กัญชา (Cannabis/Marijuana)
ในวงการยาเสพติดเรียก "ปุ๊น" หรือ "เนื้อ"
ลักษณะทางกายภาพ
เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต
ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง
ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆตามง่ามของกิ่งและก้าน
ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบนอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว
ยังอาจพบในรูปของ น้ำมันกัญชา (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้ง
หรืออาจพบในลักษณะของ ยางกัญชา (Hashish) ซึ่งทำจากเกสรของดอกกัญชา
มีลักษณะเป็นผงละเอียดและมีส่วนที่เป็นยางเหนียวมากกว่ากัญชาชนิดอื่น เป็นต้น
วิธีการเสพ
ส่วนมากใช้วิธีการสูบควัน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า"บ้อง" อาจจะทำมาจากวัสดุต่างกันหลายชนิด เช่น บ้องไม่ไผ่, บ้องแก้ว ฯลฯ
โดยวิธีการสูบจะต้องนำกัญชาที่มักจะมาเป็นก้อนอัดแท่ง มาสับให้ละเอียด (เรียกว่า"ยำ")
เสร็จแล้วจึงนำผงกัญชาสับที่ได้มาอัดใส่ตรงส่วนจงอยที่ยื่นมาของบ้อง(ดังรูป) แล้วจุดไฟเผาโดยตรงไปที่ผงกัญชา
พร้อมๆกันนั้น ผู้เสพก็จะสูบอัดควันเต็มที่เข้าปอดให้ได้มากที่สุด (บางบ้องจะมีสายไว้ใช้สูบ)
หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการมวนบุหรี่สูบ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าวิธีแรก
นอกจากนั้นก็มีการกิน โดยกินได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เคยมีข่าวลูกอมและกาละแมสอดไส้ผสมกัญชา
รวมทั้งการผสมน้ำคั้นของกัญชาปริมาณเล็กน้อยลงไปในขนมของประเทศทางตะวันตกเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคติดใจกับรสชาติของขนม
การออกฤทธิ์และการเสพติด
กัญชาออกฤทธิ์แบบผสมผสานกัน ทั้งกระตุ้นประสาท กดประสาท และหลอนประสาท ( 3 in 1 )
สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชาเรียกว่า canabinoid มีอยู่ประมาณ 90 ชนิด
แต่ที่สำคัญมีเพียง 3 ชนิด คือ canabidiol canabinol และ tetrahydrocannabinal (THC)
ตัวสำคัญที่แสดงฤทธิ์ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC และเป็นสารตัวสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเสพติด
ปริมาณของ THC จะขึ้นกับแหล่งที่ปลูกและอายุของต้นกัญชาถ้าอายุน้อย THC จะมีมาก
และกัญชาจากประเทศแถบเอเชียจะมีคุณภาพดีที่สุด
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ได้ประมาณปริมาณของสาร THC ในกัญชาแต่ละรูปแบบดังนี้
ในกัญชาสดจะมีสาร THC ประมาณ 5%
ในยางกัญชาสกัด (Hashish) มีสาร THC ประมาณ 20%
และในน้ำมันกัญชา (Hashish Oil) มีสาร THC มากที่สุด ประมาณ 60%
โดยในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา
ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน เซื่องซึม และง่วงนอน
หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้
เมื่อเสพเข้าไปแล้วเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง?
ผลจะเกิดภายหลังการสูบประมาณ 2 - 3 นาที หรือหลังจากรับประทานแล้วประมาณ 30 - 60 นาที
- ตาแดง คออักเสบ คอแห้ง เหงื่อออกมาก และกัญชาทำให้เพิ่มการขับน้ำในร่างกายผู้เสพ ซึ่งทำให้ผู้เสพกัญชาหิวน้ำและต้องการของหวานๆ มาก ทำให้กินอาหารจุ
- มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ มือสั่น เท้าสั่น ทรงตัวไม่อยู่มีอาการผิดปกติทางสายตา ขาดการควบคุมตนเอง ซึ่งมีอันตรายอย่างยิ่งถ้าผู้เสพกัญชาขับรถยนต์ หรือเดินในท้องถนน
- เวียนศรีษะอย่างแรง หูอื้อ มีเสียงในหู ม่านตาขยายกว้างขึ้น มักอยู่ไม่สุข พูดพล่าม หัวเราะลั่น เอะอะ หรือแสดงตลกต่างๆ ความรู้สึกต่อความเจ็บปวดและประสาทสัมผัสไวมากขึ้น
- ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น มือเท้าเย็น และกัญชามีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนด้วย
- ความคิดสับสน การตัดสินใจและสมาธิเสีย อารมณ์ซึมเศร้าคุมสติไม่อยู่ เกิดอาการเป็นโรคจิตขึ้นได้ อาการต่างๆเหล่านี้ อาจจะมีอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือหลายสัปดาห์ก็ได้ ดังนั้น ผู้เสพกัญชาเป็นประจำมักหลีกเลี่ยงอาการเสื่อมทางจิตไม่พ้น จนกลายเป็นโรคจิตในที่สุด
ราคาแพงมั้ย?
