สวัสดีครับเพื่อน ๆ ชาวหว้ากอทุกท่าน หัวข้อ ทำความเข้าใจเรื่องไตเตรชั่น ตอนนี้เป็นตอนที่สามแล้วครับ
เมื่อสองกระทู้ที่แล้วผมได้กล่าวถึงหลักการคำนวณ และสร้างเส้นโค้งไตเตรชั่น ของ (สารเคมีในบิวเรต, สารเคมีใน
ขวดแก้วรูปชมพู่): (กรดแก่, เบสแก่), (เบสแก่, กรดแก่), (กรดอ่อน, เบสแก่), (เบสแก่, กรดอ่อน), (เบสอ่อน, กรดแก่),
(กรดแก่, เบสอ่อน) ซึ่งกรดหรือเบสอ่อนที่ใช้แตกตัวให้โปรตอน หรือไฮดรอกไซด์ไอออน ได้อย่างละหนึ่งตัวเท่านั้น
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X2596320/X2596320.html
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X2601720/X2601720.html
กระทู้นี้เราจะกล่าวถึงการไตเตรตกรดหรือเบสที่แตกตัวได้มากกว่าหนึ่งครั้ง (polyfunctional acids / bases), รวมถึง
สารเคมีที่มีคุณสมบัติ amphiprotic คือทั้งให้และรับโปรตอนได้ อย่างเช่น H2PO4- และ HCO32- อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้คือ การคำนวณค่าอัลฟ่า สำหรับพิจารณาความ
เข้มข้นสัมพัทธ์ของคู่กรดเบสระหว่างกระบวนการไตเตรต ครับ
ตอนท้ายของกระทู้เราจะดูความสามารถของโปรแกรม Titration Version 3.xls ซึ่งถูกพัฒนาให้สามารถคำนวณ
และสร้างเส้นโค้งไตเตรชั่น ในกรณีต่าง ๆ ที่พิจารณานี้ให้เราได้ครับ เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้
จาก TrialTempHere_2@hotmail.com เช่นเคย โดยใช้ password: download สิ่งที่เพื่อน ๆ จะช่วยให้โปรแกรม
สมบูรณ์ขึ้นก็คือ รายชื่อของกรดอ่อนชนิดอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในโปรแกรม รวมถึงค่า Ka ด้วยครับ รายชื่อของ amphiprotic
species บางตัวอาจไม่ถูกต้อง ถ้าเพื่อนคนใดมีคำแนะนำก็อีเมลล์มาได้ที่ Practical_x_2@hotmail.com ครับ
ก่อนจะพิจารณาเส้นโค้งไตเตรชั่น เราลองมาแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ polyfunctional acids/bases กันครับ
โจทย์ข้อที่หนึ่ง
คำนวณค่า pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ที่ประกอบด้วย กรดฟอสฟอริก (H3PO4) 2.00 M
และ โปแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KH2PO4) 1.50 M เมื่อเราสมมุติให้ A แทนฟอสเฟตไอออน จะเขียนสมดุลเคมีได้ดังนี้
1) H3A + H2O <-----> H2A- + H3O+
2) H2A- + H2O <-----> HA2- + H3O+
3) HA2- + H2O <-----> A3- + H3O+
จากสมการ (1); Ka1 = [H2A-][H3O+]/[H3A]
จากสมการ (2); Ka2 = [HA2-][H3O+]/[ H2A-]
จากสมการ (3); Ka3 = [A3-][H3O+]/[HA2-]
ให้ a = [H3A], b = [H2A-], c = [HA2-], d = [A3-],
p = [H3O+]
เขียนสามสมการข้างต้นใหม่ได้
Ka1 = bp/a, Ka2 = cp/b, Ka3 = dp/c, Ka1 = 7.11 x 10-3
Ka1*Ka2 = cp2/a, Ka2 = 6.32 x 10-8
Ka1*Ka2*Ka3 = dp3/a, Ka3 = 4.50 x 10-13
a = a
b = a*Ka1/p
.(4)
c = a*Ka1*Ka2/p2
(5)
d = a*Ka1*Ka2*Ka3/p3
..(6)
เนื่องจากเรามี 5 ตัวแปร จึงต้องการสมการที่ independent ซึ่งกันและกัน 5 สมการ
สมการ (4), สมดุลมวล; ความเข้มข้นของแหล่งฟอสเฟต = a + b + c + d
.(7)
สมการ (5), สมดุลประจุ; ความเข้มข้นของแหล่งประจุบวก + p = b + 2c + 3d + 1e-14/p
..(8)
ให้ความเข้มข้นของแหล่งฟอสเฟตเป็น K4 = 2 + 1.5 = 3.5
และความเข้มข้นของแหล่งประจุบวกเป็น K5 = 1.5
เราจัดรูปสมการ (7) และ (8) ใหม่ได้เป็น
a = K4 / (1 + K1/p + K1*K2/p2 + K1*K2*K3/p3)
.(9)
p = aK1/p + 2*a*K1*K2/p2 + 3*a*K1*K2*K3/p3 + 1E-14/p K5
(10)
เราแก้สมการ (6) ด้วย numerical method ได้ โดยสุ่มค่า p ในสมการ (9) เป็น 1E-7
เพื่อหาค่า a ที่จะใส่ลงไปในสมการ (10) เพื่อคำนวณค่า p ออกมาอีกครั้ง ทำด้วยกระบวนการ
Iteration กระทั่งการเปลี่ยนแปลงค่า p น้อยกว่า 1E-12
a = 1.990623 M, b = 1.509367 M, c = 1 x 10-5, d = 4.88 x 10-6,
p = 9.38 x 10-3 M, และ pH = 2.03
ในกรณีที่เราไม่มีคอมพิวเตอร์ อาจใช้วิธีประมาณค่าเอา ว่า a มีค่าประมาณ 2 M และ b มีค่าประมาณ 1.5 M
จาก b = a*Ka1/p; p = a*Ka1/b = 2*7.11 x 10-3/1.5 = 9.48 x 10-3
ดังนั้นค่า pH = 2.02
แต่เพราะตอนนี้เราใช้คอมพิวเตอร์วิธีประมาณค่าจึงไม่จำเป็นครับ และการคำนวณต่อ ๆ ไป เราจะใช้
Numerical method ทั้งหมด เพื่อความถูกต้องในทุกกรณี ไม่เฉพาะเจาะจงกับเงื่อนไข ที่ว่าค่าการแตกตัว
ของกรดต้องห่างกันประมาณ 1000 เท่า ฯลฯ
จากคุณ :
Practical x 2
- [
1 ม.ค. 47 15:32:31
]