สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ 2411
เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกซึ่งปรากฏหลักฐานการสังเกตในประเทศไทย พระองค์ทรงคำนวณตำแหน่งปรากฏที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สุริยุปราคาจับคราสเต็มควงนานถึง 6 นาที 45 วินาที คราสครั้งนี้มีคณะนักดาราศาสตร์จากฝรั่งเศส และคณะของเซอร์แฮรี่เซ็นต์ ยอช ออร์ด ผู้ว่าราชการสิงคโปร์ เดินทางเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ บริเวณหว้ากอด้วยเช่นกัน ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 วันนั้นท้องฟ้ามีเมฆหนาทึบ ผู้สังเกตไม่สามารถเห็นสัมผัสแรกของสุริยุปราคาได้ เมฆมาจางหายไปตอนที่พระอาทิตย์ถูกบังไปบ้างแล้ว และท้องฟ้าเริ่มดีขึ้น ทำให้เห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาเค็มดวงชัดเจน จากนั้นเมฆก็มาปกคลุมอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ไม่เห็นสัมผัสสุดท้ายก่อนที่ดวงอาทิตย์จะสว่างเต็มดวง เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่คนทั่วไปเป็นอันมาก สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ นับว่ามีความสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สุริยุปราคาของโลกทีเดียว เพราะนับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องสเปกโตรสโคป ศึกษาไคโรนาจากดวงอาทิตย์ และทำให้ค้นพบธาตุฮีเลียม ขณะเดียวกันความพิเศษของสุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ก็คือ มีพวยแก๊สขนาดใหญ่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เห็นชัดเจน เป็นพวยแก๊สใหญ่ที่ถูกขนานนามว่า The Great Horn หรือเขาสัตว์ใหญ่นั่นเอง สำหรับพสกนิกรชาวไทย คราสครั้งนี้แสดงถึงพระราชปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์ไทย พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย และทางรัฐบาลได้จัดสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ขึ้น ณ ตำบลหว้ากอ เพื่อรำลึกถึงพระราชปรีชาสามารถในวงการดาราศาสตร์ ของพระองค์ท่านด้วย
จากคุณ |
:
ธรรมสถิต
|
เขียนเมื่อ |
:
15 ก.ค. 55 17:14:44
|
|
|
|