 |
 
ความคิดเห็นที่ 15 |
อันนี้ผมก๊อปมาให้อ่าน มีท่านนึงเขียนไว้ในเว็บกันอิน
"กันได้ซิครับ แต่ต้องมีการวิจัยเป็นเรื่องเป็นราว เพราะมันเกียวกับชีวิตคน ลองดูเสื้อเกราะพระเจ้าตาก เสื้อเกราะพระเจ้าตากของทีมนักวิจัยตำรวจไทย จังหวัดตาก มีต้นทุนการผลิตเพียงตัวละประมาณ 5,000 บาท เท่านั้น
ผลการทดสอบนั้นสามารถป้องกันกระสุนปืนพกได้ดังนี้ - ปืนพก ขนาด 38 สเปเชี่ยล - ปืนพก ขนาด 9 มม. - ปืนพก ขนาด 11 มม. - ปืนพก ขนาด 357 แมกนั่ม357 เจาะเกราะ - ปืนพก ขนาด 38 ซุปเปอร์ - ปืนพก ขนาด 44 แมกนั่ม - ส่วนปืนเล็กยาว M16 A1 ต้องใส่แผ่นอลูมิเนียมด้านหน้าเกราะกันกระสุน และใส่แผ่นสแตนเลสด้านหลังเกราะ
เสื้อเกราะพระเจ้าตากเป็นการนำฟิล์มเอกซ์เรย์มาใช้เป็นส่วนประกอบ ซึ่ง ฟิล์มเอกซ์เรย์ , แกนฟิล์มและแผ่นฟิล์ม ( Film Base ) ทำจากโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมีความเหนียว ยืดหยุ่น ทนไฟและโปร่งใสเป็นพิเศษ เจือสีฟ้าอ่อน แผ่นฟิล์มฉาบด้วยอิมัลชั่น ( Emulsion ) ชนิดเกลือเงิน ( AgBr) ทั้งสองด้าน และมีสารเคลือบทั้งสองด้านป้องกันรอยขูด ขีด และ Static Mark ฟิล์มเอกซ์เรย์เมื่อผ่านการใช้งานแล้ว ก็ยังคงสภาพเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก และเนื่องจากเป็นวัสดุเหลือใช้จึงมีราคาถูก อีกทั้งยังหาได้ในประเทศอีกด้วย
จากคุณสมบัติของฟิล์มเอกซ์เรย์ที่มีความหนียว ยืดหยุ่น ทนไฟ นี้เอง ฟิล์มเอกซ์เรย์จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาพัฒนาเป็นเสื้อเกราะ เราจึงเริ่มต้นที่จะใช้ฟิล์มเอกซ์เรย์ในการวิจัย แต่เนื่องจากฟิล์มเอกซ์เรย์เป็นโพลีเมอร์ จึงไม่ทนต่อความร้อนที่สูง ซึ่งกระสุนปืนเมื่อยิงออกมาแล้ว เกิดพลังงานจลน์ จากการหมุนของกระสุนปืนจนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ฟิล์มเอกซ์เรย์ละลาย นักวิจัยจึงได้ค้นหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพของฟิล์มเอกซ์เรย์ ให้มีความคงทน โดยการเคลือบ ethyleneoxideร ทำให้ฟิล์มมีความเหนียวขึ้น หลักการเสื้อเกราะพระเจ้าตาก ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลัก ได้แก่
๑. ช่วงชั้นแรกของ เกราะ จะทำหน้าที่ในการรับแรงกระแทกและกระจายแรงรวมทั้งทำลายหัวลูกปืน โดยการนำโพลีเมอร์ที่มีความเหนียว แบ็ง วางซ้อนสลับกับฟิล์มเอกซ์เรย์ จำนวนหนึ่ง ในช่วงชั้นนี้เมื่อลูกกระสุนมากระทบกับเกราะลูกระสุน จะมีการถ่ายทอดพลังงาน ไปยังเกราะตามแนวแรงที่กระทบแต่ละแผ่น อีกทำให้หัวกระสุน เสียสภาพลักษณะไปในที่สุด และเพิ่มพื้นที่ในการกระทบกับเกราะ ทำให้ความเร็วของหัวกระสุน ลดลงไป
๒. ช่วงชั้นที่สองของเกราะ จะทำหน้าที่ในการเหนี่ยวรั้งหัวกระสุนปืนให้หยุดเคลื่อนที่ โดยการนำโพลีเมอร์ ที่มีความเหนียว บาง หยืดหยุ่นสูง วางสลับกับฟิล์มเอกซ์เรย์จำนวนหนึ่ง ในช่วงชั้นนี้หัวลูกระสุนปืนเเมื่อมีพื้นที่สัมผัสเพิ่มขึ้นในการกระทบกับแผ่นฟิล์มนั้น แผ่นฟิล์มร่วมกับโฟลีเมอร์จะทำการหน่วงความเร็วของกระสุนปืนจนหยุด ในชั้นเกราะนี้
๓. ช่วงชั้นที่สามของเกราะ จะทำหน้าที่ซับความร้อนที่เกิดจากพลังงานจลน์จากการหมุนของลูกปืน นำทั้งสามส่วนมาเรียงต่อกัน
ผลของการวิจัย เสื้อเกราะพระเจ้าตากอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ขั้นต้นได้ทดสอบอยู่ในระดับ 2A ตามมาตรฐานการทดสอบ NIJ Standard 0101.04 (National Institute of Justice) สามารถป้องกันปืนพกได้ทุกชนิดซึ่งใช้เหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปราม สำหรับปืนเล็กยาวนั้น ต้องเสริมแผ่นโลหะเข้าไป ซึ่งผลการทดสอบสามารถหยุดลูกกระสุนปืน M16 A1 ได้ โดยการเสริมแผ่นอะลูมิเนียมด้านหน้าเกราะเพื่อลดแรงปะทะและดูดซับพลังงาน และผ่านเกราะกันกระสุน และเสริมแผ่นสแตนเลสด้านหลังเกราะเพื่อรับแรงและเศษสะเก็ดโลหะที่หลอมละลายกับหัวลูกกระสุนปืนไว้ ได้"
จากคุณ |
:
มดทอง
|
เขียนเมื่อ |
:
วันอาสาฬหบูชา 55 11:35:37
|
|
|
|
 |