กัญชาแห้งอัดแท่งในประเทศไทยตกกิโลกรัมละ 10,000 - 15,000 บาท
โดยที่ผู้เสพทั่วๆไปจะซื้อครั้งละประมาณ 400 - 1,000 บาทครับ น้อยกว่านี้ก็มี 200 - 300 บาทก็ซื้อได้ แต่ไม่ค่อยคุ้ม (1 ขีด ก็เยอะแล้วนะ)
จริงหรือไม่ที่กัญชามีพิษต่อร่างกายน้อยกว่าบุหรี่?
The Canadian government research ศึกษาพบว่าควันจากกัญชามีสารพิษมากกว่าในควันบุหรี่
เนื่องจากระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของมันนานกว่าและคงอยู่ในปอดได้นานกว่าควันบุหรี่
โดยทีมวิจัยจาก the government's health research department ประเทศ Canada
ใช้เครื่อง smoking machine ในการวัดค่าก๊าซอันตรายจากควันของกัญชาและบุหรี่
นักวิทยาศาสตร์จากทีมวิจัยพบว่าควันจากกัญชามีก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสูงกว่าในควันบุหรี่ถึง 20 เท่า
มีก๊าซไฮโดรเจน ไซยาไนด์และก๊าซไนโตรเจน อ็อกไซด์ซึ่งทำลายปอดและหัวใจมากกว่าควันบุหรี่ 5 เท่า
มีเพียงโอกาสในการเป็นหมันหรือมีภาวะบุตรยากเท่านั้น ที่ผู้สูบบุหรี่เสี่ยงกว่าสูบกัญชา
ยังไม่รวมถึงสารอันตรายอย่าง THC ที่หากได้รับในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องแล้ว จะมีอันตรายมากกว่านิโคตินมาก
นอกจากนั้นควันจากการสูบกัญชายังทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดลม อันเป็นหน้าด่านแรกของการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย
และยังทำลายภูมิต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสในปอดลดลง
จากการศึกษาการทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันในผู้สูบกัญชาพบว่าความสามารถในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมของเซลล์ภูมิคุ้มกัน killer cells และ T-cells ลดลง
เพราะกัญชามีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant)
จริงหรือไม่ที่กัญชาไม่ทำให้เสพติด?
