ภัยพิบัติ 2012 ในทัศนะของ ดร.ก้องภพ, 26 ก.ย. 55
|
|
เพื่อนผมส่งบทความล่าสุดของ ดร.ก้องภพ มาให้เกี่ยวกับมุมมองเรื่อง ภัยพิบัติ ในปี 2012 นี้ เลยอยากจะเอามาแชร์กับคนอื่นๆ ในหว้ากอว่ามีความเห็นอย่างไรบ้างในแต่ละประเด็นครับ
ก่อนหน้านี้เพื่อนผมซึ่งอยู่ในกลุ่มเฟซบุ้คที่ติดตามเรื่องพิบัติภัยต่างๆ ได้ส่งข้อความหรือคลิปหรือบรรยายของหลายๆ คน (คนดังที่เราคุ้นๆ ชื่อกันนั้นแหล่ะ) ที่อ้างเรื่องพิบัติภัยใหญ่จากนอกโลก เช่นพายุสุริยะของก้องภพ เนี่ย ซึ่งผมก็ได้พยายามตอบอธิบายเค้าไปเยอะแล้ว ... แต่เค้าสงสัยว่าคนอื่่นอ้างไปเกินจริงหรือบิดเบือนความเห็น ดร. หรือเปล่า เลยไปหาความเห็นของตัวก้องภพเองมาถามโดยตรงเลย
ผมก็เลยขอความรู้จากท่านที่เก่งๆ ด้านอวกาศ-ธรณี-ฯลฯ ขอความกรุณาไม่ "ดราม่า" กับความเห็นของเค้านะ อยากได้ความเห็นในเชิงวิชาการครับ จะได้เอาไปสรุปให้เพื่อนผมฟังว่า ในทางด้านวิชาการแล้ว มีคนเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย มากน้อยแค่ไหน อย่างไรครับ
-----------------------------------------------------
ภัยพิบัติ 2012 ในทัศนะของ ดร.ก้องภพ, 26 ก.ย. 55
สถานการณ์โดยรวมของภัยพิบัติจะเป็นอย่างไร ------------------------------- "ระหว่างวันที่ 21 ธค ปีนี้ ถึงเดือน พค ปีหน้า เป็นช่วงที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ และเป็นช่วงที่หลายฝ่ายคาดว่าดวงอาทิตย์จะมีปฏิกริยาสูงสุดในรอบ 11 ปี (หรือเกินกว่านั้น) ก่อนที่จะเข้าเรื่องว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้นต้องปูพี้นฐานความเข้าใจให้กับผู้อ่านก่อนครับ
ในความเห็นและการศึกษาวิจัยส่วนตัว โดยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ขั้นพี้นฐาน โดยเน้นการสังเกตจากข้อมูลดิบที่ไม่มีการปรับแต่งในแต่ละกรณี คาดการณ์ และเก็บสถิติแบบละเอียดทั่วโลก และจำลองสถานการณ์ในห้องทดลอง พบว่า ดวงอาทิตย์มีความเชื่อมโยงกับโลก นอกจากเป็นเรื่องของความร้อนและแสงสว่าง ยังมีเรื่องของการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าและอื่นๆอีก การเปลี่ยนแปลงบนโลกที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์จะอยู่ในรูปแบบของความแปรปปรวนทางสภาพอากาศ ปฏิกริยาเปลือกโลก กระแสไฟฟ้าใต้ผิวโลก สนามแม่เหล็ก และอื่นๆ เหตุการณ์หลายๆอย่างที่กล่าวมาข้างต้นสามารถจำลองสถานะการณ์ขึ้นได้ในห้องทดลองขนาดเล็กบนโลก โดยใช้การจุดฉนวนโดยพลังงานทางไฟฟ้า พบว่ามีคุณสมบัติเป็นไปตามที่พบในธรรมชาติ
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีแผ่นดินไหว จะพบว่ามีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในบริเวณดังกล่าวมากเป็นพิเศษ มีการบีบอัดของชั้นบรรยากาศ ความแปรปรวนของปริมาณอิเล็คตรอน ใน Ionosphere มีความร้อนเกิดขึ้นเป็นจุดเล็กบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว รอบๆ โลกจะพบว่าเมฆมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนไปจากปกติ และลอนคลื่น และอื่นๆ
ในกรณีของการพายุก่อตัวจะพบว่าสนามแม่เหล็กจะเข้มบริเวณกลางพายุ มีการหมุนตามแนวสนามแม่เหล็กเหนือใต้ มีปรากฏการณ์ฟ้าแลบฟ้าผ่า มีสนามไฟฟ้าเกิดขึ้นที่ผิดปกติจากบริเวณอื่นๆ ในกรณีการลอยตัวของเมฆและการเกิดฝนตกจะพบว่ามีปรากฏกาณ์ทางไฟฟ้าไปเกี่ยวข้องเช่นกัน
