 
ความคิดเห็นที่ 32 |
ลองอ่านนี่ดู แล้วค่อยตัดสินว่าพรมแดนบ้านร่มเกล้าไทยผิดรึลาวผิด
พรมแดนไทย-ลาว : สนธิสัญญาและแผนที่ Boundaries of Siam/Thailand-Laos : Treaties Boundaries and Maps
อนุสัญญาว่าด้วยเส้นเขตแดนที่แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่ทำขึ้นเมื่อไทยยอมยกพระตะบอง เสียมราฐ (เสียมเรียบ) ศรีโสภณ เพื่อแลกกับเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการแก้ไขปรับปรุงฉบับก่อน โดยในสัญญาแนบท้ายนั้นข้อ 2 เขียนว่า
"เขตรแดนเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งแต่ทิศใต้ในแม่น้ำโขงที่ปากน้ำเหืองแล้วต่อไปตามกลางลำน้ำเหืองนี้จนถึงที่แรกเกิดน้ำนี้ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาเมี่ยงต่อนี้เขตรแดนไปตามเขาปันน้ำตกแม่น้ำโขงฝ่ายหนึ่งกับตกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกฝ่ายหนึ่ง จนถึงลำแม่น้ำโขงที่เรียกว่าแก่งผาไดตามเส้นพรมแดนที่กรรมการปักปันเขตรแดนได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม รัตนโกสินทรศก 124 คฤสตศักราช 1906"
ความในสัญญาฉบับนี้เองที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในการตีความระหว่างไทยและลาวในกรณีของบ้านร่มเกล้า ตามความสนธิสัญญาพื้นที่ตอนนี้ให้ถือเอาแม่น้ำเหืองเป็นเส้นเขตแดน แต่ถ้อยคำในสนธิสัญญามีเพียงนั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดในภูมิประเทศจริงว่าหมายถึงที่ใดกันแน่ ด้วยว่าแม่น้ำเหืองนั้นแบ่งเป็นสองสาย และมีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า แม่น้ำเหือง และ เหืองง่า อีกสายหนึ่ง ฝ่ายลาวอ้างว่าเขตแดนคือเริ่มแม่น้ำเหืองไล่ขึ้นไปยังแม่น้ำเหืองป่าหมันและขึ้นไปหาต้นน้ำที่ภูสอยดาว ไม่ควรจะใช่แม่น้ำเหืองง่า เพราะในภาษาลาวนั้น คำว่า “งา (สำเนียงลาว) หรือง่า (สำเนียงไทย)” แปลว่ากิ่ง แม่น้ำเหืองง่า ก็คือสาขาของแม่น้ำเหือง โดยหลักก็ควรใช้แม่น้ำสายหลัก ไม่ควรใช้แม่น้ำสาขา แต่ฝ่ายไทยโต้แย้งว่า ข้อความในสนธิสัญญาให้เลือกเอาแม่น้ำเหืองสายที่มีต้นกำหนดที่ภูเมี่ยง ในภูมิประเทศจริง แม่น้ำที่มีต้นกำเนิดที่ภูเมี่ยงคือ แม่น้ำเหืองง่า ไม่ใช่เหืองหรือเหืองป่าหมัน ดังที่ลาวกล่าวอ้าง แต่แม่น้ำเหืองหรือเหืองป่าหมันนั้นมีต้นกำหนดที่ภูสอยดาว ซึ่งสนธิสัญญาได้กำหนดชัดแล้วว่าต้นน้ำเป็นภูเขาเมี่ยง ไม่ใช่ภูสอยดาว แต่ลาวเห็นว่า ภูสอยดาวและภูเขาเมี่ยงนั้นเป็นภูเขาลูกเดียวกัน
แต่ในกรณีของบ้านร่มเกล้า ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก-ไซยะบุรี นั้น แผนที่ฉบับมาตราส่วน 1 : 200,000 และฉบับอื่นๆ ที่ไทยและลาวมีใช้ในหน่วยงานภายในของตนต้องตรงกันว่า เส้นเขตแดนนั้นไปตามแม่น้ำเหืองและเหืองง่าขึ้นไปถึงต้นน้ำที่ภูเขาเมี่ยงตามที่ไทยกล่าวอ้าง แต่ในการเจรจาเรื่องเขตแดน ลาวกลับไม่ได้อ้างแผนที่ฉบับใดๆ หากแต่ยึดถ้อยคำในสนธิสัญญาตามการตีความของลาวเองเป็นหลัก (วศิน ธีรเวชญาณ, 2535) (โปรดพิจารณาแผนที่ 1 : 200,000 ระวางน้ำเหืองประกอบ)
แก้ไขเมื่อ 20 พ.ย. 55 14:38:05
จากคุณ |
:
zodiac28
|
เขียนเมื่อ |
:
20 พ.ย. 55 14:37:38
|
|
|
|