ประเด็นเรื่องการเสพติดนั้น จริงอยู่ที่ว่าสาร THC และสารออกฤทธิ์อื่นๆในกัญชานั้นมีฤทธิ์ทำให้เสพติดน้อยกว่านิโคตินค่อนข้างมาก
แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้จะไม่ใช่ทุกวัน อาจจะสัปดาห์ละครั้งสองครั้ง หรือเดือนละครั้งสองครั้ง ก็สามารถทำให้เสพติดได้
ซึ่งภาวะเสพติดโดยไม่รู้ตัวเรียกว่า"ภาวะสมองติดยา" คือสมองจะค่อยๆปรับตัวและสมดุลของสารเคมีในสมองเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ
อาจจะไม่รวดเร็วและรุนแรงเท่าการออกฤทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน(ยาไอซ์/ยาบ้า) หรือ MDMA (ยาอี)
แต่เมื่อสารเคมีในสมองผิดปกติเป็นประจำ ในที่สุดสมองก็จะไม่สามารถกลับมาทำหน้าที่อย่างปกติได้
ทำให้ผู้เสพมีอาการถอนยาเกิดขึ้นเช่น อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ภาวะนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระวนกระวายใจ
และต้องกลับมาพึ่งพายาเสพติดในที่สุด อาการถอนยาของกัญชาอาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ภายใน 1 วัน ไปจนถึง 2-3 สัปดาห์ภายหลังหยุดเสพ
ที่มีคนหลายๆคนชอบพูดว่ากัญชาเป็นยาเสพติดชนิดเดียวที่"ไม่เสพติด" ความจริงนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนมากกว่าเข้าใจผิดครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าในบรรดายาเสพติดส่วนใหญ่นั้น ส่วนมากร้อยละ 90 จะเป็น "สารเคมี/สารสังเคราะห์" แบ่งได้ 2 ประเภท
1. สารเสพติดที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีต่างๆ เช่น เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า/ยาไอซ์), MDMA (ยาอี), สารระเหย ฯลฯ
2. สารเสพติดที่สังเคราะห์ได้จากพืช เช่น มอร์ฟีน, เฮโรอีน, โคเคน
พวกนี้จะอันตรายมากตรงที่เป็นสารเคมีที่สกัดออกมาแล้ว จึงออกฤทธิ์ได้รุนแรงและรวดเร็ว ก็เหมือนกับเวลาเราป่วยแล้วกินยาแผนปัจจุบันครับ
ต่างจากส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 ที่จะเป็นพวก "พืชธรรมชาติ" เช่น กัญชา, ยาสูบ, กระท่อม ฯลฯ ครับ
กลุ่มนี้การนำมาใช้จะต้องใช้ปริมาณมากกว่า เพราะไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้
ผลดีก็คือฤทธิ์เสพติดรุนแรงน้อยกว่า (น้อยกว่าอีกประเภททุกตัวยกเว้นนิโคตินในบุหรี่) แต่หาซื้อง่ายกว่าและราคาถูกกว่า
สำหรับบุหรี่นั้นผู้ผลิตเค้ามีการใส่สารเคมีเข้าไปหลายอย่างเพื่อเสริมฤทธิ์ของ"นิโคติน"
ต่างจากกัญชาที่ส่วนมากมักไม่ผสมอะไรเพิ่มมากนัก
แต่อันตรายก็ยังมีอยู่ดีเนื่องมาจากการที่ไม่ได้สกัดเอาเฉพาะสารเคมีที่ออกฤทธิ์มาใช้นี่ล่ะครับ ทำให้มันมีสารปนเปื้อนมาก
กัญชามีสารเคมีกว่า 400 ชนิด และกว่าครึ่งจะเป็นพิษกับร่างกายเมื่อสูบควันจากการเผาไหม้เข้าไป
โดยเฉพาะสาร THC ที่แพทย์ใช้รักษาคนไข้ในปริมาณที่ต่ำมาก (10 mgต่อน้ำหนักตัว 1 กก.)
ตรงข้ามกับการใช้เพื่อเสพซึ่งจะได้สาร THC ปริมาณมากกว่านี้หลายเท่า
ประโยชน์ทางการแพทย์
จากการศึกษาพบว่าการทำให้สารระเหยจากใบกัญชาแทนที่การเผามัน
จะช่วยให้สารออกฤทธิ์ของกัญชาเกิดประสิทธิภาพได้ โดยการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพิษที่เกิดจากการสูดดมควันของมัน
ผลการศึกษาอาจเป็นข่าวดีสำหรับคนที่ใช้กัญชาในทางการแพทย์
ประโยชน์ที่สำคัญของกัญชา
บรรเทาอาการเจ็บปวดจากหลายๆ โรค ใช้รักษาโรคต้อหิน
ใช้กระตุ้นความอยากอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์
และใช้เป็นยาแก้อาเจียนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด
แต่การสูบกัญชาไม่ใช่วิธีที่ดีของการให้ยานี้เพราะว่ามีผลเสียที่อันตราย
เช่นโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ
นอกจากการสูบแล้วบางคนยังใช้ใบกัญชามาใช้ในการทำเป็นชาหรือใส่ในเค้กเพื่อการบริโภค
แต่นั่นหมายความว่าสารสำคัญของมันจะถูกเมตาบอไลท์โดยตับมากกว่าที่จะผ่านเข้าไปในกระแสเลือดโดยตรงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการอื่นๆ ได้เน้นไปที่การสกัดส่วนประกอบสำคัญเช่น Tetrahydrocannabinol หรือ THC
