>คือ พอขึ้น 14 ค่ำแล้ว กระโดดไปแรม 1 ค่ำเลย
>เหมือนกันกับบางเดือน แรม 14 ค่ำแล้วไปขึ้น 1 ค่ำเลยครับ
มีครับ ที่ พอขึ้น 14 ค่ำแล้ว กระโดดไป แรม 1 ค่ำเลย!
แต่....
ไม่ใช่ปฏิทินจันทรคติไทยแบบราชการดั้งเดิมหน่ะครับ
จะเป็นปฏิทินจันทรคติไทยอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "ปักขคณนา"
ซึ่งยังมีใช้จนปัจจุบัน ในพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เช่น สายพระป่า เป็นต้น
ผู้ทรงประดิษฐ์คิดค้น คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
กำหนดเป็น กระดานหมาก ที่เรียกว่า กระดานปักขคณนา
มีวิธีเดินหมากตาม link นี้เลยครับ
http://xn--12ccg5bxauoekd6vraqb.com/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=1
>ขออนุญาต จขกท. สงสัยทำไมต้องเดือนแปดด้วยอ่ะครับที่สองหน
>เดือนอืนไม่ได้หรือ เพราะอะไรครับ
ปฏิทินจันทรคติไทย เหตุที่เลือกเติมเดือนพิเศษในปีอธิกมาสไว้เดือนแปดนั้น
ในความเป็นจริง ขณะกำหนดว่าปีใดเป็นปีที่มีเดือนอธิกมาส
ขั้นตอนกำหนดนั้น
จะดูว่า เดือนที่ถึงคราวเพิ่ม (คือเดือนอธิกมาส) นั้นได้ตกอยู่ระหว่าง
เดือนอ้ายถึงเดือน๑๒ ไทย ของปีนั้นๆแล้วหรือยัง
ถ้าใช่ ปีนั้นเป็นปีที่มีเดือนอธิกมาส และเรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
ถ้าไม่ใช่ ปีนั้นไม่เป็นปีที่มีเดือนอธิกมาส
แต่พอถึงคราวที่ใช้จริง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
จะวางเดือนพิเศษนี้ ให้มองเสมือนว่ากำหนดไปที่เดือน ๘ สองหน
เนื่องจากเหตุผลหลักๆ คือ 4 เดือนสุดท้ายนี้
(คือ หลังวันเพ็ญเดือน ๘๘ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๑๑ จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒)
ยังไงๆ ก็เป็น ฤดูฝน แห่งปีอธิกมาสนั้นๆเสมอ
การกำหนด เวลาเข้าพรรษาก็ไม่คาดเคลื่อนว่าอยู่นอกฤดูฝนครับ
สรุปง่ายๆ คือ ปีที่เป็นปีอธิกมาสนั้น
เดือนที่เพิ่มจริงๆแล้วจะตกเดือนไหนก็ได้ระหว่างปีจันทรคติ (เดือนอ้าย-เดือน๑๒) ของปีนั้นๆ
แต่ตอนกำหนดใช้ ให้กำหนดใช้ว่าเพิ่มไปที่เดือน ๘ สองหนอย่างเดียว
ก็เพียงพอที่จะได้ 4 เดือนสุดท้ายเป็นเดือนแห่งฤดูฝน
ทำให้ เมื่อกำหนด วันเพ็ญ เดือน ๘๘ เป็นวันอาสาฬหบูชา
และวันถัดไป วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘๘ เป็นวันเข้าพรรษา ได้ถูกต้องในฤดูฝนครับ