 |
การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก 1. ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้ หรือของเล่นเด็กด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอรอกซ์หรือไฮเตอร์) อัตราส่วน น้ำยา 20 ซีซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซีซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง 2. ล้างมือโดยฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่าย 3. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ และไม่มีแมลงวันตอม ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน และขวดนม ร่วมกับผู้อื่น 4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติและให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายป่วย 5. หลีกเลี่ยงการนำเด็กเข้าไปในสถานที่แออัดหรือเล่นของเล่นร่วมกันในที่สาธารณะ 6. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ และรีบล้างมือเมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมและเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ 7. ถ้าพบผู้ป่วย ให้รีบแจ้งสาธารณสุขในพื้นที่
: จากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (พศ.2545)
อาการ 1. มีไข้ 2-4 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (อาการคล้ายไข้หวัด) 2. มีผื่นแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมาที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น ผื่นจะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ 3. ภาวะแทรกซ้อนพบได้น้อยแต่รุนแรงคือ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก เยื่อหุ้มสมอง สมอง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้การหายใจและระบบไหลเวียนล้มเหลว อาจเสียชีวิตได้
: จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พศ.2555) และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (พศ.2545)
ขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2354-1836 สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3333 สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3194
จากคุณ |
:
นิสิต
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.ค. 55 13:07:16
|
|
|
|
 |