จากตัวอย่างภัยธรรมชาติข้างต้นบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับปฏิกริยาทางไฟฟ้า ซึ่งมีผู้วิจัยคำนวณพลังงานทั้งหมดที่เกิดจากไฟผ่าในเหตุการณ์ใหญ่ๆ พบว่าไม่สามารถหาที่มาของพลังงานทั้งหมดได้ถ้าดูเฉพาะปัจจัยภายในโลกเพียงอย่างเดียว ในขณะที่โลกเองก็มีการถ่ายเทพลังงานกับอวกาศเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน เนื่องจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์จะส่งพลังงานออกมาในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทางวิทยาศาสตร์มักจะเรียกว่า proton event ซึ่งเกี่ยวข้องกับประจุไฟฟ้าบวก จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าพลังงานที่จุดฉนวนให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจะมาจากนอกโลกแบบเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า บวกกับคุมสมบัติต่างๆเฉพาะจุดภายในโลก ซึ่งจะช่วยบอกได้ว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติจะออกมาในรูปแบบใดในบริเวณดังกล่าว
ในช่วง solar maximum เป็นช่วงที่มีความแปรปรวนทางไฟฟ้าในอวกาศสูงและสามารถสังเกตได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียม ผมจึงใช้โอกาสนี้ในการนำปฏิกริยาดวงอาทิตย์เป็นลางบอกเหตุถึงภัยธรรมชาติบนโลก เพราะปฏิกริยาดวงอาทิตย์ส่งพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแปรปรวนของอวกาศรอบๆโลก จากการสังเกตุพบว่าภัยธรรมชาติจะเกิดมากเป็นพิเศษในช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยาสูง โดยที่ปฏิกริยาดวงอาทิตย์จะเกิดก่อนเหตุการณ์บนโลกบ่งบอกว่าดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันในช่วงเวลาระยะสั้น (ภายในไม่เกินหนึ่งสัปดาห์) ส่วนในช่วง solar minimum นั้นยังต้องใช้เวลาศึกษาวิจัยกันต่อไปเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หรือการค้นพบสิ่งใหม่ๆในอนาคต
สำหรับผลกระทบสำหรับประเทศไทยจากพลังงานนอกโลกนั้น ก็คงจะมีรูปแบบอย่างที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลัก แต่อาจจะภัยอื่นมาเกี่ยวข้องได้เช่นเรื่องอันตรายจากรังสีนอกโลก เนื่องจากประเทศไทยอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีความชื้นสูง มีฝนมาก จึงมีความเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนเกี่ยวกับน้ำ มากกว่าภัยธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ ถ้ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่จะมีแนวโน้มจะเกิดบริเวณอื่นแต่อาจจะส่งผลเป็นซึนามิ หรือ storm surge มาที่ประเทศไทยได้ ส่วนปัญหาด้านระบบไฟฟ้านั้นก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ที่เกี่ยวข้องกับรังสี และพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าแบบฉับพลัน อาจจะส่งผลให้หม้อแปลงระเบิด หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ขัดข้องชั่วขณะหรือถาวรได้ ในกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียรนั้น ถ้าไม่มีระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายในยามฉุกเฉินนานเพียงพอก็จะเกิดปัญหากัมมันตรังสีรั่วไหลอย่างที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นในปี 2011 ได้ ซึ่งถ้าโรงงานนั้นตั้งอยู่ในทิศทางกระแสลมที่พัดมาทางประเทศไทยก็จะได้รับผลกระทบเรื่องรังสีมาเป็นพิเศษ"
แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 55 10:26:08
จากคุณ |
:
JD300
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ก.ย. 55 10:22:38
|
|
|
|