และให้โดยตรงโดยทำให้อยู่ในรูปของยาเม็ดหรือสเปรย์ฉีดพ่นเข้าทางปาก
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายคิดว่าการสกัดแยกเอาส่วนประกอบออกมาจะไม่มีฤทธิ์ในทางรักษาได้เท่ากับการใช้พืชทั้งต้น
และมันก็เป็นการยากที่จะกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้ด้วยการให้กินยาเม็ด
Donald Abrams จาก University of California ซานฟรานซิสโกและทีมของเขาได้ตัดสินใจที่จะทำการศึกษาผลดีของเครื่อง 'Volcano'
ที่ใช้ทำให้สารระเหยเป็นไอ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เครื่องมือนี้จะทำการให้ความร้อนใบกัญชาที่อุณหภูมิระหว่าง 180-200 องศาเซลเซียส
ดังนั้นสาร THC จึงระเหยออกจากน้ำมันบนพื้นผิวของใบที่ยังไม่เกิดกระบวนการเผาใหม้
การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นถึงอันตรายของสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาขณะที่มีการสูบกัญชา
เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอ็อกไซม์ (carbon monoxide), เบนซีน (benzene) และสารที่เป็นต้นกำเนิดของสารพวก polycyclic aromatic hydrocarbons
หรือที่เรียกว่าสารก่อมะเร็ง (carcinogens) สารเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้
การศึกษาของ Abrams ได้ทำการเปรียบเทียบผลของการสูบและการใช้ไอระเหยจากกัญชาในคนเป็นครั้งแรก
เขากล่าวว่าเขาสามารถให้สารที่เทียบเท่ากับ THC เข้าสู่กระแสเลือดได้ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างวิธีการให้สาร 2 วิธีคือ
สาร THC ดูเหมือนว่าจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วการการใช้เครื่อง vaporizer และได้มีการเปรียบเทียบผลทางเภสัชวิทยาและสรีระวิทยา
ถึงแม้ว่ายังต้องการการศึกษาที่มากกว่านี้เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าทั้งสองวิธีนี้ให้ผลทางชีววิทยาที่เท่ากัน
การศึกษาแรกที่เน้นศึกษาถึงข้อดีของการใช้เครื่อง vaporizer กับกัญชาได้มีการตีพิมพ์มากว่า 5 ปีแล้ว
แต่ความก้าวหน้าของงานวิจัยเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีแหล่งวิจัยเพียงแหล่งเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กัญชาในสหรัฐอเมริกา
คือสถาบัน the National Institute on Drug Abuse (NIDA)
การวินิจฉัยทางกฎหมายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นี้แนะว่าสั่งให้ US Drug Enforcement Administration (DEA) และ NIDA
มีเอกสิทธิ์เพียงผู้เดียวทางกฎหมายในการผลิตกัญชาสำหรับใช้ในงานวิจัย
Laura Bell จาก Multiple Sclerosis Society ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า
ในสมาคมของเธอได้สนับสนุนการวิจัยเรื่อง cannabinoid ในคนเกี่ยวกับโรค multiple sclerosis
การสูบกัญชามีผลทำให้ได้รับสารเคมีที่เป็นพิษหลายตัว และยินดีที่จะรับงานวิจัยที่มีวิธีที่ดีกว่า ปลอดภัยกว่าในการได้รับสารดังกล่าว
ใบกัญชาไม่ได้เป็นสารเดียวที่เหมาะสำหรับทำให้ระเหย โดย vaporizer พืชสมุนไพรตัวอื่นเช่น ยูคาลิปตัส และคาโมไมล์ก็สามารถใช้ได้
หรือพืชอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติทางการแพทย์ของสารระเหยที่มีอยู่ในใบของมัน
โทษตามกฎหมาย
กัญชาจัดเป็นจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
ผลิต นำเข้า หรือส่งออกจำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่าย
- - - โทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปีและปรับตั้งแต่2 หมื่นบาทถึง 1 แสน 5 หมื่นบาท
ครอบครอง
- - - จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท
(กรณีมียาเสพติดให้โทษ ในประเภทที่ 5 ตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าเป็นการครอบครองเพื่อจำหน่าย)
เสพ
- - - จำคุกตั้งแต่ 1 ปีและปรับไม่เกิน 1 แสนบาท