 |
มติชน เทคโนโบยีชาวบ้าน
ประสิทธิ์ศิลป์ ชัยยะวัฒนะโยธิน วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 21 ฉบับที่ 460
เริ่มจากที่ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากิน เนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล เรียกว่า ปลานิลแดง
ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้นแต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของมันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวย เป็นสีชมพูอมแดง ซึ่งปลานิลแดงนี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้วพบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา
ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่างและอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น
เมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้นได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา ใช้เวลาเพียง3 เดือน ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน 14,509 ตัวคืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป
เนื่องจากปลาทะเล ตามธรรมชาติได้ลดปริมาณลงทุกปีและมีคุณภาพเมื่อถึงมือผู้บริโภคไม่คงที่ประกอบกับกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาคุณภาพเพื่อรักษาสุขภาพมีมากขึ้น ภาคเอกชนเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงได้ทุ่มเทงบประมาณและเวลาด้านการศึกษาพัฒนาสายพันธุ์ปลาเนื้อจนได้สายพันธุ์ปลาเนื้อเศรษฐกิจตัวใหม่ ในชื่อพระราชทานว่า “ปลาทับทิม”
โดยใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงในน้ำทะเล ใช้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพสูงมีการควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมตลอดการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะปลาทับทิมมีคุณสมบัติพิเศษที่จะเป็นปลาเนื้อเศรษฐกิจคือ หัวเล็ก สันหนามีปริมาณเนื้อมากถึง 40% ของน้ำหนัก เติบโตเร็ว เนื้อขาวแน่นละเอียดรสชาติดีมาก และมีโภชนาการสูง
ปลาทับทิมจึงเป็นปลาซึ่งเกษตรกรผู้มีทุนน้อยสามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีนต่างนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร
ลักษณะเด่น 9 ประการ ของปลาทับทิม
1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่น จึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น 2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์ 3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนสันหนามาก 4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย 5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาว ทำให้น่ากิน 6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 pp 7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก 8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ ได้ดี 9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา ให้ผลผลิตเฉลี่ย40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร
ปัจจุบันนี้ได้มีการนำสายพันธุ์ปลานิลแดงจากต่างประเทศที่มีคุณภาพเนื้อสูง และอยู่ในตระกูลเดียวกันมาผสมกับปลานิลแดงมีการคัดสายพันธุ์ให้เป็นพันธุ์แท้ ลดเปอร์เซ็นต์ของสีชมพูล้วนหรือบางตัวก็เจือสีเหลืองอ่อน ที่ส่วนครีบทุกครีบเป็นสีแดง สายพันธุ์ปลานิลแดงพันธุ์ใหม่นี้มีความแตกต่างจากปลานิลแดงที่เด่นชัดคือ
มีลำตัวหนากว่าซึ่งหมายถึงการมีเนื้อมากกว่าและคุณภาพของเนื้อมีความหวานและนุ่ม แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนหัวเล็กกว่าได้มีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลานิลแดงนี้ในกระชังตามริมแม่น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิตปลาที่สะอาดและปราศจากโคลน
ทั้งนี้เพราะมีเป้าหมายในการส่งออกปลานิลแดงไปยังต่างประเทศและเนื่องจากปลาพันธุ์นี้ มีลำตัวเป็นสีแดงชมพู สมกับชื่อว่า ปลาทับทิมซึ่งคุณภาพของเนื้อแตกต่างจากปลานิลอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทน โตเร็ว และมีน้ำหนักมาก
http://fws.cc/aggri4/index.php?topic=53.0
