ได้ ใครมีข้อมูลก็ฝากแปะด้วยนะครับ
ปล spinsnake แก้ให้แล้วนะครับ ชอบพิมพ์ผิด บ่อย >.<
ข่าวเก่า 18 มิถุนายน 2012
ที่ประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง ไฟเขียวให้องค์การนาซา ใช้สนามบินอู่ตะเภา ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เมื่อเกิดภัยพิบัติ ปลอดประสพ บอก 3 เหตุผล ยืนยันเป็นเรื่องทางวิชาการ ไม่เกี่ยวกับการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น
วันที่ 18 มิถุนายน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงผลการหารือผู้นำเหล่าทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซา ขอใช้สนามบินอู่ตะเภา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ 2 เรื่อง คือ ให้ตั้งศูนย์ HADR (เอช-เอ-ดี-อาร์) อย่างไม่เป็นทางการที่สนามบินอู่ตะเภา และให้ตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาและฝึกอบรมการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เมื่อเกิดภัยพิบัติในระดับภูมิภาค โดยคณะทำงานจะมีผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศและกองทัพ ทำงานร่วมกับหลายประเทศในลักษณะพหุภาคี และต้องทำรายละเอียดข้อตกลงการเข้ามาของแต่ละประเทศ
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบเรื่องที่องค์การนาซา จะสำรวจสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยให้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารายละเอียดด้วย พร้อมยืนยันว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์
ที่มา http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/56-isranews/7236-2012-06-18-08-51-58.html