Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ทำไมบางคนกินยาแล้วออกฤทธิ์แรง บางคนออกฤทธิ์น้อย --- มารู้จักเภสัชพันธุศาสตร์กันเถอะ (Pharmacogenetics) --- ติดต่อทีมงาน

                 ==========---มารู้จักเภสัชพันธุศาสตร์กันเถอะ---===========


หลายคนคงเคยป่วย ไม่เคยป่วยญาติหรือเพื่อนก็ต้องป่วย

            อาจจะเห็นได้ว่ายาหลายชนิด คนบางคนอาการเหมือนกันเลย แต่ยาออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน ได้ยาแก้ปวดไปเท่าๆคนอื่น แต่กลับไม่หายปวดทั้งๆที่สเกลการปวดก็เท่าๆคนอื่น หรือได้รับยาไปแล้วยากลับเป็นพิษก็มี

           ปัจจัยสำคัณที่มีมากับตัวเราแต่กำเนิดคือพันธุกรรมครับ การออกฤทธิ์ของยาเกี่ยวกับพันธุกรรมอย่างไร ในเมื่อยามันเป็นแค่สารเคมีมาดูกัน

           เมื่อยาหรือสารเคมีเข้าไปในร่างกายจะเกิดกระบวนการที่เรียกว่าเภสัช จลนศาสตร์ หรือ Pharmacokinetic ถ้าเป็นมุมมองทางพิษก็จะเรียกว่า Toxicokinetic ซึ่งจะมีขั้นตอนหลักๆ 4 ขั้นตอนครับ เรียกเป็นตัวย่อว่า ADMEx คือ


1. กระบวนการการดูดซึม (Absorption) จะเป็นกระบวนการที่ยาหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายครับ

    เช่น

    วิตามินบี 12 จะดูดซึมได้ดีในกระเพาะอาหารต้องมี intrinsic factor คนที่ขาด intrinsic factor ก็จะดูดซึมวิตามินบี 12 ได้น้อยมาก กลายเป็นโรคที่เรียกว่า Pernicious anemia

   แคลเซียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ต้องใช้วิตามินดี ดังนั้นหากขาดวิตามินดี แคลเซียมก็จะถูกดูดซึมไม่ได้

   เซลลูโลสร่้างกายดูดซึมไม่ได้ ดังนั้นมันก็ไม่เข้าสู่กระบวนการถัดไป

    เป็นต้น


2. การกระจายทั่วร่างกาย (Distribution) เมื่อมันดูดซึมได้แล้ว ต่อไปร่างกายก็จะแพร่กระจาย การแพร่กระจายก็จะเป็นกระบวนการหนึ่งของร่างกายครับ ยาหรือสารเคมีเวลาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะอาศัยกระบวนการที่แตกต่างกันในการ กระจายไปครับ

   เช่น

   วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นมันจะไม่ละลายไปกับเลือด (หมายถึงซีัรัม) มันจำเป็นต้องพาไปกับโปรตีนตัวพามันจึงจะไปที่ต่างๆได้

   ตะกั่วเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะชอบไปสะสมที่กระดูกและเหงือก ดังนั้นคนที่ตะกั่วเป็นพิษมักจะเห็น lead line

   ไอโอดีนเมื่อเข้าูสู่ร่างกายแล้วเป้าหมายสำคัญคือต่อมไทรอยด์ ดังนั้นเขาจึงใช้ไอโอดีนกัมมันตรังสีในการวินิจฉัยต่อมไทรอยด์หรือรักษา มะเร็งที่ไทรอยด์ได้

    เป็นต้น


3. เมแทบอลิซึม (Metabolism) หรือที่เรียกว่าไบโอทรานสฟอร์เมชัน (Biotransformation) จะเป็นส่วนที่เราสนใจในกระทู้นี้จึงจะแยกไปพูดต่างหาก

4. การขับออก (Excretion) สารเคมีหรือยาต่างๆเวลาจะกำจัดออกจากร่างกายนั้นมีกระบวนการขับออกแตกต่าง กัน ขึ้นอยู่ักับความสามารถในการละลายน้ำ ขนาดของโมเลกุล รวมถึงประจุและความเป็นกรดด่างของสารนั้น

   เช่น

   สารที่มีไม่สามารถโกลเมอรูลัสจะไม่สามารถขับออกทางไตได้ ดังนั้นการขับออกทางปัสสาวะจะไม่ใช่ช่องทางหลัก

   สารที่จับกับโปรตีนในเลือดอยู่ ความเร็วในการขับก็จะไม่เท่ากับสารที่อยู่ในรูปอิสระ

   เป็นต้น

จากคุณ : CuSO45H2O
เขียนเมื่อ : 13 พ.ย. 55 09:42:25




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com