[กระทู้กึ่งไซไฟกึ่งหว้ากอรายสะดวก No.1]..แนะนำ Dyson Sphere..

    ทรงกลมไดสัน(A Dyson sphere)
    เป็นความคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างขนาดยักษ์ในอวกาศ ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1959 โดยนักฟิสิกส์ชื่อ ดร.ฟรีแมน เจ. ไดสัน(Freeman Dyson) ในงานบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ชื่อบทความว่า "Search for Artificial Stellar Sources of Infra-Red Radiation"

    ลักษณะของทรงกลมไดสัน
    มีลักษณะเป็นเทหวัตุทรงกลมกลวง ที่สร้างเอาไว้รอบดาวฤกษ์แม่ของระบบดาวเคราะห์ที่มันถูกสร้างเอาไว้ ออกแบบเช่นนี้เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานของการแผ่รังสีเกือบทั้งหมดที่ดาวฤกษ์ดวงนั้นให้ออกมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้พลังงานเหล่านั้นในเชิงอุตสาหกรรม

    ถึงแม้ว่าไดสันจะได้รับเกียรติให้เป็นบุคคลแรกที่ทำให้ความคิดเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทำนองนี้ ได้มีการแพร่หลาย และรู้จักกันอย่างเป็นทางการ แต่ตัวเขาเองนั้นได้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความคิดนี้มาตั้งแต่ปี 1945 จากนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ "ผู้สร้างดวงดาว(Star Maker)" ซึ่งประพันธ์โดย Olaf Stapledon ครับ

    ข้อเขียนเชิงทฤษฎีที่เสนอโดยไดสันไม่ได้ลงไปในรายละเอียดมากนักว่าเราจะสร้างทรงกลมไดสันได้อย่างไร หากแต่เน้นไปที่ประเด็นพื้นฐาน ในแง่ที่อารยธรรมชั้นสูงหนึ่งๆ ควรจะต้องมีการขยายตัวด้านการผลิตพลังงานเพื่อเอามาใช้งานไปจนถึงขั้นสูงสุดที่จะเป็นไปได้สำหรับระบบสุริยะระบบหนึ่งๆ

    อารยธรรมที่สามารถทำได้ถึงขั้นดังกล่าว อาจจำแนกให้เป็นอารยธรรมแบบที่ 2(Type II civilization) ภายใต้หลักการจำแนกอารยธรรมของคาร์ดาเชฟ(Kardashev classification scheme) ที่พัฒนาขึ้นโดยนักดาราศาสตร์ ที่มีชื่อว่า Nikolai Kardashev

    ความคิดของ ไดสันสเพียร์ ต่อมาถูกดัดแปลง นำเอาไปใช้ในนิยายวิทยาศาสตร์หลายชุด เช่น ชุด พิภพวงแหวน(Ringworld) ที่โด่งดังเป็นพลุแตก ในปี 1970 จนได้รับรางวัล Hugo และ Nebula Award มาแล้ว ซึ่งมีหนังสือนิยายอยู่ในซีรีส์นี้หลายเล่มด้วยกัน ได้แก่ Ringworld, The Ringworld Engineers, The Ringworld Throne, etc. นอกจากนี้ซีรีส์ดังอีกเรื่อง คือนิยายไซไฟในชุดของ Culture Novel ที่แต่งโดย Ian M. Banks ซึ่งกล่าวถึงอารยธรรมผสมระหว่าง Humanoid และเครื่องจักร ซึ่งสร้างนิคมอวกาศในรูปแบบ Partial Dyson Sphere เป็นแถบวงแหวนขนาดยักษ์ที่เรียกว่า ออบิตัล โคจรรอบดาวฤกษ์แม่

    อย่างไรก็ดีการสร้างวัสดุที่เหมาะสมในการใช้กับโครงสร้างแบบนั้นเป็นไปได้ยาก ที่เป็นไปได้มากกว่าคือการสร้างด้วยวัสดุเบาบาง แต่เหนียว คล้ายกับแบบที่ใช้กับใบของเรือใบอวกาศ ที่ใช้ลมสุริยะในการขับเคลื่อน อย่างที่คุณ อีคิวศูนย์ เคยตั้งกระทู้เอาไว้ และเคยมีคนคิดถึงการใช้วิธีการถักทอเอาเส้นใยบางอย่างเข้าไปเพื่อทำให้วัสดุเหล่านั้นสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าออกมาได้เมื่อได้รับแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นอื่นๆ

    ว่างๆจะลองคำนวณพลังงานที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เพื่อนำมาใช้ทางอุตสาหกรรมจากดาวฤกษ์ที่มีสเปกตรัมไทป์ G แบบดวงอาทิตย์ของเรา หรือ อัลฟา เซนเทารี ในการสร้าง Dyson Sphere ในระยะวงโคจรที่สามารถอยู่อาศัยได้(Habitable Zone) ดูสนุกๆนะครับ

    การคำนวณสนามแรงโน้มถ่วงจากรูปทรงกลม หรือรูปครึ่งทรงกลมในกระทู้เก่าของคุณสมภพ เจ้าเก่า ข้างล่างก็น่าสนใจทีเดียว..

    http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X2707078/X2707078.html
    จากกระทู้นี้เองครับ ที่ทำให้ผมเกิดนึกถึงเจ้า Dyson Sphere นี้ขึ้นมาครับ...

    ลิงก์ที่น่าสนใจ
    http://ngst.gsfc.nasa.gov/QuestionOfTheWeek/2003/2003-11-07.html
    http://www.aeiveos.com/~bradbury/ETI/Authors/Dyson-FJ/DysonShells.html
    http://users.rcn.com/jasp.javanet/dyson/
    http://www.aleph.se/Trans/Tech/Megascale/dyson_page.html
    http://www.daviddarling.info/encyclopedia/K/Kardashev.html
    http://www.tabletoptelephone.com/~hopspage/EschrDys.html

     
     

    จากคุณ : DigiTaL-KRASH!!! - [ 14 มี.ค. 47 08:48:52 ] ส่งภาพนี้เข้ามือถือ