อินเดีย เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นทวีป ด้วยความเร็วเท่าใด
|
 |
เมื่อราว 40-50 ล้านปีก่อนนั้น แผ่นเปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นยูเรเชีย เกิดเป็น “รอยย่น” หรือเทือกเขาหิมาลัยอันสลับซับซ้อน แผ่นเปลือกโลกอินเดียนั้นมีทั้งผืนน้ำและพื้นดิน แต่ต่อมาผืนน้ำเหือดแห้งไป และก้นทะเลก็ได้กลายเป็นเทือกเขา
ที่มั่นใจว่าภาพนี้น่าจะถูกต้องก็เพราะว่า หากดูภาพจากมุมสูงจะเห็นรอยย่นที่ว่าชัดเจน หากดูเนื้อภูเขา ก็จะพบหินตะกอนซึ่งบ่งบอกว่าที่แห่งนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน แถมยังพบซากฟอสซิลของสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า แอมโมไนต์ (ammonite) แถวๆ แม่น้ำ Kali Gandaki ในเนปาลอีกด้วย
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/84506
Geography of India
http://en.wikipedia.org/wiki/Geography_of_India
ภูเขาไกรลาสมีชื่อเป็นทางการว่า กังติ-สู-ชาน (Kangti-ssu-shan) ในปัจจุบันอยู่ในเขตทิเบต หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กัวลา มาน ฮาตา (Gurla mand hata) ตั้งอยู่บนเขตพื้นที่ไกรลาส (Kailasrange) ซึ่งมีช่องเขาเป็นเส้นทางไปได้จากทางอินเดีย
บางทีภูเขาลูกนี้ก็เรียกกันว่า ภูเขาเงิน อยู่ ทางตะวันตก ของทิเบต เพราะยามเมื่อหิมะที่จับขาวโพลนต้องแสงอาทิตย์ จึงดูประดุจแผ่นเงินซึ่งพวกอารยันนับถือมาตั้งแต่สมัยโบราณว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์
มีทะเลสาบมานัสโรวา (Manasrowar) ซึ่งเป็นที่นับถือ กล่าวกันว่า พระศิวะประทับอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ครั้งสร้าง โลก ซึ่งชาวอินเดียนับล้านๆ คนที่นับถือ ได้พยายามหาทางที่จะไปให้ถึงเพื่อทำการสักการบูชาให้ได้
http://bangkrod.** ไม่ใช่ลิควิด **/2011/10/blog-post_22.html
จากที่อ้างอิงข้างต้น การเคลื่อนตัวของแผ่นทวีปจะมีความเร็วแน่นอน หรือไม่แน่นอนเพียงใด การปะทะกันของแผ่นทวีป จะกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือรุนแรง
จากนิทานปรับปราของอินเดีย ที่กล่าวถึงป่าหิมพานต์เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ แต่จากหลักฐานที่ปรากฏทางเอกสาร ถ้านับเวลาการปะทะกันของแผ่นทวีปจะห่างจาหปัจจุบันเป็นล้านปี
ชาวอารยันน่าจะรู้จักเขาไกลาศก่อนแล้ว หรือเป็นนิทานของพวกฑราวิท หรือเผ่าพื้นเมืองอื่นเล่าต่อกันมา แล้วอารยันไปแต่งเสริมภายหลัง เพราะจากที่ฝรั่งวิจัยงานเขียนมหาภารตะ และรามายณะมีบันทึกหลังพุทธกาล เป็นสังคมฮินดูแล้วอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน
แต่เดิมมหาภารตะมี๘,๘๐๐โศลก แล้วถูกเพิ่มเติม๒๔,๐๐๐โศลก(ไม่นับเรื่องเสริม) จนไปแสนโศลก แต่ที่ตรวจนับประมาณ๗๘,๐๐๐โศลก
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Kulanit_Kanareugsa_Doctor/Fulltext.pdf
การเปลี่ยนทางธรรมชาติในด้านต่างๆหลังการปะทะกันของสองแผ่นทวีป ทำให้เกิดความเชื่อที่ต่างกัน เช่น
ยอดเขาไกรลาศหรือพระสุเมรุ สูงที่สุด อยู่แกนกลาง แต่สมัยต่อมามียอดเขาอื่นสูงกว่า มีสัตว์ พรรณพืชจำนวนมากที่หลากหลาย จากทวีปเก่าที่ยังไม่สูญพันธ์ปรากฏอยู่
แต่จากระยะเวลาการปะทะเกิดขึ้นนานมาก จนไม่น่าที่มนุษย์ในระยะเวล่สาม สี่พันปีจะมีการบอกเล่าต่อถึงกัน ยกเว้นกว่ามีประชากรอาศัยแต่เดิมหนาแน่นมาก
ซึ่งจากความหลากหลายทางภาษาของอินเดีย และสำเนียงที่มีความต่างกันมากแม้อยู่ห่างกันไม่มาก เช่นเดียวกับจีน(อุษาคเนย์สำเนียงยังฟังออก จึงน่าจะมาอาศัยไม่นานมาก) อาจพอสนับสนุนได้ว่า มีมนุษย์อาศัยบริเวณชมพูทวีปมาเป็นแสนปีแล้ว
รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วย ขอบคุณครับ
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
วันเข้าพรรษา 55 17:08:43
|
|
|
|