 |
แกนโลกมีโอกาสเคลื่อนตัว ..........
การวิเคราะห์ผลตรวจวัดโดยนักธรณีวิทยาสถาบัน Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, California ยอมรับว่าแกนโลก (Earth's axis) มีการเคลื่อนตัวราว 3 นิ้ว หรือ 8 เซนติเมตร ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่แกนจะกระดกเอียงมากกว่านั้น โดยไม่สามารถคาดเดากำหนดตัวเลขได้ล่วงหน้าว่าแกนโลกจะมีความสมดุลเมื่อใด
กรณีเกิดแผ่นดินไหวในประเทศชิลี ซึ่งมีความเพียงพอของวัตถุ (Material) ที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความสมดุลของมวลทั้งหมดของโลก ที่ส่งผลต่อแกนโลก โดยกรณีการเคลื่อนตัวของแกนโลกดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องใหม่
มีตัวเลขแสดงการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนตัวของแกนโลกปีละ 10 เซนติเมตรต่อปี ช่วง Ice Age rebound หรือ Continental rebound ครั้งใหญ่ ช่วงราว 11,000 ปีที่แล้ว ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ในธารน้ำแข็งพังทะลายลง คล้ายอุทกภัยใหม่จากการแตกของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก (Ice sheets breakup) เช่นในวันนี้
การที่ Crust (เปลือกโลกหนาราว 40-60 กิโลเมตร) และ Mantle (ชั้นที่อยู่ภายใต้ชั้นของเปลือกโลกลึกลงไปสู่แกนโลก หนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินแข็ง และแร่หลายชนิด) มิได้ถ่วงให้สมดุลกันก่อให้เกิดการคลายตัว (Relax) หรือการกระเด้งยกตัวขึ้น (Rebound) สะท้อนกลับขึ้นสู่ผิวโลกเป็นจำนวนมาก โดยขณะที่เกิดการสืบเนื่องเช่นนั้น ส่งผลให้ผลักดันแกนโลกให้เคลื่อนตัวไปตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิด Isostasy (ดุลยเสมอภาคของเปลือกโลก)
ภาพแบบจำลองแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนยกตัวสูงขึ้นของธารน้ำแข็งสีแดงคือบริเวณการเคลื่อนที่ของแผ่นธารน้ำแข็ง (Ice sheets) สีน้ำเงินคือ การท่วมล้นสู่มหาสมุทร ซึ่งเป็นแอ่งต่ำกว่าหลังจากน้ำแข็งละลาย ด้วยเหตุการยุบตัวและการแตกของธารน้ำแข็ง ซึ่งกำลังสร้างปัญหาต่อโลก .........
จากคุณ |
:
Kaokrabi Deawdaay
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.ย. 55 11:15:39
|
|
|
|
 |