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลานิลได้ขยายการเลี้ยงไปทั่วประเทศ จนกลายเป็นปลาน้ำจืดที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ปริมาณการผลิตมากกว่า 200,000 ตัน ต่อปี ( ปี 2551 ) สร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นวงจรต่าง ๆ ตั้งแต่โรงเพาะฟัก บริษัทผลิตอาหาร เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ค้าปัจจัยการผลิต คนจับปลา ห้องเย็น ตลอดจนแม่ค้าในตลาดต่างๆ ขึ้นมากมายอย่างมหาศาล
ประเมินกันว่าความต้องการลูกพันธุ์ปลานิลเพศผู้ของประเทศไทยในปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป) จะมากกว่า 800 ล้านตัว ต่อ ปี ฟาร์มเพาะขนาดใหญ่ในประเทศรวมกันทั้งหมด ก็ยังไม่สามารถผลิตจนเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรได้ ในบางฤดูการผลิต
เมื่อปลานิลกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีขนาดตลาดใหญ่และมีมูลค่าสูง จึงเกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตต่างๆ ทั้งภาครัฐนำโดยกรมประมง และภาคเอกชนตั้งแต่โรงเพาะฟัก บริษัทผลิตอาหาร และเกษตรกรผู้เลี้ยง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี โตเร็วและได้ปริมาณเนื้อมากเกิดเป็นปลานิลสายพันธุ์ต่างๆ โดยมีรูปแบบการเลี้ยงหลัก ๆ คือ การเลี้ยงในบ่อดิน และในกระชังตามลำน้ำต่างๆ
"โดยธรรมชาติปลานิลเพศผู้จะโตเร็วกว่าเพศเมียมาก"
ทำให้เกิดความต้องการปลานิลเพศผู้ล้วนๆ ไปเลี้ยงมากกว่าปลานิลที่คละเพศ จึงมีผู้คิดค้นกระบวนการที่ทำให้ปลานิลเพศเมียกลายเป็นปลาเพศผู้ หรือไม่แสดงเพศเมีย ไม่มีไข่ ปลาจะโตเร็วขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีหลายวิธีด้วยกัน
วิธีการเปลี่ยนเพศปลาที่ได้รับความนิยม มีความปลอดภัยและใช้กันแพร่หลายทั่วโลก คือ การแปลงเพศปลานิลโดยการใช้ฮอร์โมนเพศผู้ (17 α Methyltestosterone ) มาผสมอาหารให้ลูกปลาวัยอ่อนที่ถุงไข่แดงเริ่มยุบหมด ในระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้ลูกปลาที่ได้รับฮอร์โมนกลายเป็นเพศผู้โดยถาวร
กระบวนการนี้มีต้นทุนการผลิตที่สูง จึงทำให้ลูกปลาที่ผลิตได้จะมีราคาสูงกว่าลูกปลานิลคละเพศพอสมควร แต่เมื่อนำมาเลี้ยงเป็นปลาเนื้อจะโตเร็ว และมีความคุ้มค่ากว่าการใช้ปลานิลคละเพศมาก ลูกพันธุ์ปลานิลเพศผู้จึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันประเทศไทยมีฟาร์มผลิตปลานิลและปลาทับทิมแปลงเพศกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งกระบวนการผลิตลูกปลาแปลงเพศในปัจจุบันยังจัดเป็นการผลิตแบบงานฝีมือ ที่ต้องใช้ความชำนาญและความละเอียดของผู้ปฎิบัติเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นขนาดของฟาร์มจึงไม่มีผลต่อคุณภาพของลูกปลา แต่จะมีผลในด้านปริมาณ
ไม่ว่าฟาร์มจะเล็ก หรือใหญ่ จึงสามารถผลิตลูกปลาได้ดีเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับระบบการผลิต ฝีมือของพนักงาน ความละเอียดและเอาใจใส่ทุกขั้นตอน ตลอดจนเป้าหมายการผลิตว่าต้องการผลิตปลานิลแปลงเพศสำหรับการเลี้ยงปลาในบ่อดิน หรือเลี้ยงในกระชัง (การผลิตสำหรับกระชังจะทำได้ยากกว่า ต้นทุนสูงกว่า)
http://www.siamtilapia.com/th/farm/nile.php
เริ่มต้นจากการรวบรวมสายพันธ์ปลานิลและปลาทับทิมจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 6 สายพันธ์ที่มีลักษณะเด่นในแต่ละด้านนำมาคัดเลือกโดยใช้หลักการคัดสรรแบบครอบครัว (Family Selection) โดยคัดลักษณะเด่นจากพ่อแม่พันธุ์แต่ละรุ่น บันทึกข้อมูลด้วยไมโครชิพ เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ และ การวิเคราะห์ผลที่แม่นยำ ด้วยหลักการสะสมลักษณะเด่นจากรุ่นสู่รุ่น
ในที่สุดจึงได้ปลานิล“ซุปเปอร์แบล็ค (SuperBlack)” และปลาทับทิม “ซุปเปอร์เรด” (SuperRed)รุ่นแรกเมื่อปี2552โดยปลานิลซุปเปอร์แบล็ค (SuperBlack) และซุปเปอร์เรด (SuperRed)มีความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี กินอาหารเก่ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่หลากหลาย ทั้งในพื้นที่น้ำจืด และน้ำกร่อย ทั้งในการเลี้ยงแบบบ่อดิน และกระชัง สามารถเติบโตได้เร็วโดยใช้ระยะเวลาการเลี้ยงที่สั้นลง
http://www.manitfarm.com/products/
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.ย. 55 13:44:07
|
|
|
|
 |